Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กุมภาพันธ์ 2551
กองตลาดเงินซบเซาหากกนง.ปรับลดดบ.             
 


   
search resources

Investment
Funds




ผู้จัดการกองทุนหวั่นกนง.ลดดอกเบี้ยกั้นเงินทะลักเข้าไทย ทำผลตอบแทนกองทุนมันนี่มาร์เก็ตหดจนเม็ดเงินลงทุนหาย ขณะที่ "กำพล" เชื่อไม่ส่งกระทบต่อยิลด์โดยฉับพลัน พร้อมมั่นใจนักลงทุนไม่หนี เหตุส่วนใหญ่ชอบการลงทุนแบบความเสี่ยงต่ำ ด้าน "สมจินต์" แนะนักลงทุนจัดพอร์ตการลงทุนให้ดีเพื่อรอรับผลตอบแทนที่เหมาะสม

รายงานข่าวระบุว่า สืบเนื่องจากกรณีที่ภาครัฐมีแนวโน้มจะทำการประกาศยกเลิกมาตรการกั้นสำรอง 30% เพื่อกระตุ้นการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ ทำให้มีหลายฝ่ายประเมินความเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะต้องออกมาตรการอื่นๆ เพื่อป้องกันการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งรวมไปถึงการลดดอกเบี้ยภายในประเทศ เพื่อลดช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยภายในและภายนอกประเทศที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนี้เอง ทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนตลาดเงิน (กองทุนมันนี่มาร์เก็ต) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและมีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถามหรือมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี ด้วยเช่นเดียวกัน

แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุน เปิดเผยว่า หลังจากนี้มีความเป็นไปได้ที่ กนง. คงจะประกาศลดดอกเบี้ยในประเทศลง เพื่อกั้นกระแสเงินจากต่างประเทศที่จะไหลเข้ามาและเพื่อแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อกองทุนตลาดเงิน ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี เนื่องมาจากผลตอบแทนของกองทุนจะปรับตัวลดลง

"อัตราผลตอบแทนที่ลดลง ทำให้มีแนวโน้มว่าในอนาคตเม็ดเงินลงทุนในกองทุนตลาดเงินจะหายไประยะหนึ่ง เพราะนักลงทุนจะเคลื่อนย้ายไปหาการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และอาจจะเห็นการไหลของเม็ดเงินออกจากกองทุนรวม กลับไปยังธนาคารพาณิชย์มากยิ่งขึ้น หลังจากที่ตอนนี้ธนาคารเริ่มมีการออกโปรดักซ์ใหม่ๆ ประเภทเงินฝากประจำระยะสั้นแต่ดอกเบี้ยสูงเพิ่มมากขึ้น" แหล่งข่าว กล่าว

กนง.ลดดอกเบี้ยไม่ทำยิลด์ลดฉับพลัน

ด้านนายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ถึงแม้ว่ากนง.จะมีการประกาศลดดอกเบี้ยลง แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อกองทุนตลาดเงินอย่างฉับพลัน เนื่องมาจากดอกเบี้ยที่มีการประกาศปรับลดลงเป็นดอกเบี้ยนโยบาย แต่สำหรับกองทุนตลาดเงินนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนด้วยการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ แต่ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน ดังนั้นถ้าดอกเบี้ยธนาคารยังไม่มีการปรับตัวลดลงตามดอกเบี้ยนโยบาย ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุน

ขณะเดียวกันแม้ว่าดอกเบี้ยธนาคารมีการปรับตัวลดลงตามดอกเบี้ยนโยบาย ผลตอบแทนของกองทุนก็ไม่ได้ปรับตัวลดลงอย่างทันที แต่จะเป็นค่อยๆ ลดลงมากกว่า นอกจากนี้ผลตอบแทนจากการฝากเงินในธนาคารก็มีการปรับลดตามผลตอบแทนของกองทุนด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้ยังเชื่อว่าการลงทุนในกองทุนตลาดเงินยังคงมีความน่าสนใจ เพราะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงินธนาคาร

สำหรับการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนของนักลงทุนจากกองทุนตลาดเงินไปสู่การลงทุนอื่นๆนั้น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แม้ว่าในระยะต่อไปกองทุนตลาดเงินอาจจะให้ผลตอบแทนที่ลดลงจากปัจจุบัน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าไม่น่าจะเห็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนมากนัก เนื่องมาจากกลุ่มนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนตลาดเงิน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ ซึ่งจะไม่นิยมลงทุนในการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือ การลงทุนที่มีแกว่งตัวค่อนข้างมากอยู่แล้ว

"การพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยของกนง.นั้นคงจะต้องเหนื่อยกันหน่อย เพราะตอนนี้มีหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบต่อการพิจารณาเรื่องดอกเบี้ย แต่เชื่อว่ากนง.จะใช้ความรู้ ความสามารถทั้งหมด เพื่อที่จะหาแนวทางนโยบายดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกและจูงใจการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติได้" นายกำพล กล่าว

หวั่นแบงก์ดึงเงินฝากกระทบอุตสาหกรรม

นายอาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บลจ.อยุธยา กล่าวว่า ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงเช่นนี้ แนะนำให้ผู้ลงทุนอย่างทิ้งเงินไว้ในกองทุนระยะสั้นมากเกินไป เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยปรับลดลงเช่นนี้จะส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนระยะสั้นๆ ปรับลดลงตามไปด้วย โดยผู้ลงทุนควรจะแบ่งเงินลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะปานกลางอายุประมาณ 1-2 ปี บ้าง เพราะจะช่วยให้เราได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า ขณะเดียวกันก็ต้องจัดสัดส่วนลงทุนในหุ้นด้วยประมาณ 10%

ทั้งนี้ในช่วงที่ธนาคารพาณิชย์มีการดึงเงินฝากเช่นนี้ ส่งผลให้ธุรกิจกองทุนรวมอาจจะลำบากขึ้นในแง่ของการทำการตลาด โดยเฉพาะกองทุนใหม่ๆ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจจะทำให้ธุรกิจกองทุนโตน้อยลงบ้าง แต่ก็เชื่อว่าคงไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในส่วนของบลจ. ก็คงมีการวางแผนออกโปรดักซ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งบลจ.อยุธยาเอง ก็อยู่ระหว่างเตรียมแผนออกกองทุนเพื่อเป็นทาเงลือกให้กับลูกค้าเช่นกัน โดยจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของเอกชนเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับกองทุน

แนะนักลงทุนให้รู้จักจัดพอร์ต

นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ กล่าวว่า การที่มีแนวโน้มว่ากนง.จะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ในระยะต่อไป กองทุนระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน อาจจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดึงดูดใจได้น้อยลง และนักลงทุนอาจจะมีการมองหาการลงทุนที่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีระยะยาวขึ้น ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนได้ดีในการลงทุนระยะกลางและยาว และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีรายได้จากค่าเช่า ซึ่งมีความสเถียรมากกว่า

"ตอนนี้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ไม่มากจนเกินไป น่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ยากสำหรับนักลงทุนนัก" นายสมจินต์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us