Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"ศิลปินที่แสงอรุณ"             
 


   
search resources

แปลนอาคิเตค
รัศมี เผ่าเหลืองทอง
Art
ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ




แรงตั้งใจจริงสนับสนุนคนทำงานศิลปะ-การละครด้วยการสร้างหอประชุมเพื่อเป็นเวทีเสนอผลงานดีมีคุณภาพต่อคนดูของศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ เป็นจริงขึ้นแล้วด้วยความพยายามมานานกว่า 5 ปี

ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณเกิดจากผู้บริหารของบริษัท แปลน อาคิเต็คเห็นว่ามีคนจำนวนมากที่ต้องการทำงานศิลปะ แต่บางครั้งได้แต่อยู่ในความคิดไม่มีโอกาสลงมือทำหรือบางครั้งติดปัญหาเรื่องไม่มีสถานที่หรือเวทีละคร บริษัทแปลนฯ จึงต้องการส่งเสริมให้คนด้อยโอกาสและคนที่ไม่มีชื่อเสียงแต่ว่ามีความตั้งใจทำงานให้ได้มีโอกาสในการแสดงออก

หอประชุมแห่งนี้มีขนาดเล็กเพียง 14 คูณ 19 ตารางเมตร มีเนื้อที่จุคนดูได้สูงสุดเพียง 250 คนเท่านั้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่การจัดกิจกรรมของศูนย์ฯ ต้องใช้ห้องโล่งไร้เครื่องปรับอากาศบนชั้น 5 ของบริษัท แปลนฯ เป็นที่เสวนาระหว่างคนทำงานศิลปะ และด้านการแสดงก็จัดได้เพียงการแสดงดนตรีประเภทโฟล์กซองเท่านั้น การเกิดหอประชุมแห่งนี้ถือว่าช่วยให้การจัดกิจกรรมของศูนย์ฯ มีขอบเขตได้กว้างขวางขึ้นโดยเฉพาะละครเวที

ถึงแม้ว่ากลุ่มละครที่จะลงโรงแห่งนี้ได้ต้องเป็นโปรดักชั่นขนาดเล็กเพราะเงื่อนไขเรื่องสถานที่ มิเช่นนั้นแล้วจะขาดทุนสูงก็ตาม แต่สำหรับในภาวะที่บ้านเราขาดแคลนเวทีละครอย่างหนัก การเกิดสถานที่เพิ่มขึ้นหนึ่งแห่งก็ถือได้ว่าเป็นนิมิตหมายดีสำหรับคนทำละคร

"งานศิลปะมิใช่งานการกุศลที่คนจะเห็นค่อนข้างชัดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นคนที่จะเห็นคุณค่าของศิลปะ เห็นว่าเป็นความจำเป็นของสังคมยังมีไม่มากนัก เราจึงต้องพยายามดิ้นรนช่วยตัวเอง" รัศมี เผ่าเหลือทอง บอกเล่าถึงความทุลักทุเลของเหล่าศิลปินละครเวทีกับ "ผู้จัดการ"

การทำละครเวทีต่างกับการทำละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะละครเวทีเป็นการเล่นสด ๆ ไม่มีการบันทึกเทปหรือบันทึกลงแผ่นฟิลม์ ซึ่งสามารถนำกลับมาฉายใหม่ได้ทุกครั้งที่ต้องการ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินลงทุนใหม่เฉกเช่นละครเวทีต้องประสบ ซึ่งบางครั้งการนำละครเวทีเรื่องเก่ามาเล่นซ้ำใหม่ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่าเดิมตามสภาวะค่าครองชีพที่แปรเปลี่ยน

"การทำละครต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงไม่เฉพาะเมืองไทย เมืองนอกก็เป็น อย่างเช่น เยอรมนีถ้าไม่ได้เงินสนับสนุนจากรัฐ หรือ จากเมือง จากชุมชน หรือเทศบาล ต้องเจ๊งแน่ ๆ เลย หรือแม้แต่ในอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ก็มีปัญหา เพราะละครเป็นงานใช้ได้ครั้งเดียว ถ้านำกลับมาเล่นใหม่ก็ต้องเริ่มต้นทุกอย่างใหม่หมด" รัศมีกล่าว

ก่อนหน้าที่หอประชุมจะเสร็จคนทำงานของศูนย์ฯ มีเพียง 5 คน เท่านั้น คือ ผู้อำนวยการผู้จัดการ ประชาสัมพันธ์ และธุรการ 2 คน แต่ในขณะนี้จำเป็นต้องเพิ่มช่างเทคนิคสำหรับหอประชุมอีก 2 คน ส่วนเรื่องเงินเดือนของคนทำงานศูนย์ฯ ได้มาจากเงินปันผลของผู้ถือหุ้นในบริษัทแปลนฯ

ถือได้ว่าฯ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณเกิดจากความจริงใจของผู้บริหารอย่างแท้จริงที่ไม่ได้หวังผลทางด้านธุรกิจและการประชาสัมพันธ์ใด ๆ

อย่างไรก็ดีการไม่หวังกำไร ก็มิใช่ว่าทางศูนย์ฯ จะเพิกเฉยการหารายได้เข้ามาจุนเจือรายจ่ายเสียทีเดียว

รายได้ทางหนึ่งที่ทางศูนย์คิดว่าจะเป็นไปได้คือการเปิดให้เช่าสถานที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องพิจารณารายละเอียดเนื้อหาของการแสดงว่าไม่ผิดหลักการของศูนย์ฯ

"คือไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่เราชื่นชอบเสมอไป แต่ต้องเป็นงานที่รับผิดชอบต่อคนดูไม่ใช่หวังเอาสตางค์อย่างเดียว เราอยากเห็นการสร้างงานที่มีคุณภาพดีเกิดขึ้น คนทำอาจจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น ประสบการณ์ไม่มาก แต่ว่ามีความตั้งใจดีอย่างนี้เราสนับสนุน" รัศมีเล่า วิธีคิดพิจารณาคัดเลือกการเช่าศูนย์ฯ ซึ่งจะมีเฉพาะเงินจ่าย ค่าเช่าเท่านั้นไม่พอ

รายได้อีกทางคือการจัดแสดง ซึ่งทางศูนย์ฯ วางแนวแก้ปัญหาข้อจำกัดเรื่องคนดูคือต้องเพิ่มจำนวนรอบการแสดงให้มากขึ้น เพื่อให้มีเงินเหลือหักค่าใช้จ่ายแล้วอย่าง เช่น ปลายเดือนกุมภาพันธ์จัดงานอ่านบทกวี ปรัชญาชีวิต ของคาลิล ยิบราน ซ้ำเป็นครั้งที่สาม โดยจะจัดประมาณ 10-15 รอบ

"ในฐานะที่เราเป็นผู้บริหาร เรารู้สึกว่าบางรายการที่มีเงินเข้ามาช่วยผ่อนคลายค่าใช้จ่ายได้บ้าง เช่นปีหนึ่งแทนที่บริษัทจะเสีย 1 ล้าน ก็เสียสัก 5 แสน เราก็จะรู้สึกว่าไม่ทำตัวเป็นภาระมาก" รัศมีกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ส่วนในเรื่องการแสดงนิทรรศการทางด้านศิลปะ ทางศูนย์ฯ ก็มิได้ละเลยแต่ติดปัญหาเรื่องหาสถานที่ที่เหมาะสมเพราะหากจะใช้หอประชุมก็จะเป็นการใช้เนื้อที่ไม่ถูกับวัตถุประสงค์

การเกิดหอประชุมของศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ จึงเสมือนเป็นสถานที่ทดแทนหอศิลปพีระศรีที่ถูกปิดเงียบมาเกือบ 2 ปี แล้ว ถือได้ว่าเป็นการช่วยให้คนทำงานศิลปะมีทางระบายผลงานออกสู่สาธารณะได้เช่นเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us