Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 กุมภาพันธ์ 2551
สินเชื่อธุรกิจQ4ส่งสัญญาณฟื้นอุปโภคบริโภคพุ่ง-อสังหาฯยังทรุด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan




ธปท.เผยยอดสินเชื่อรายธุรกิจสิ้นปีที่ผ่านมาเริ่มผงกหัวขึ้นแล้ว โดยล่าสุดไตรมาส 4 ของปี 50 มียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.56% จากยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบทั้งสิ้น 6.2 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่ออุปโภคบริโภคมียอดเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบกว่า 7 หมื่นล้านบาท ขณะที่สินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนกลับมีสัดส่วนลดลงมากที่สุดในระบบถึง 75% และธุรกิจก่อสร้างขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินลดลง 16,131 ล้านบาท หรือ 8.51%

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจล่าสุด ณ สิ้นเดือนธันวาคม หรือไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พบว่า ระบบสถาบันการเงินได้ให้สินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 155,279 ล้านบาท หรือ 2.56% จากยอดคงค้างที่มีทั้งสิ้น 6,228,981 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นยอดคงค้างสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์จำนวน 5,651,285 ล้านบาท และยอดคงค้างของสาขาธนาคารต่างประเทศ 577,698 ล้านบาท เป็นผลจากสถานการณ์การเมืองเริ่มมีความชัดเจนขึ้น และความต้องการในประเทศกระเตื้องขึ้นบ้าง รวมทั้งจากการเบิกจ่ายงบประมาณไตรมาสแรกของภาครัฐบาล ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย

ทั้งนี้ ธุรกิจมีการขอสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ธุรกิจอุปโภคบริโภคได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบถึง 70,708 ล้านบาท คิดเป็น 5.27% จากยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อในปัจจุบัน 1,412,883 ล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกิจการผลิตเพิ่มขึ้น 57,731 ล้านบาท คิดเป็น 3.74% จากยอดคงค้าง 1,603,308 ล้านบาท และธุรกิจการขายส่ง การขายปลีก และซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 39,373 ล้านบาท คิดเป็น 4.05% จากยอดคงค้าง 1,011,102 ล้านบาท

ส่วนธุรกิจการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคมเพิ่มขึ้น 28,941 ล้านบาท คิดเป็น 14.62% ธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจเพิ่มขึ้น 9,778 ล้านบาท คิดเป็น 2.14% ธุรกิจการไฟฟ้า แก๊ส และการประปาเพิ่มขึ้น 3,672 ล้านบาท คิดเป็น 2.77% และธุรกิจเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้เพิ่มขึ้น 2,866 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.40%

ขณะเดียวกันบางธุรกิจมีการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินลดลง โดยธุรกิจก่อสร้างลดลงจากไตรมาสก่อนมากที่สุดในระบบถึง 16,131 ล้านบาท หรือลดลง 8.51% จากปัจจุบันที่มียอดคงค้าง 173,335 ล้านบาท รองลงมาธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารลดลง 12,459 ล้านบาท คิดเป็น 5.35% จากยอดคงค้าง 220,381 ล้านบาท และธุรกิจการบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับลดลง 11,797 ล้านบาท ลดลง 32.37% จากยอดคงค้าง 24,650 ล้านบาท

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจตัวกลางทางการเงินยอดขอสินเชื่อลดลง 8,547 ล้านบาท คิดเป็น 1.17% ส่วนธุรกิจการให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ลดลง 6,042 ล้านบาท คิดเป็น 9.42% ธุรกิจการศึกษาลดลง 765 ล้านบาท คิดเป็น 4.16% ธุรกิจการทำเหมืองแร่และถ่านหินลดลง 721 ล้านบาท คิดเป็น 3.70%

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้สถาบันการเงินยังให้เงินสินเชื่อแก่ธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังดีอยู่ แต่ในของเงินสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลกลับลดลงอย่างมาก โดยธุรกิจลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลจะมียอดสินเชื่อลดลง 493 ล้านบาท รวมทั้งสัดส่วนกลับลดลงมากที่สุดในระบบถึง 75.40% ส่วนธุรกิจการบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ลดลง 489 ล้านบาท คิดเป็น 1.28% ธุรกิจการประมงลดลง 344 ล้านบาท คิดเป็น 2.32% และธุรกิจองค์การระหว่างประเทศและองค์การต่างประเทศอื่นๆ และสมาชิกลดลง 2 ล้านบาท หรือลดลง 2.66%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us