Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"8 ปีของซีมอนในโฟรโมสต์"             
 


   
www resources

Friesland Foods Foremost [Thailand] PCL. Homepage

   
search resources

โฟร์โมสต์ ฟรีสแลนด์ (ประเทศไทย), บจก.
เกอริท ซีมอน
Foremost
Dairy Product




14 ธันวาคม 2534 ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ของเกอริทซีมอน ที่เขาสามารถยกฐานะจากการเป็นผู้ตามในตลาดมาตั้งแต่สมัยเริ่มเข้าสู่ตลาดการแข่งขันของตลาดนมยูเอชที มาเป็นผู้นำตลาดรุดหน้าเจ้าเก่าไทยเดนมาร์คมาได้

ซีมอนบอกว่าเขาต้องใช้ระยะเวลานานถึงกว่า 6 ปีที่จะไต่ขึ้นมาอยู่อันดับ 1 ได้เช่นนี้ทั้งนี้สาเหตุมาจากความไม่พร้อม ทางการตลาดของไทยเดนมาร์คเอง ที่ไม่สามารถขยายกำลังการผลิตของตนเองขึ้นมาเพื่อรองรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่นับวันจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกที ประกอบกับโฟรโมสต์ใช้กลยุทธ์ขยายการตลาดอย่างจริงจังด้วยวิธีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและสรรหานวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

ซีมอนกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาโฟรโมสต์มียอดขาย 3,000 ล้านบาท 65% ของยอดขายนี้มาจากกลุ่มสินค้าอายุยาว เช่น ยูเอชทีซึ่งมีสัดส่วนครองตลาด 30% ของมูลค่าตลาด 1,600 ล้านบาทในขณะที่ยูเอชทีของไทยเดนมาร์คมีสัดส่วนครองตลาดประมาณ 29% หนองโพ 25% เป็นต้น ส่วนรายได้ที่เหลืออีก 35% มาจากสินค้าอายุสั้น เช่น ไอศกรีม ซึ่งไอศกรีมในขณะนี้ ยังคงเป็นผู้นำตลาดรักษาส่วนแบ่งอยู่กว่า 60% แต่ก็มีไอศกรีมวอลล์ของค่ายลีเวอร์ไล่ตามมาติดๆ จนซีมอนเองก็ยอมรับว่าการเคลื่อนไหวของวอลล์ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวพอสมควร ส่วนปีนี้ซีมอนตั้งเป้าไว้ประมาณ 3,400 ล้านบาท

การได้ตำแหน่งแชมป์ในตลาดมาถือว่าเป็นของง่าย แต่การรักษาความเป็น 1 ไว้คงเดิมถือว่าเป็นเรื่องยากกว่าการได้แชมป์เสียอีก เมื่อเป็นดังนี้แล้วซีมอนจึงตั้งเป้าในปี 35 นี้นับจากนี้ต่อไปคือการใช้ความพยายามในการรักษาอันดับ 1 ของตลาดนมยูเอชทีมิให้ตกไปอยู่ตำแหน่งเดิมได้

สิ่งแรกที่ซีมอนใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อเป้าหมายอันดับ 1 คือ การปรับสภาพการบริหารงานภายในองค์กร ทั้ง 2 บริษัทให้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากใช้เวลาในการปรับระบบบริหารมาแล้วถึง 8 ปีตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลง

กล่าวคือเมื่อปี 2528 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ทางโฟรโมสต์ถือเป็นประวัติศาสตร์ ครั้งสำคัญสำหรับเขามากคือ การที่บริษัท โคออปเพอเรทีฟ คอมพานี ฟรีสแลนด์แห่งเนเธอร์แลนด์ ได้เข้าซื้อหุ้นใหญ่บริษัทโฟรโมสต์แห่งสหรัฐฯ แล้วนำโฟรโมสต์เข้าเป็นบริษัทหนึ่งในเครือ

บริษัท โคออปเพอเรทีฟ คอมพานี ฟรีสแลนด์นี้ เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์

การเปลี่ยนมือของบริษัทแม่ที่เกิดขึ้นจึงมีผลสะท้อนมายังบริษัทสาขาของโฟรโมสต์ที่มีอยู่ทั่วโลกรวมถึงสาขาในเมืองไทยด้วย

หลายปีก่อนหน้า ธุรกิจอาหารนมของโฟรโมสต์ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักในตลาดในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายไอศกรีมและนมข้นหวานตราเรือใบ

เมื่อโฟรโมสต์อาหารนมเปลี่ยนมือมาเป็นของบริษัทโคออปเพอเรทีฟ ฟรีสแลนด์ความขัดแย้งในโครงสร้างการบริหารก็เกิดขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ของโฟรโมสต์อาหารนมในเมืองไทยต่อต้านการเข้ามาเป็นผู้นำคนใหม่จากบริษัท โคออปเพอเรทีฟ คอมพานี ฟรีสแลนด์

ผู้นำคนใหม่ก็คือเกอริทซีมอน นั่นเอง

ซีมอนกล่าวว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนอำนาจการบริหารระหว่างโฟรโมสต์อาหารนม มาเป็นโฟรโมสต์ฟรีสแลนด์เพราะการเปลี่ยนมือเจ้าของจากคนอเมริกันมาเป็นของเนเธอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 28 ว่ากันตามจริงแล้วฟรีสแลนด์ในสมัยนั้นถือเป็นบริษัทในเครือของโฟรโมสต์อาหารนม สถานะของโฟรโมสต์อาหารนมอยู่เหนือฟรีสแลนด์มากมายนัก

ดังนั้นพนักงานเก่าของโฟรโมสต์อาหารนมที่ยังยึดถือกับระบบเก่า ๆ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงยังมีอยู่อีกมากจึงทำให้เราต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้พนักงานได้ทำความเข้าใจและปรับตัวเข้ากับระบบใหม่ที่วางไว้

นั่นคือการรวมงานบริหาร 2 บริษัทเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้การทำงานทุกด้านประสานกันอย่างดียิ่งขึ้นโดยการตั้งทีมบริหารส่วนกลาง (CORPORATE MANAGEMENT) ซึ่งประกอบด้วย อาร์ บี เชอร์ กรรมการผู้จัดการโฟรโมสต์ อาหารนม เจมส์เกรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและปราณี อยู่สำราญผู้จัดการฝ่ายการเงินเป็นต้น

ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ เช่น การจัดซื้อและงานบุคคลกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน

ยกเว้นฝ่ายการตลาดเป็นหน่วยงานที่รวมตัวกันไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการดูแลสินค้าที่ต่างกันจึงอยู่ในลักษณะของการแบ่งแยกทีมเหมือนเดิม ผิดแต่ว่าอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บริหารที่ฟรีสแลนด์แต่งตั้งขึ้นใหม่เท่านั้น ซึ่งแต่เดิมการบริหารงานของโฟรโมสต์อาหารนม และฟรีสแลนด์จะเป็นลักษณะต่างฝ่ายต่างบริหารงานและวางแผนการดำเนินงานกันเองโดยไม่ขึ้นแก่กัน

"พนักงานที่ปรับตัวได้เขาก็อยู่ต่อ ส่วนพวกที่ปรับตัวไม่ได้และไม่ยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทแม่ก็ค่อย ๆ ทยอยลาออกไป ดังจะเห็นได้ว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้จะมีข่าวคราวการลาออกของผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นกลจักรสำคัญของการบริหารงานในโฟรโมสต์ ไม่ว่าจะเป็นโฟรโมสต์อาหารนม หรือ โฟรโมสต์ฟรีสแลนด์เองก็ตาม" ซีมอนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา

เหตุผลในการลาออกของผู้บริหารระดับสูงดังกล่าวนั้นไม่ใช่มาจากการไม่ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากบริษัทแม่ แต่เป็นเพราะเขาเหล่านั้นไม่พอใจในการบริหารงานของซีมอนเองมากกว่า

ซีมอนถูกมองด้วยความสงสัยว่าเขากำลังลงมือกำจัดพนักงานหัวแข็ง หรือพนักงานเก่าแก่ที่เคยเป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยงกันมาตั้งแต่ครั้งก่อตั้งให้ออกไปให้พ้นทาง เพื่อความสะดวกในการรวบอำนาจของเขา

"โฟรโมสต์สมัยนั้นมีสหภาพแรงงาน พนักงานที่เป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องการประท้วงก็มาจากพวกหัวรุนแรงพวกนี้ แต่นั่นเป็นเพราะเขาเหล่านั้นยังไม่เข้าใจระบบที่เราพยายามจะทำให้ดีขึ้น" ซีมอนพูดถึงการลาออกของพนักงาน ซึ่งโต้แย้งจากข้อสงสัยที่เขาถูกมอง

ซีมอนเดินหน้าต่อไปในการปรับโครงสร้างการบริหารมีการปรับตัวอีก 2 ส่วนคือทีมการตลาด และการจัดจำหน่ายซึ่งในส่วนการตลาดทางโฟรโมสต์ได้ดึงตัวผู้จัดการฝ่ายการตลาดมาจากหลุยส์ ตี เลียวโนเวนท์ "อนุชาติ สุทธิรัตนโศภพ" มารับผิดชอบฝ่ายการตลาด ซึ่งด้านการตลาดนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ เจ เดสตร้า" ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่ที่เพิ่มแต่งตั้งขึ้นมา

ส่วนด้านการจำหน่ายมีการยกระดับเดโปคลังสินค้าอาหารแช่แข็งให้เป็นศูนย์จัดจำหน่ายเรียกว่าศูนย์กระจายสินค้า (DISTRIBUTION CENTER) เพื่อทำให้การตลาดเกิดความคล่องตัวขึ้น ซึ่งแต่เดิมต้องขายผ่านตัวแทนจำหน่าย

ศูนย์กระจายสินค้านี้จะครอบคลุมภูมิภาคในเขตจังหวัดต่าง ๆ เช่น ศูนย์ภาคเหนือซึ่งเพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้จะทำหน้าที่ SUPPLY สินค้าให้กับภาคเหนือกว่า 10 จังหวัด ส่วนทางภาคใต้มีศูนย์ที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วคือที่สุราษฎร์ธานีกระจายสินค้าให้เขตภาคใต้ทั้งหมดยกเว้น สงขลา ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ และมีแนวโน้มในการพัฒนาเดโปให้เป็นศูนย์ฯ ของตนเองได้จึงได้รับการพัฒนาเมื่อต้นปีนี้

การลงทุนพัฒนาเดโปเพื่อขยับขยายยกระดับให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าต้องใช้งบประมาณในการลงทุนต่อศูนย์ประมาณ 70 ล้านบาท ศูนย์เหล่านี้จะมีเจ้าหน้าที่ของโฟรโมสต์รับผิดชอบ และวางแผนการตลาดในต่างจังหวัดที่มีอาณาเขตครอบคลุมโดยตรงอีกด้วยเช่น มงคล สมมีชัย เป็นผู้จัดการภาคเหนือเป็นต้น "โฟรโมสต์เป็นบริษัทข้ามชาติที่ไม่เหมือนบริษัทข้ามชาติอื่น ๆ ตรงที่แต่ละสาขาสามารถดำเนินการจัดระบบโครงสร้างการบริหารและการผลิตสินค้าได้โดยอิสระจากบริษัทแม่" เกอริท ซีมอน ผู้จัดการทั่วไป บริษัทโฟรโมสต์ ฟรีสแลนด์ ประเทศไทย จำกัดกล่าว

ซีมอนใช้ความอิสระและนโยบายการบริหารที่ยืดหยุ่นของบริษัทแม่เข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาความขัดแย้งและความไม่คล่องตัวในการทำธุรกิจ ซึ่งเรื้อรังกันมาตั้งแต่ครั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อ 8 ปีก่อนโน้นจนสำเร็จ

มันจึงเป็น 8 ปีของซีมอนในโฟรโมสต์ที่มีทั้งน้ำตาและรอยยิ้ม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us