Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กุมภาพันธ์ 2551
โอสถสภาตั้งการ์ดสู้ชูกำลังไทยเบฟส่งไฟท์ติ้ง-ปรับสูตรราคา-จัดจำหน่าย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท โอสถสภา จำกัด

   
search resources

โอสถสภา, บจก.
Marketing
Sport and Energy drink




โอสถสภา ชูแนวรบป้องกันทุกด้าน อัด 4 กลยุทธ์ สกัดไทยเบฟโค่นบัลลังก์ชูกำลัง จ่อคิวปั้นแบรนด์ใหม่หรือส่งไฟท์ติ้งแบรนด์รักษาตำแน่งผู้นำ พร้อมจัดโครงสร้างราคาใหม่ ลั่นโอกาสคาราบาวแดง-แรงเยอร์ หั่นราคา 7-8 บาท หืดขึ้นคอ สิ้นปีรายได้รวมโอสถสภาโต 5% กวาด 1.9 หมื่นล้านบาท

นายธัชรินทร์ โอสถานุเคราะห์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังเอ็ม -150 ลิโพ และฉลาม เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการเครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ และขณะเดียวกันกำลังจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของเครื่องดื่มชูกำลังคาราบาวแดง บริษัทฯคงต้องดูท่าทีของคู่แข่งไปสักระยะหนึ่งว่าจะเป็นอย่างไร

สำหรับแนวทางทำตลาดเครื่องดื่มชูกำลังของบริษัทฯในปีนี้เน้นการป้องกันตัวเองทุกด้าน เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 55% จากตลาดรวมมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น เอ็ม-150 มีแชร์ประมาณ 45% ลิโพ 10%

โดยชู 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1.การออกสินค้าใหม่หรือนำสินค้าแบรนด์ฉลามมาเป็นไฟท์ติ้งแบรนด์สกัดคู่แข่ง 2.การจัดโครงสร้างราคาใหม่ 3.การสร้างความสัมพันธ์ร้านค้าและลูกค้าให้มากขึ้น และ 4.การใช้พรีเซ็นเตอร์คนรุ่นใหม่ เพื่อขยายฐานกลุ่มวัยรุ่น โดยใช้งบตลาด 300 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกระจายสินค้าของบริษัทฯก็ไม่ได้ด้อยกว่าแต่อย่างใด

นายธัชรินทร์กล่าวต่อว่า การที่บริษัทไทยเบฟฯเข้ามาซื้อทั้งสองยี่ห้อนั้นยังไม่รู้ถึงวัตถุประสงค์ในครั้งนี้แน่ชัดว่าต้องการอะไร แต่เชื่อว่ากลยุทธ์การตัดราคาเหลือ 7-8 บาท ไม่มีอย่างแน่นอน เพราะด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ราคาที่ขาย 10 บาท ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว โดยขณะนี้สิ่งที่บริษัทฯให้ความสำคัญและเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ การลดต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งในระหว่างนี้กำลังศึกษาการนำก๊าซเอ็นจีวีมาใช้ทดแทน แต่ต้องรอความพร้อมของบริษัทฯก่อน

นอกจากนี้บริษัทฯยังได้ปรับโครงสร้างการกระจายสินค้าใหม่ จากเดิมที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเองมาเป็น 3 ระบบ คือ จัดจำหน่ายเอง, บริษัทรับจัดจำหน่าย และตัวแทนจำหน่ายมารับสินค้าเอง

ล่าสุดยังมีการปรับระบบการทำงานขององค์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น และได้ปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่ ซึ่งเป็นการปรับในรอบ 117 ปี เพื่อให้ภาพลักษณ์โอสถสภามีความทันสมัย หลังจากที่ผ่านมาภาพลักษณ์สายตาผู้บริโภคมองว่าเป็นองค์กรเก่าแก่

สำหรับแนวโน้มตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง 1.4 หมื่นล้านบาท ปีนี้มีอัตราการเติบโต 2-3% หลังจากที่บริษัทไทยเบฟฯ เข้ามาทำตลาดเครื่องดื่มชูกำลังคาดว่าจะสร้างสีสันและความคึกคัก แต่ล่าสุดคณะกรรมการอาหารและยาหรืออย. ห้ามเครื่องดื่มชูกำลังจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยการชิงโชค ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2551 นี้เป็นต้นไป คาดว่าจะส่งผลให้สภาพตลาดจะลดความร้อนแรงลงและมีอัตราการเติบโตลดลง สำหรับกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลังของบริษัทโอสถสภาตั้งเป้ามีรายได้เติบโต 5%

ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกัน 2 แบรนด์ ได้แก่ แฮงก์เครื่องดื่มแก้อาการเมาค้าง และเปปทีน ปีนี้จะมีการรีลอนช์ใหม่แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ส่วนเปปทีนวางงบการตลาด 60 ล้านบาท มุ่งเน้นให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในการทำตลาด เพื่อสร้างรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งหลังจากเปิดตัวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

นายธัชรินทร์กล่าวว่า ผลประกอบการปีนี้บริษัทฯตั้งเป้ารายได้ 1.9 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโต 5% จากในปีที่ผ่านมีรายได้ 1.8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น กลุ่มเครื่องดื่มชูกำลังและฟังก์ชันนัลดริงก์ 45% กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 35% และกลุ่มยา 5% และรายได้จากการส่งออก 15%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us