Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2551
แทงกั๊กโฆษณากองทุน ก.ล.ต.ขู่โม้มากโทษอาญา             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
Funds




สำนักงาน ก.ล.ต. แทงกั๊กบลจ. ออกประกาศผ่อนผัน โฆษณากองทุนรวมไม่ต้องขอความเห็นชอบ เว้นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคต แต่กำหนดโทษทางอาญาขู่ หากปฏิบัติตามที่โฆษณาไม่ได้ โดยให้มีผลต่อเนื่องถึงตัวแทนขายหน่วยลงทุนด้วย พร้อมกันนี้ ยังสั่งห้ามใช้คำโฆษณากล่าวอ้างแบบไม่มีหลักฐาน หรือเป็นการเร่งรัดการซื้อหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาตัดสินใจด้วยตัวเอง ด้านวงการกองทุนไม่หวั่นโทษอาญา ระบุหากโฆษณาแล้วทำไม่ได้ ลูกค้าก็จะขาดความเชื่อมั่นไปเอง ชี้เป็นบทลงโทษที่รุนแรงกว่าเยอะ

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศดังกล่าว อยู่ที่การปรับปรุงให้การโฆษณา สามารถกระทำได้โดยบริษัทหลักทรัพย์ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานก่อนการโฆษณา เว้นแต่การโฆษณาที่เกี่ยวกับประมาณการผลตอบแทนในอนาคตต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานก่อน จากเดิมที่ต้องยื่นให้สำนักงานพิจารณาทั้งหมด โดยประกาศดังกล่าว ได้ขยายขอบเขตการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงการโฆษณาของตัวแทนขายหน่วยลงทุน (LBDU) ให้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประกาศนี้ด้วย

ทั้งนี้ ในการโฆษณา บริษัทหลักทรัพย์ต้องตระหนักถึงความถูกต้องและความเหมาะสมของข้อมูลที่ใช้ในโฆษณาไม่ให้เป็นเท็จ เกินความจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่น ๆ เช่น การระบุคำเตือน การโฆษณาระหว่างการพิจารณาคำขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม หรือการโฆษณาที่มีข้อความที่คัดลอกหรืออ้างอิงจากบทความอื่น เป็นต้น

โดยสำนักงาน ได้กำหนดบทลงโทษเชิง administrative sanction เอาไว้ว่า หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่ปฏิบัติตามประกาศโฆษณา สำนักงานจะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาลงโทษบริษัทหลักทรัพย์ทางอาญา หรือทาง administrative sanction ซึ่งตัวอย่างการลงโทษในกรณีหลังนี้ ได้แก่ การสั่งให้หยุดการโฆษณา การกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอความเห็นชอบ การโฆษณาครั้งต่อ ๆ ไปภายในระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น

ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการโฆษณาเอาไวว่า ข้อมูลที่ใช้ในโฆษณาไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข แผนภาพ เสียง หรือข้อความ ต้องไม่เป็นเท็จ เกินความจริง หรือทำให้ผู้ลงทุนเกิดความเข้าใจผิด ตัวอย่างของโฆษณาที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ในรายละเอียดโครงการและหนังสือชี้ชวน การโฆษณาที่ทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจได้ว่าจะไม่สูญเสียเงินลงทุนสำหรับกองทุนที่ไม่ใช่กองทุนรวมมีประกัน การแสดงผลการดำเนินงานในอดีตเฉพาะบางช่วงเวลาที่อาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่าผลการดำเนินงานในอดีตดีกว่าความเป็นจริง การโฆษณาอัตราการเติบโตของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เพื่อให้ผู้ลงทุนสำคัญผิดว่าคือ ผลการดำเนินงานของกองทุน เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ควรหลีกเลี่ยงคำกล่าวอ้างแบบไม่มีหลักฐาน และอาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกองทุน เช่น “ลงทุนคุ้มค่าที่สุด” “ผลการลงทุนที่น่าพอใจ” หรือ “ให้เงินลงทุนเติบโตสม่ำเสมอ”

นอกจากนี้ ยังห้ามใช้ข้อมูลในลักษณะเป็นการเร่งรัดการซื้อหน่วยลงทุน เช่น “ลงทุนเดี๋ยวนี้ โอกาสเดียวได้รับผลตอบแทนสูง” “นี่เป็นเวลาลงทุนที่ดีที่สุด” “ซื้อหน่วยลงทุน ก่อนที่จะสายเกินไป” “โอกาสสุดท้าย ก่อน IPO จะสิ้นสุด” หรือ “ซื้อหน่วยลงทุนภายในเดือนนี้จะได้รับของสมนาคุณต่าง ๆ” เป็นต้น เนื่องจากผู้ลงทุนควรมีเวลาในการตัดสินใจลงทุนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ข้อห้ามดังกล่าวไม่ใช้กับการโฆษณาสำหรับกองทุน LTF และ RMF ในเรื่องระยะเวลาลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีที่ลงทุน บริษัทหลักทรัพย์อาจระบุเงื่อนไขหรือระยะเวลาในการลงทุน LTF หรือ RMF เพื่อให้ผู้ลงทุนทำการลงทุนให้ทันต่อการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีนั้นได้

ส่วนการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตนั้น ได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ 2 รูปแบบ คือ การระบุตัวเลขผลตอบแทนที่แน่นอน และระบุอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาที่แน่นอน (auto redemption) ที่บริษัทจัดการมีเจตนาจ่ายคืนผู้ถือหน่วยลงทุนจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ทั้งนี้ การประมาณการผลตอบแทนในอนาคตต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผลตามหลักวิชาการ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมาณการดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลล่าสุดและเป็นที่ยอมรับเป็นการทั่วไป

โดยการประมาณการผลตอบแทนข้างต้น สามารถกระทำได้สำหรับกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลที่พอร์ตการลงทุนไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุโครงการหรือรอบการลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ มีการถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการหรือรอบการลงทุน โดยต้องเปิดเผยรายละเอียด พอร์ตการลงทุน เช่น ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน สัดส่วนการลงทุน ระยะเวลาลงทุน ผลตอบแทนของทรัพย์สิน ที่จะลงทุน และค่าใช้จ่าย เป็นต้น ไว้ในโฆษณา รวมทั้งในโครงการและหนังสือชี้ชวนหรือในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลการลงทุนได้

อย่างไรก็ตาม การประมาณการผลตอบแทนซึ่งยังไม่เกิดขึ้นจริง มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ หากสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนตระหนักว่าบริษัทหลักทรัพย์มิได้รับประกันผลตอบแทนแต่อย่างใด จึงต้องจัดให้มีคำเตือนเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบว่าผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนหรืออัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามที่โฆษณาไว้ โดยบริษัทจัดการต้องเป็นผู้จัดทำข้อมูลประกอบการประมาณการผลตอบแทนเพื่อขอความเห็นชอบต่อสำนักงานก่อนการโฆษณาเท่านั้น ทั้งนี้ ตัวแทนขายหน่วยลงทุน (LBDU) สามารถนำข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานแล้วไปเผยแพร่ต่อได้ โดยห้ามเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว

แหล่งข่าวจากบริษัทจัดการกองทุนรายหนึ่งกล่าวว่า การออกประกาศดังกล่าว ส่งผลดีในแง่ของการลดขั้นตอนในการทำโฆษณาได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ส่วนการลงโทษนั้น เชื่อว่าคงไม่มีนัยยะสำคัญอะไรมากมายนัก เพราะหากบลจ.ใดประกาศหรือโฆษณาเกินจริงแล้วสุดท้ายทำไม่ได้อย่างที่พูดออกไป ก็จะขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้าและผู้ลงทุนไปเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงกว่าการลงโทษทางอาญาด้วยซ้ำ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us