Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กุมภาพันธ์ 2551
แบงก์แข่งสินเชื่อบ้านรับดบ.ขาลง             
 


   
search resources

นะเพ็งพาแสง กฤษณามระ
Loan




แบงก์รุมปล่อยสินเชื่อบ้านรับดอกเบี้ยขาลง ภาคการลงทุนฟื้น "ไทยพาณิชย์" เดินหน้าขยายพอร์ตสินเชื่อรายย่อยโต 20-25% ตั้งเป้าลดเอ็นพีแอลลงมาให้เหลือไม่เกิน 3.4% ด้าน"นครหลวงไทย"งัด 3 กลยุทธ์ปั๊มยอดสินเชื่อบ้านโตสุทธิ 8,500 ล้านบาท ขณะที่ "กสิกรไทย" เล็งลดเอ็นพีแอลสินเชื่อบ้านปีนี้ให้เหลือ 3% พร้อมบริหารหนี้เก่ากว่า 3 พันล้าน ให้กลายเป็นหนี้ดี โดยใช้กลยุทธ์ติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิดปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวดในการชำระคืน

นายนะเพ็งพาแสง กฤษณามระ รองผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการขายและบริการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)หรือ SCB เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารได้วางแผนการเติบโตของธุรกิจรายย่อย ซึ่งประกอบด้วย สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) สินเชื่อบัตรเครดิต ประกันภัย ประกันชีวิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ให้มีการขยายตัวอยู่ที่ 20-25% ด้วยการจำหน่ายผ่านทุกช่องทางที่ธนาคารมีอยู่ทั้งผ่านสาขา ผ่านบริษัทในเครือ ผ่านเจ้าหน้าที่ของธนาคาร บนพื้นฐานที่ไม่มีการเพิ่มจำนวนบุคคลากร และเชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้เพราะพอร์ตรายย่อยคิดเป็น 60%ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร

ทั้งนี้ ธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อบ้านอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน และสิ้นปีนี้ก็ตั้งเป้าว่าพอร์ตสินเชื่อบ้านอย่างเดียวจะไปถึง 2.5 แสนล้านบาท โดยต้องปล่อยสินเชื่อบ้านใหม่ไม่ต่ำกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายนั้น ช่องทางหลักยังคงเป็นช่องทางผ่านสาขามากที่สุด รองลงมาคือตามโครงการบ้าน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีพนักงานฝ่ายขายที่ประจำอยู่ตามโครงการทั่วประเทศ 300 คน และในปีนี้ก็ยังไม่มีนโยบายเพิ่มพนักงานประจำโครงการ โดยพนักงาน 300 คน เป็นผู้รับผิดชอบเป้าหมายสินเชื่อบ้านประมาณ 31,600 ล้านบาท ที่เหลือสาขาที่มีอยู่ 889 สาขาจะเป็นผู้รับผิดชอบ

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ธนาคารมีแผนจะเพิ่มสาขาเป็น 964 สาขาเพื่อสนับสนุนงานกิจการสาขาส่วนเรื่องการอนุมัติสินเชื่อบ้านด่วนนั้น ธนาคารดำเนินการอยู่แล้ว โดยกำหนดเอาไว้ที่ 4 ชั่วโมงต้องทราบผล แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานเอกสารพร้อม ล่าสุดได้ร่วมกับแสนสิริ ส่วนอัตราการอนุมัติสินเชื่อบ้านนั้นยังอยู่ในอัตราที่สูงคืออยู่ที่ 80-90% เพราะเจ้าหน้าที่ได้ทำการคัดเลือกลูกค้ามาแล้วระดับหนึ่ง และธนาคารเน้นกลุ่มลูกค้าระดับเอถึงบี ทำให้มีเอ็นพีแอลเกิดใหม่ค่อนข้างน้อย

"สินเชื่อบ้านในปีนี้แม้ว่าตั้งเป้าเอาไว้สูง แต่นโยบายที่ให้ความสำคัญอีกด้านหนึ่งคือการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ เอ็นพีแอลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนเรื่องดอกเบี้ยต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเป้าหมายในปีนี้ต้องลดเอ็นพีแอลลงมาให้เหลือไม่เกิน 3.4% จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.7% ซึ่งการลดลง 0.3% นั้นก็ถือว่าเยอะเหมือนกัน" นายนะเพ็งพาแสงกล่าว

SCIBตั้งเป้าสินเชื่อบ้านเพิ่ม 8.5 พันล.

นายชัยนันท์ ลภิธนานุวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายงานลูกค้ารายย่อย ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ในปี 2551 นี้ธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นสินเชื่อใหม่โตสุทธิ 8,500 ล้านบาท โดยต้องอนุมัติสินเชื่อไปไม่ต่ำกว่า 13,000 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการตั้งเป้าการโตแบบเท่าตัวจากสิ้นปี 2550 ที่ผ่านมาที่มียอดการปล่อยสินเชื่อบ้านโตสุทธิ 4,000 ล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อบ้าน ณ สิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 24,000 ล้านบาท โดยมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าอย่างแน่นอน เนื่องจาก ในปีนี้ธนาคารได้นำเสนอสิทธิประโยชน์ที่คาดว่าจะตอบโจทย์ด้านความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ประกอบกับในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการต่างๆไปประมาณ 17,000-20,000 ล้านบาท จึงมองว่าฐานลูกค้าจากโครงการดังกล่าวน่าจะเป็นฐานในการปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อยของธนาคารต่อไปได้

ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่จะนำมาเน้นไปพร้อมกับการขยายสินเชื่อบ้านมีด้วยกัน 3 ประการซึ่งอันดับแรก คือ เรื่องอัตราดอกเบี้ย ประการที่สองคือ เรื่องระยะเวลาในการอนุมัติสินเชื่อจากเดิมที่ใช้ระยะเวลา 7 วัน จะเปลี่ยนเป็น ภายใน 3 วันทำการซึ่งจะเป็นการเน้นการพิจารณาสินเชื่อให้รวดเร็วมากขึ้น และประการที่สามคือ เงื่อนไขในการปล่อยกู้ ดังนั้นจึงคาดว่าจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของที่อยู่อาศัยเติบโตเป็น 5% ภายใน 3 ปี จากปีที่แล้วอยู่ที่ 3% ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ก็ตั้งเป้าว่าจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิน 4% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 5% โดยเราจะมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ในขณะที่จะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่างๆในการปล่อยสินเชื่อให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้ว่าน่าจะโตจากปีที่แล้ว 7% เพราะระดับอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มว่าจะอยู่ในช่วงขาลง อีกทั้งปัญหาทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นจากการที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศจะส่งผลดีในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังมีเดินหน้าลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรือ โครงการเมกะโปรเจ็กต์ ก็ยิ่งจะส่งผลให้การลงทุนโดยรวมปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะมีผลกระตุ้นให้ความต้องการสินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจ

สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล ในปีนี้ธนาคารก็ยังให้ความสำคัญกับการเติบโตของสินเชื่อบุคคลอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าขยายสินเชื่อเพิ่มอีก 2,100 ล้านบาท จากฐานสินเชื่อบุคคล ณ สิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 700 ล้านบาท เพื่อทำให้สิ้นปีนี้มียอดสินเชื่อเป็น 2,800 ล้านบาท โดยธนาคารจะเน้นเชิงรุกมากขึ้นโดยใช้ฐานลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งช่วยผลักดันให้สินเชื่อบุคคลมีการขยายพอร์ตให้เติบโตขึ้น ซึ่งในปัจจุบันธนาคารมีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยอยู่ที่ 15% ของสินเชื่อรวมธนาคาร และตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีจะปรับสัดส่วนสินเชื่อดังกล่าวให้อยู่ที่ 25% ซึ่งจะอยู่ในระดับเดียวกับระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด

กสิกรไทยลดNPLสินเชื่อบ้านเหลือ 3%

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า นโยบายการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สำหรับสินเชื่อบ้านในปีนี้ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายจะลดลงมาเหลือไม่เกิน 3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.6% หรือประมาณ 3,400 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้เอ็นพีแอลอยู่ที่ 4.6% ณ ปัจจุบัน ถือว่าเอ็นพีแอลของธนาคารอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในระบบของธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีเอ็นพีแอล อยู่ที่ประมาณ 6.3% จากยอดสินเชื่อรวมอยู่ที่ประมาณ 1.45 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ แนวทางการควบคุมเอ็นพีแอลของธนาคาร นั้น ยึดหลักที่ว่าสินเชื่อใหม่ที่ปล่อยออกไปต้องไม่มีหนี้เสีย หรือหากมีต้องมีน้อยมาก ส่วนหนี้เอ็นพีแอลเก่าที่มีอยู่กว่า 3,000 ล้านบาท นั้นก็ใช้กลยุทธ์การติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิด มีระบบการทวงถาม เชิญลูกค้ามาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวดในการผ่อนชำระให้เหมาะสมกับภาวะและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า จากการนำกลยุทธดังกล่าวมาใช้ ทำให้ยอดเอ็นพีแอลได้ปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง เพราะนับตั้งแต่ได้เข้ามารับหน้าที่ด้านสินเชื่อบ้าน เมื่อปี 2545 ธนาคารมียอดเอ็นพีแอลอยู่กว่า 10,000 ล้านบาท ณ ปัจจุบันได้ปรับลดลงมาเหลือ กว่า 3,000 ล้านบาท

สำหรับเป้าหมายสินเชื่อบ้านในปีนี้กำหนดเอาไว้ที่ 30,000 ล้านบาท หรือเติบโต 16% แต่เชื่อว่าทั้งปีน่าจะทำได้ 40,000 ล้านบาท โดยหลักการให้สินเชื่อในปีนี้ยังคงร่วมกับผู้ประกอบการเป็นหลัก เพราะผลวิจัยพบว่า ลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ 70% จะมาจากการแนะนำของโครงการที่ลูกค้าไปซื้อบ้าน โดยลูกค้าไม่ได้สนใจว่าธนาคารไหนจะให้ดอกเบี้ยต่ำสุด แต่จะเชื่อใจโครงการที่แนะนำมากกว่า อย่างไรก็ตามสินเชื่อบ้านเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำสุด กำไรก็ต่ำสุดเช่นกัน โดยปีแรกส่วนใหญ่ขาดทุน และจะคืนทุนก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3ปี หากมีการขายผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ประกันภัย ประกันอัคคีภัย สินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต บัตรเดบิต ผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวม 6-7รายการก็จะสามารถคืนทุนได้ภายใน 1ปี ทำให้ทุกธนาคารจึงหันมาให้น้ำหนักกับการขยายสินเชื่อบ้านเป็นหลัก เพราะสิ่งที่ได้มากกว่านี้คือ การได้ขายผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคารและบริษัทในเครือมากกว่า และเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร

นายชาติชาย กล่าวอีกว่า ภาวะเศรษฐกิจในปีนี้สิ่งที่น่าห่วงคือเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ผลักดันให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ต้นทุนสินค้าราคาแพง ส่งผลให้รายได้ของผู้บริโภคไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ทันกับราคาสินค้า สะท้อนเห็นชัดก็คือสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต ทำให้มีเอ็นพีแอลเพิ่มเล็กน้อย แค่ก็สามารถควบคุมได้ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ปัจจัยด้านเศรษฐกิจโดยรวมหากในครึ่งปีหลังดีขึ้นก็น่าจะทำให้ทุกอย่างคลี่คลายลงไปได้ เพราะคิดว่าในครึ่งปีหลังดอกเบี้ยน่าจะปรับลงได้0.25-0.50% บนพื้นฐานที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ลดดอกเบี้ยลง1% นอกจากนี้ก็เชื่อว่าโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าใต้ดินก็น่าจะเห็นทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่ออสังหาริมทรัพย์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us