|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธปท.พอใจผลงานแบงก์พาณิชย์ไทยทั้งระบบปี 2550 ระบุปรับตัวได้ดีทั้งปัจจัยต่างประเทศและการดำเนินธุรกิจ แม้กำไรสุทธิลดลง 4 หมื่นล้านบาท แต่เป็นการกันสำรองตามมาตรฐาน IAS39 หวังสร้างความเข้มแข็ง ขณะที่ยอดเงินฝากโต 0.5%ชะลอลงจากปี 49 ที่โต 6% เหตุแบงก์หันออกตั๋วแลกเงินจูงใจผู้เงินฝากแทนหลังแนวโน้มดอกเบี้ยลด เผยเฉพาะปี 50 มียอดออกตั๋วถึง 5 แสนล้านบาทเทียบกับเงินฝากทั้งระบบ 6.5 ล้านล้านบาท
นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมในปี 2550 ที่ผ่านมายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.58 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายด้านการกันสำรองและภาษีแล้วมีกำไรสุทธิ 2.5 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 4 หมื่นล้านบาท จากปี 49 ที่มีอยู่ 6.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39)
ทั้งนี้ เงินรับฝากขยายตัว 0.5% ชะลอลงมากจากปี 49 ที่ขยายตัวที่ระดับ 6% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงส่งผลให้ผู้ฝากเงินหันไปเลือกรูปแบบการออมอื่นๆ แทน เช่น กองทุนรวม พันธบัตรออมทรัพย์ โดยเฉพาะการระดมทุนผ่านตั๋วแลกเงินแทนเงินฝากมากขึ้น โดยทั้งปี 50 มียอดทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท เทียบกับเงินฝากทั้งระบบมีอยู่ 6.5 ล้านล้านบาท ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินด้วยอยู่ที่ระดับ 86% ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับ 92.8% ในช่วงสิ้นปี50 เทียบกับปีก่อน 89% ถือว่าสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ต้นทุนเงินฝากอยู่ที่ระดับ 3.1% ใกล้เคียงกับปี 49 ถือว่าไม่มาก
ส่วนสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 4.6% ชะลอตัวจากปีก่อน 5.9% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลง อย่างไรก็ตามสินเชื่อเริ่มมีสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาสุดท้ายของปี ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของธุรกิจและการบริโภค โดยสินเชื่อภาคธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 76.5%ของสินเชื่อรวมขยายตัวที่ 1.5% ชะลอลงจากปีก่อนที่ 2.8% ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคคิดเป็น 23.5%ของสินเชื่อรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 16% เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
นางฤชุกร กล่าวว่า สำหรับหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4.35 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.5% เทียบกับปีก่อนหน้าที่ระดับ 7.3% แต่เมื่อหักเงินสำรองแล้วจะมียอดเอ็นพีแอลสุทธิลดลงเล็กน้อย 3.9% เทียบกับปีก่อน 4.1% โดยสินเชื่อภาคธุรกิจมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.7 หมื่นล้านบาทจากสิ้นปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 8.2% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 8.1% ในขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคมียอดลดลง 4 พันล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนลดลงเล็กน้อยเหลือ 4% จากปีก่อน 4.8% ทั้งนี้เป็นการลดลงของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและผลประกอบการของธุรกิจที่ลดลง แต่ระบบธนาคารพาณิชย์มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการเพิ่มทุนในปี 50 ถึง 9.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส) เพิ่มขึ้นเป็น 15% จากปี 49 ที่ระดับ 14.1% ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำทางกฎหมายที่ 8.5% จึงเชื่อว่าจะสามารถสนับสนุนการขยายตัวธุรกิจในอนาคตได้ดี
“แม้ความเสี่ยงการปฏิบัติการและความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้น รวมถึงยอมรับว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งต้นทุนของแต่ละสาขา การจัดระบบการบริหารความเสี่ยงหรือแม้แต่ต้นทุนจากการดำเนินการมีการขึ้น แต่ธนาคารพาณิชย์โดยรวมก็มีการปรับตัวที่ดี ส่นแบงก์ไทยลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศอ้างอิง(ซีดีโอ)ทั้งสิ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการลงทุนในสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ไม่ถึง 10% หรือจำนวน 70 ล้านเหรียญ และยิ่งเมื่อเทียบกับสัดส่วนสินเชื่อรวมแล้วคิดเป็น 0.03%ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ ถือว่าเล็กน้อยมาก”นางฤชุกรกล่าว
|
|
 |
|
|