Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 กุมภาพันธ์ 2551
คนหุ้นจี้ธปท.เปิดช่องลงทุนตปท.             
 


   
search resources

ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
Stock Exchange




วงการหุ้นกระทุ้งแบงก์ชาติ อย่าคิดจำกัดความเสี่ยงแทนนักลงทุนจนเกินไป เชื่อมีนักลงทุนที่มีความรู้พร้อมไปลงทุนหาผลตอบในต่างประเทศเยอะ "ก้องเกียรติ" เผยก.ล.ต.หนุนเพิ่มทางเลือกให้นักลงทุน ติดแบงก์ชาติยังไม่ไฟเขียว เดินหน้าจี้ยกเลิก 30% ย้ำผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ได้ในทุกสถานการณ์ ด้านผู้บริหาร ระบุอย่ามองแค่บาทแข็งเท่านั้นชี้ในที่สุดจะเข้าสู่ภาวะสมดุลได้เอง เชื่อเงินนอกจ่อลงทุนเพิ่มหากปลดล็อกกฎเหล็ก

ประเด็นการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ถูกมานำใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2549 ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์กว่า 108 จุดภายในวันเดียว โดยเรื่องดังกล่าวทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายต่อผลที่จะตามมาในเชิงของการลงทุนจากเม็ดเงินต่างประเทศที่หยุดชะงักจนถึงปัจจุบันยังมีเงินทุนอีกมากที่ยังไม่กล้าเข้ามาลงทุนหากยังไม่มีการยกเลิกมาตรการดังกล่าว ขณะเดียวกันยังเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลกระทบที่จะตามมาหากมีการประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวในตอนนี้

คำถามที่เกิดขึ้นในวงการตลาดทุนในช่วงเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมาหลังพรรคการเมืองทั้งฟากรัฐบาลและฟากฝ่ายค้านนำนโยบายทางเศรษฐกิจมาหาเสียงกับประชาชน โดยเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือ ความเห็นต่อการยกเลิกมาตรการดังกล่าว แต่จนแล้วจนรอดหลังจากตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ จนมาถึงการตั้งคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ เรื่องดังกล่าวยังคงไม่สามารถสร้างความชัดเจนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคตลาดทุนได้ว่าจะมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวหรือไม่ และหากจะมีการยกเลิกจะเกิดขึ้นเมื่อใด

นอกเหนือจากคำถามต่อมาตรการ 30% แล้วนั้น คำถามต่อนโยบายเกี่ยวกับการอนุญาตให้นักลงทุนไทยมีอิสระพอที่จะสามารถนำเงินที่พร้อมจะลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศยังเป็นเรื่องที่ถูกนำขึ้นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาหลายครั้ง เนื่องจากปัจจุบันยังมีข้อจำกัดมากมายที่ปิดกั้นอิสระทางการเงินของนักลงทุน โดยเฉพาะท่าทีของหน่วยงานที่กำกับดูแลที่ยังเลือกที่จะคิดแทนนักลงทุนมากกว่าการเปิดให้นักลงทุนได้หาประสบการณ์จากการลงทุนเพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้มีมากขึ้น

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า มาตรการกันสำรอง 30% ที่ถูกนำใช้เพื่อแก้ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนเห็นได้ชัดว่าแม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะถูกนำใช้เพื่อสกัดการไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทแต่การแข็งค่าของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินอื่นๆในภูมิภาคเลยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์

ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการสร้างเกาะป้องกันเพื่อไม่ให้เงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในประเทศทั้งทางตรง หรือไหลเข้ามาลงทุนในภาคตลาดเงิน ตลาดทุน อย่างรุนแรงจนกระทบต่อเสถียรภาพของเงินบาทนั้นสร้างความรู้สึกไม่มั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนรวมถึงความรู้สึกถึงความไม่เป็นมิตรของประเทศไทยในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ

นอกจากนี้ ผลจากการเข้ามาดูแลในเรื่องดังกล่าวจนเกินความจำเป็นของธปท.โดยเน้นแต่การดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าอย่างรุนแรง ด้วยเหตุที่กลัวว่าจะกระทบต่อการส่งออกซึ่งถือได้ว่าหลายปีที่ผ่านมาการส่งออกเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย แต่หากมองในมุมตรงกันข้าม การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลทำให้ต่อต้นทุนสินค้านำเข้าลดลงอย่างมาก หลายอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งหากนำประโยชน์จากเรื่องดังกล่าวมาต่อยอดทั้งการเร่งการเพิ่มการลงทุน นำเข้าสินค้าเครื่องจักรเพื่อขยายการลงทุน จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันได้อีกมาก

"หากไม่ยอมปล่อยให้ผู้ประกอบการเร่งสร้างศักยภาพเพิ่มขึ้นให้กับตัวเอง สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับธุรกิจ โดยอาศัยแต่การเข้าไปช่วยเหลือดูแลสุดท้ายภาคธุรกิจจะกลายเป็นกลุ่มที่เสียโอกาสในการลงทุนไปเอง"ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทยกล่าว

นายก้องเกียรติ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาได้เคยมีการหารือกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเพิ่มช่องทางในการลงทุนให้กับนักลงทุนไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถเลือกที่จะไปลงทุนยังต่างประเทศได้โดยตรง ซึ่งในหลักการแม้ว่าเรื่องดังกล่าวจะมีความเสี่ยงจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจค่อนข้างมาก แต่หากไม่เปิดทางเลือกให้นักลงทุนที่มีความพร้อมและศักยภาพเพียงพอในการหาผลตอบแทนจากลงทุนในต่างประเทศก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ เหตุผลหลักที่ทำให้ในปัจจุบันนักลงทุนไทยยังไม่สามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกอย่างที่ควรจะเป็นแม้ว่าหน่วยงานที่ดูแลจะมีการเปิดช่องทางให้ลงทุนผ่านกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) เนื่องจากความเห็นที่ต่างกันของนักลงทุนกับผู้อนุมัติอย่างธปท.ที่กังวลว่านักลงทุนจะได้รับผลกระทบจากความไม่เข้าใจเนื่องจากยังไม่มีความรู้อย่างแท้จริงที่จะลงทุนในต่างประเทศ

"คนที่พร้อมและสามารถจะไปลงทุนในต่างประเทศได้ เชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะอย่างน้อยต้องเป็นกลุ่มที่มีเงินถึงพร้อมจะลงทุน เราไม่ควรจะไปคิดแทนนักลงทุน ไม่ควรจะมองว่าถึงความเสี่ยงแทน เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมาจริงก็สามารถยกเลิกได้"นายก้องเกียรติกล่าว

ด้านผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า แม้ว่ายังไม่มีใครจะรู้ได้ว่าหลังการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 เดือนข้างหน้าค่าเงินบาทและภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เนื่องจากการคาดเดาการไหลเข้าออกของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในสภาวะที่ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของโลกยังไม่นิ่งทำได้ยาก

ทั้งนี้ มีการประเมินจากนักเศรษฐศาสตร์บางรายที่คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าแตะระดับ 31 บาทต่อดอลลอร์สหรัฐฯ และจะเริ่มปรับตัวเข้าสู่จุดสมดุลในเวลา 6 เดือนหลังจากนั้น ประเด็นดังกล่าวอาจจะสร้างความกังวลใจให้กับผู้ส่งออกที่ได้รับเงินจากดำเนินธุรกิจเป็นดอลลาร์เพราะหลังจากการแปรค่าเงินก็จะทำให้ได้รับเงินที่เป็นเงินบาทในจำนวนที่น้อยลง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างรุนแรง แต่ผลจากการแข็งค่าที่ทำให้ต้นทุนสินค้านำเข้าอาจจะยิ่งทำให้ภาคธุรกิจเร่งลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงที่รัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้ รวมทั้งเป็นจังหวะที่ผู้ประกอบการที่กู้เงินดอลลาร์จะใช้โอกาสในการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยค้างจ่าย

"การปลดล็อคการลงทุนถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น หน่วยงานที่ดูแลจะต้องเร่งสั่งการเพื่อกระตุ้นการลงทุนให้มากขึ้น ขณะที่ต้องเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยสามารถลองไปลงทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลโดยตรง คือ แบงก์ชาติ ที่จะต้องเร่งพิจารณาก่อนที่จะเสียโอกาสในการลงทุน"แหล่งข่าวกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us