Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
เคเอสซี+เอ็มเว็บ สูตรสำเร็จที่ยังไม่ลงตัว             
 


   
search resources

เอ็มเว็บ(ประเทศไทย), บจก.
จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน
ศรีศักดิ์ จามรมาน
ไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์
เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เน็ต, บจก.




ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน และ กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าสามารถใช้โอกาสในการมาของอินเตอร์เน็ต กับการเป็นผู้เริ่มต้นก่อนคนอื่นอย่างได้ผล

ก่อนจะมาทำงานอยู่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบค ที่เป็นรากฐานสำคัญของการเกิดเคเอสซี ศ.ดร.ศรีศักดิ์ นอกจากงานวิชาการแล้วเขาอยู่ใน แวดวงคอมพิวเตอร์มาหลายสิบปี

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ เคยเป็นที่รู้จักมากๆ ในช่วง ที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาปรับปรุงระบบเทคโนโลยีให้กับธนาคารกรุงเทพ จะด้วยสาเหตุอะไรไม่แน่ชัด ก็ปรากฏว่า อาณัติ อาภาภิรม ได้เข้าไปทำหน้าที่เดียวกันในแบงก์กรุงเทพ และในช่วงเวลานั้น เอง แบงก์กรุงเทพ ก็มีเครื่องเอทีเอ็มติด ตั้งทัดเทียมกับแบงก์ไทยพาณิชย์

ชื่อเสียงของดร.ศรีศักดิ์เงียบหายไปพักใหญ่ จนจับพลัดจับผลูมาปรากฏ ชื่อเสียงครึกโครมอีกครั้งในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ด้วยเป็นผู้ก่อตั้ง และหุ้นส่วนใน บริษัทเคเอสซี ร่วมกับกนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน

กนกวรรณ มีพื้นเพมาจากธุรกิจ ผลิตน้ำตาลกาญจนบุรี เป็นกิจการของครอบครัว เธอจบบัญชี จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และไปเรียนต่อ MBA ที่บอสตัน ยูนิเวอร์ซิตี้ ก่อนจะกลับมาช ่วยงาน ที่บ้าน พร้อมๆ กับช่วย งานไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ที่กำลังอยู่ระหว่างขยายเข้าสู่ธุรกิจไอที หลังจาก ที่เข้าไปซื้อกิจการบริษัทซีโนบริต ที่ทำธุรกิจค้าคอมพิวเตอร์ ต่อจาก ตระกูลโฮลท์

กนกวรรณ เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ช่วงนั้น เอง ที่เธอได้มีโอกาสรู้จักกับ ศ.ดร.ศรี ซึ่งเป็นพ่อของ เพื่อนน้องสาว เพื่อชักชวนมาทำงานร่วมกัน ผลของการขยายกิจการไอทีของกลุ่มบ้านฉางจะลงเอยอย่างไรไม่ปรากฎแน่ชั แต่ จากการพบกับศ.ดร.ศรีศักดิ์ ในครั้งนั้น กลายเป็นที่มาของบริษัท เคเอสซี ที่ย่อมาจาก กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน และศรีศักดิ์ จามรมาน

"ตอนนั้น อาจารย์ศรีศักดิ์เป็นคนแรก ที่พูดถึงอินเตอร์เน็ตจะเป็นธุรกิจได ้ และจะมีคนใช้อย่างมหาศาล ซึ่งเวลานั้น อินเตอร์เน็ตยังใช้งานกันอยู่แค่ มหาวิทยาลัยเท่านั้น เพราะเอแบคเองก็เพิ่งเริ่มมีใช้" จากการพบปะกันในวันนั้น ก็ ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเวลาต่อมา

กนกวรรณเริ่มเข้าปูรากฐานในธุรกิจนี้ ด้วยการศึกษาต่อปริญญาเอก ที่ เอแบค ด้านคอมพิวเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง แมเนจเมนต์ ที่อาจารย์ศรีศักดิ์ เป็นคณบดีอยู่ และยังเข้าไปนั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิทยาการอินเตอร์เน็ตของเอแบค

และนับจากนั้น เป็นต้นมา ทั้งสองก็ร่วมกันยื่นข้อเสนอขอเป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) แต่ก็ถูกปฏิเสธมาตลอด เพราะกสท.มีอินเตอร์เน็ตประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการลงทุนรวมกันระหว่างกสท. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และเนคเทค ซึ่ง ศ.ดร.ศรีศักดิ์ มักเปรยถึง ความยากลำบากในการติดต่อกับหน่วยงานราช การอยู่

หลังจากเรียน รู้มากขึ้น คราวเคเอสซี จึงหาทางออกใหม โดยไปได้ ที่ ปรึกษา ที่อยู่ในบอร์ดกสท.มาช่วย ซึ่งเป็นที่มาของข้อเสนอ ที่ให้กสท.เข้ามาถือหุ้นลม 32% พนักงานกสท.อีก 3% โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงิน ที่บอร์ดกสท.สามารอนุมัติได้ทันที โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจาก ครม.

ด้วยข้อเสนอเหล่านี้ของเคเอสซี ที่ต่อมาได้กลายเป็นบรรทัดฐาน ที่กสท. ใช้ในการอนุมัติไอเอสพีรายอื่นๆ และด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้เอง ก็กลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ต่อการเติบโตของไอเอสพี ที่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้โดยสะดวกเพราะติดปัญหาหุ้นลม ที่ให้กสท.ถืออยู่ 35%

การเสนอขอสัมปทานครั้งนั้น ศ.ดร.ศรีศักดิ์ และกนกวรรณ ก็ได้อาศัย ชื่อมหาวิทยาลัยอัสชัมชัญ เป็นผู้เสนอขอสัมปทานกับกสท. โดยเสนอในนามของศูนย์บริการวิทยาการอินเตอร์เน็ต สังกัดมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

แต่ต่อมาเมื่อได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ ในเดือนตุลาคม 2537 ก็ ได้มีการตั้งบริษัทเคเอสซ คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เน็ต ขึ้นมา เป็นบริษัท ที่รับสัมปทานไอเอสพีอีกครั้งหนึ่ง โดยกสท. ถือหุ้น 35% ส่วนอีก 65% ถือ โดยบริษัทศูนย์บริการวิทยาการอินเตอร์เน็ต

ศูนย ์บริการวิทยาการอินเตอร์เน็ตในช่วงเริ่มต้น มีผู้ถือหุ้น 3 ฝ่ายคือ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ กนกวรรณ ถือหุ้นรวมกัน 75% อีก 25% ถือโดยไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์

ส่วนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นับได้ว่ามีส่วนช่วยเคเอสซีมากๆ ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจถึงแม้จะไม่ได้เข้าไปร่วมทุนด้วย เพียงแต่ให้ขอยืมชื่อ และสนับสนุน ในเรื่องของอุปกรณ์ โดยเฉพาะในเรื่องของฐานสมาชิกให้กับเคเอสซี เพราะมี บรรจุหลักสูตรอินเตอร์ เน็ตให้นักศึกษาเรียนเป็นวิชาบังคับ

หลังจากดำเนินโครงการไม่ถึงปีดี ไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ก็ขอถอนตัวออกไปเป็นวุฒิสมาชิก และเป็นช่วง ที่ไพโรจน์เองก็เริ่มขายกิจการในมือหลายอย่างออกไป โดยขายหุ้นให้กับจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล เข้ามาถือหุ้น แทน

จัสมิน ได้ตำแหน่งกรรมการบริษัท 2 ที่นั่ง และอดิศัย โพธารามิกได้ เก้าอี้ประธานกรรมการบริหาร แต่ตลอดเวลา ที่ผ่านมาจัสมินไม่ได้ยุ่งเกี่ยวในเรื่องการบริหาร ยังคงปล่อยให้ ดร.ศรีศักดิ์ และกนกวรรณ บริหารงานโดยลำพัง

การเป็นรายแรกๆ ในตลาด บวก กับยุทธวิธีการประชาสัมพันธ์ และ การตลาดอย่างต่อเนื่อง ที่ดร.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ออกโรงเองมาตั้งแต่ต้น ทำให้เค เอสซี ได้ฐานลูกค้าระดับ mass มาอยู่ในมือจำนวนมาก

เงินทุน ที่ใช้ช่วงแรก เคเอสซีอาศัยวิธีการเก็บค่าบริการรายเดือนล่วงหน้า ที่เคเอสซีใช้วิธีลดราคาจูงใจให้กับลูกค้าเหมาจ่ายล่วงหน้า ตั้งแต่ 3 เดือนจน ถึง 1 ปี มาเป็นทุนในการทำธุรกิจ

ด้วยขนาดตลาดที่ยังไม่ใหญ่ แต่มีแนวโน้วโน้มจะเติบโตได้อีก กนกวรรณเล่าว่า การดำเนินธุรกิจในช่วงเริ่มต้นของเคเอสซี ไม่ได้จำเป็นพึ่งพาเงินทุนขนาดใหญ่ แต่อาศัยวิธีการเก็บค่าบริการรายเดือนล่วงหน้าที่เคเอสซีใช้วิธีลดราคาจูงใจให้ลูกค้าเหมาจ่ายล่วงหน้า มีตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปีมาใช้เป็นทุนในการทำธุรกิจ

ถึงแม้เคเอสซี จะมีกำไรจากธุรกิจ ที่จะนำมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่โมเดลธุรกิจของไอเอสพีของไทย ก็ไม่แตกต่างไปจากธุรกิจโทรคมนาคมนัก ลูกค้ายิ่งมากการลงทุนยิ่งเพิ่มตามด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนขยายความ เร็ววงจรให้สอดคล้องกับจำนวนลูกค้า ที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจอินเตอร์เน็ตเวลานี้ไม่เหมือนกับ 5 ปีที่แล้ว การแข่งขันการแข่งขันราคา ที่รุนแรง จากผู้ให้บริการที่เพิ่มจำนวน และนี่เอง ที่ทำให้เคเอสซี และไอ เอสพีทุกรายต้องปรับยุทธศาสตร์ สร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อมาทดแทนรายได้ จากค่าบริการต่อเชื่อมเข้าอินเตอร์เน็ต (Internet access ) ที่จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ

การที่เอ็มเว็บ เข้ามาซื้อหุ้นในเคเอสซี จึงเป็นยุทธศาสตร์ ที่ลงตัวเอามากๆ ที่ทั้งสองจะอาศัยจุดแข็งมาสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ร่วมกัน เพื่อรับมือกับการแข่งขัน ที่แนวโน้มจะรุนแรงกว่าเดิม เนื่องจากการมาของผู้ให้บริการข้ามชาติ

ก ารซื้อหุ้นในเคเอสซี ทำให้ยุทธศาสตร์ของเอ็มเว็บครบถ้วน เอ็มเว็บ เข้าบุกเบิกธุรกิจอินเตอร์เน็ตในไทย ด้วยการใช้เงินทุนจำนวนมากกับกว้านซื้อ เว็บไซต์ในมือมากมาย สร้างขุมกำลังในเรื่องของคน และ และพยายามสร ้าง content มาป้อนเว็บไซต์เหล่านี้ แต่สิ่งที่เอ็มเว็บยังขาดอยู่ก็คือ ธุรกิจไอเอสพี เป็นจิ๊กซอว์เดียว ที่จะทำให้ภาพสมบูรณ์

ขณะที่เคเอสซีจะได้อาศัยฐานเงินทุน และความแข็งแกร่งของเอ็มเว็บ ที่ มีบริษัทแม่ คือ MIH ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ อัสเตอร์ดัม และแนสแดค ลงทุนในกิจการทั้งอาฟริกาใต้ ภูมิภาคเมอดิเตอเรเนียน ในเอเซีย ลงทุนในปักกิ่ง ฮ่องกง และในไทย ที่เป็นผู้ถือหุ้นอันดับสอง ในยูบีซีเคเบิลทีวี มาสร้างความแข็งแกร่งในในธุรกิจ

ทั้งดร.ศรีศักดิ์ และกนกวรรณ เองจะได้ผลกำไร ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จากหุ้นของเคเอสซี ที่ทั้งสองร่วมบุกเบิกมาเกือบ 5 ปีเต็ม และโอกาส ที่บริษัท จะไปจดทะเบียนในตลาดแนสแดค ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

สูตรในการร่วมมือครั้งนี้ก็คือ การจัดตั้งบริษัท A ร่วมทุนแห่งใหม่ ที่ชื่อ MKSC world.com ขึ้นมาใหม่ โดยดร.ศรีศักดิ์ กนกวรรณ และจัส มิน จะ ถือหุ้น 51% ส่วน เอ็มเว็บจะเข้ามาถือในนนาม MIH เอเซีย ในสัดส่วน 49%

บริษัท MKSC จะเข้าไปถือหุ้นในบริษัทเคเอสซี คอมเมอร์เชียล อิน เตอร์เน็ต ซึ่งเป็นบริษัทรับสัมปทาน ในสัดส่วน 75% แทนบริษัทศูนย์บริการ วิทยาการอินเตอร์เน็ต ส่วนกสท.ยังคงถือหุ้น 35% คงเดิม

แต่จู่ๆ จัสมินออกมาประกาศว่าได้มีการฟ้องร้องดร.ศรีศักดิ์ และกนกวรรณ ต่อศาลแพ่งในข้อหาละเมิดสิทธิ์การเป็นผู้ถือหุ้น ที่ไม่ได้ มีส่วนรับรู้ต่อการขายหุ้นในครั้งนี้ ซึ่งเป็นวันเดียวกับ ที่โฆษณาประกาศความร่วมมือระหว่างเอ็มเว็บ ประเทศ ไทย และเคเอสซี มีขึ้นบนหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน

ไม่มีใครรู้ว่า สูตรการร่วมลงทุนนี้จะเปลี่ ยนแปลงอย่างไร เบื้องลึก ที่แท้ จริงของเรื่องนี้คือ อะไร จะเป็นเพราะผลประโยชน์ ที่ไม่ลงตัว เกิดจากการที่จัสมินไม่ได้รับความร่วมมือในฐานะของผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง หรือเป็นเพราะ ยุทธศาสตร์ ที่ไม่ลงตัวของทั้งสอง เพราะจัสมินเอง ก็มีบริษัทจัสมิน อินเตอร์เน็ต ที่ซื้อมาจากกลุ่มวัฏจักร

แต่ ที่แน่ๆ การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจอินเตอร์เน็ต สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการใหม่ๆ แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วก็ทำให้ผู้มาใหม่ เหล่านี้จำเป็นต้องเรียนรู้พื้นฐานของการทำธุรกิจอย่างลึกซึ้งไปพร้อมๆ กันด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us