หมอเลี้ยบสรุปร่วมสหภาพแรงงานฯ กสท.ทุนจดทะเบียน 1 หมื่นล้านบาท เตรียมเสนอครม.ภายในเดือนนี้
แยก 2 บริษัท กสท.โทรคมนาคมเข้าตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาสแรกปีหน้า ส่วนไปรษณีย์ยังไฟแดงไว้ก่อน
เพราะเอาตัวไม่รอด ยันพนักงาน กสท.ได้ผลประโยชน์ตามสูตร 6/2/2 ทุกคน ส่วนซีดีเอ็มเอ
รอผลบอร์ด กสท.ตัดสินสิ้น มิ.ย. พร้อมชง 3 แนวทางดำเนินธุรกิจอนาคตทั้ง กสท.-ทศท.
ที่พร้อมเข้า ตลท.ปีนี้
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
กล่าวถึงการแปรสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ว่าหลังจากที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
กสท. เข้าพบเขา เพื่อประชุมร่วมกันเรื่อง การแปรสภาพ ซึ่งล่าช้าหลายประเด็น โดยเฉพาะทุนจดทะเบียน
2,000 ล้านบาท ที่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับทรัพย์สิน และรายได้ กสท. ทั้งหมด
แตกเป็น 2 บริษัท
ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปว่า กสท.จะมีทุนจดทะเบียน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่ง กระทรวงไอซีทีจะทำเรื่องส่งคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก่อน เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
(ครม.) ภายในเดือนนี้ ซึ่งจะแยก กสท. เป็น 2 บริษัท คือ บริษัท กสท. โทรคมนาคม
กับบริษัท ไปรษณีย์ไทย
"กสท.โทรคมนาคม จะดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ส่วนบริษัท ไปรษณีย์ไทย
รัฐยังไม่มีนโยบาย เพราะไม่สามารถอยู่รอดด้วยตัวเอง ต้องมีการปรับระบบภายในหาบริการใหม่ๆ"
เขากล่าว
หนักงานได้ตามสูตร 6/2/2
สำหรับการเข้าตลาดหลัก ทรัพย์ของ กสท.กับบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จะต้องจ้างที่ปรึกษาประเมินราคาหุ้น
โดยมูลค่าสิน ทรัพย์ กสท.ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ส่วน ทศท.อยู่ในระดับแสนล้านบาท
ซึ่งพนักงาน กสท. ทุกคน จะได้รับผลตอบแทนตาม สูตร 6/2/2 หรือหุ้นซื้อราคาพาร์ 6
เท่าของเงินเดือน หุ้นให้เปล่า 2 เท่า ของเงินเดือน และเงินโบนัส 2 เดือน
ทศท.เข้า ตลท.ปีนี้-กสท. 47
"ตอนนี้ ราคาหุ้นของทศท. ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่คาดว่าจะเข้าตลาดฯ ได้ภายในสิ้นปีนี้
หรือภาย ในไตรมาสที่ 4 ส่วนของ กสท. คาดว่าคงไล่เลี่ยกัน หรือไม่เกินไตรมาสแรกของปี
2547" น.พ. สุรพงษ์กล่าว
ทศท.กำลังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนส่วนแบ่งรายได้ และโอกาสทางธุรกิจ เช่นการพัฒนาบริการเสริมบนเครือข่าย
การให้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หรือการปรับบทบาท ทศท.ให้เป็นบริษัทหาโอกาสลงทุนใหม่
ๆ (Venture Capital) ในการร่วมลงทุนกับบริษัทต่างๆ ในอนาคต
ส่วน กสท.ก็เช่นเดียวกัน คือรอความชัดเจนเรื่องส่วนแบ่งรายได้ โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
เช่น ด้านสื่อสารข้อมูล หรือโครงการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอภูมิภาค ต้องเดินหน้าต่อ
หรือเรื่องการให้บริการอินเทอร์เน็ตชั่วโมงละบาท
ประเด็นความชัดเจนส่วนแบ่งรายได้ สรุปว่าส่วนที่หักภาษีสรรพสามิตให้กระทรวงการคลัง
ที่เหลือจะถือเป็นรายได้ของทั้ง 2 หน่วยงาน ส่วนประเด็นจ่ายเงินชดเชยให้ทั้ง 2
หน่วยงาน เนื่องจากส่วนแบ่งรายได้ลดลง จำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะดำเนินการเช่นไร
รวมทั้งยังไม่ชัดเจนเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรืออินเตอร์ คอนเนกชั่นชาร์จ ด้วย
"ผมอยากให้ซีดีเอ็มเอเป็นธงนำของ กสท. ในการสร้างรายได้ ซึ่งบอร์ด กสท.ต้องตัดสินภายในวันที่
30 มิ.ย. ที่เอกชนยืนราคาว่า จะดำเนินการเช่นไร แต่ทั้งนี้ต้องตอบได้ทุกคำถาม"
ส่วนการควบรวมกิจการระหว่าง ทศท.กับ กสท. น.พ.สุรพงษ์กล่าวย้ำว่า "กระบวนการคุยอย่างเอาเป็นเอาตายยังไม่เกิด
ซึ่งคงต้องรอให้ทั้ง 2 หน่วยงานตั้งตัวได้ก่อน แล้วค่อยมาคุยในเรื่อง อนาคต เช่น
ปี 2547 เมื่อมี กทช.จะเกิดอะไรขึ้น หรือเปิดเสรีในปี 49 แล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งจะเห็นภาพชัดเจนในอนาคต"
3 แนวทางดำเนินงานอนาคต
ส่วนแนวทางการดำเนินธุรกิจอนาคตของทั้ง 2 หน่วยงาน มี 3 แนวทางคือ 1.ไม่ต้องรวมกิจการ
ต่างคนต่างอยู่ 2. ต่างคนต่างหาพันธมิตร (Strategic Partner) ซึ่งไม่ใช่อีกฝ่ายหนึ่ง
และ 3.รวมกิจการกัน โดยให้แต่ละฝ่ายเป็น Strategic Partner ซึ่งกันและกัน
"การเข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นเป้าหมายหลักตอนนี้ ส่วนการควบรวมกิจการเป็นเป้าหมายรอง"