Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535
"กัมพูชา : อดีตที่รุ่งโรจน์กับความหวังในอนาคต"             
 

   
related stories

"รอยยิ้มแห่งสันติภาพหวนคืนสู่ภาคตะวันตกของกัมพูชา"

   
search resources

Cambodia




กัมพูชาในปัจจุบันเป็นประเทศที่สืบทอดมาจากมหาอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองและเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาแต่โบราณ ซึ่งเคยปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันนี้คือ เวียดนามลาวและไทยอารยธรรมอินเดียโบราณที่กัมพูชารับมาผสมผสานดัดแปลงเข้ากับลักษณะเฉพาะถิ่น ได้กลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของบรรดาชนชาติทั้งหลายที่ก่อตัวขึ้นในอาณาบริเวณแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน

อารยธรรมเขมรอาจสืบค้นลึกลงไปไกลถึงอาณาจักรฟูนันซึ่งมีอายุเก่าแก่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 6 อาณาจักรที่ยึดครองเมืองท่าแถบเวียดนามใต้ปัจจุบันแห่งนี้รุ่งเรืองด้วยการค้าระหว่างอินเดียกับจีน เพื่อนร่วมชนชาติของเขาอาศัยอยู่ตอนในของที่ราบลุ่มน้ำโขงได้แพร่อิทธิพลและเข้าครอบครองพื้นที่ฟูนันทั้งหมดตอนกลางศตวรรษที่ 6 ในนามอาณาจักรเฉินลา ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ก่อนจะเสื่อมลง เมื่อศูนย์การค้าทางทะเลได้ย้ายไปอยู่ชวาและเฉินลาบางส่วนถูกยึดครองโดยพวกชวาช่วงปลายศตวรรษที่ 8

กัมพูชาได้ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อสถาปนาอำนาจของตนขึ้นใหม่อันเป็นช่วงเริ่มต้นแห่งยุคอังกอร์วัด อังกอร์ธมในต้นศตวรรษที่ 9 ที่การสร้างสังคมเกษตรพร้อมด้วยระบบชลประทานที่ยิ่งใหญ่ได้ก่อตัวขึ้นรอบ ๆ ทะเลสาบใหญ่ ตนเลซับช่วยให้อาณาจักรใหม่สามารถรวบรวมผู้คนจำนวนมากเข้ามาไว้ในพื้นที่ขนาดเล็กแห่งนี้ อารยธรรมฮินดูและพุทธศาสนามหายานได้พัฒนาไปจนถึงขีดสุดอันปรากฏรูปแบบออกมาทั้งการเมืองศาสนาและสถาปัตยกรรม

อย่างไรก็ตามการอพยพเข้ามาของชนเผ่าทางเหนือที่เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ซึ่งขึ้นถึงขีดสุดในศตวรรษที่ 13 เมื่ออาณาจักรสุโขทัยของสยามปรากฏตัวขึ้นพร้อม ๆ กับการขยายตัวลงมาทางใต้ของเวียดนาม

สงครามยืดเยื้อกับไทยทำให้กัมพูชารักษาอารยธรรมสังคมเกษตรรอบทะเลสาบใหญ่ได้ลำบาก กาต่อต้านสิ้นสุดลงเมื่อสยามยึดครองอังกอร์วัด-อังกอร์ธมได้ในกลางศตวรรษที่ 15 และกษัตริย์ต้องย้ายเมืองหลวงมาที่พนมเปญเพียงเพื่อจะเสียมันให้กองทัพไทยในอีกศตวรรษต่อมาในปี ค.ศ. 1594

หลังจากนั้น กัมพูชาก็ตกเป็นของไทย และต้องเอาใจเวียดนามเพื่อความอยู่รอดของราชสำนักเวียดนามได้เข้ายึดครองบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและไทยก็เข้าครอบครองเสียมเรียบ พระตะบองและศรีโสภณ และยึดครองจอมกระสานและเมรูเปรยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของจำปาสัก จนกระทั่งการเข้ามาของนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศสในปี 1863 ยุคใหม่ของเอเชียอาคเนย์

ในปี 1863 ฝรั่งเศสบังคับให้กษัตริย์เขมรยินยอมทำสนธิสัญญาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของตน และอิทธิพลของไทยในกัมพูชาก็จบสิ้นลงเมื่อไทยเสียจำปาสักให้ฝรั่งเศสในปี 1904 และเสียเสียมเรียบ พระตะบอง ศรีโสภณไปอีก 3 ปีต่อมา

ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาในฐานะอาณานิคมผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งกัมพูชาได้เอกราชไปในปี 1953 เจ้านโรดมสีหนุซึ่งขึ้นครองราชย์โดยการเลือกสรรของฝรั่งเศสในปี 1941 และแสดงบทบาทสูงในการได้มา ซึ่งเอกราชนำพากัมพูชามาพบกับความปั่นป่วนทางการเมือง เมื่อความขัดแย้งระหว่างกองทัพกับปัญญาชนปีกซ้ายรุนแรงขึ้นในช่วงสงครามของสหรัฐฯในอินโดจีน อันจบลงโดยการรัฐประหารของนายพลลอนนอนที่มีสหรัฐฯ หนุนหลังในปี 1970

การถอนตัวของสหรัฐฯ ออกจากเวียดนามในปี 1973 ทำให้เขมรแดงมีชัยชนะเหนือรัฐบาลลอนนอน และยึดครองประเทศได้ในปี 1975 ด้วยความทะเยอทะยานที่จะสร้างสังคมคอมมิวนิสต์เกษตร เขมรแดงอพยพผู้คนในเมืองทั้งหมดออกสู่ชนบท และทำลายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศลง ปัญญาชนถูกกวาดล้างโดยการทารุณและเข่นฆ่าอย่างเป็นระบบ สิ่งที่ชาวโลกเรียกว่า "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตนเอง" ซึ่งประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่า 1 ล้านคนนี้ สิ้นสุดลงในวันคริสต์มาส ปี 1978 เมื่อกองทหารเวียดนามได้ยาตราทัพเข้าพนมเปญ

ด้วยขนาดพื้นที่ 180,000 ตารางกิโลเมตรใกล้เคียงกับภาคอีสานของไทย กัมพูชาโอบอุ้มประชากรเอาไว้ราว 7 ล้านคนและคงลักษณะการมีชนชาติเดียวไว้ได้สูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคกล่าวคือคนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90 เป็นคนเขมรที่เหลือปะปนไปด้วยคนเวียดนาม จีน จาม ไทย และลาว

ลักษณะเด่นที่สุด้านภูมิศาสตร์ของกัมพูชาก็คือ แม่น้ำโขงซึ่งบางแห่งกว้างถึง 5 กิโลเมตรและทะเลสาบใหญ่ตนเลซับ ความยาวของแม่โขงที่ไหลผ่านที่ราบภาคกลางและแตก ออกเป็น 2 สายใต้พนมเปญนั้นยาวถึง 315 กิโลเมตร ส่วนทะเลสาบใหญ่นั้นมีขนาดพื้นที่ถึง 3,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อถึงหน้าฝนมันจะขยายตัวขึ้นครอบคลุมพื้นที่ถึง 7,500 ตารางกิโลเมตรแม่น้ำทั้งหมดในกัมพูชาล้วนไหลลงแม่น้ำโขงและทะเลสาบใหญ่

เมื่อน้ำในแม่โขงลดลง น้ำในทะเลสาบที่เอ่อนองก็จะถูกสูบลงทะเล ทิ้งดินอุดมที่ทับถมอยู่ให้กลายเป็นพื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ประมาณว่ามีประชาชนกว่า 5 ล้านคนอาศัยอยู่รอบ ๆ ทะเลสาบใหญ่และลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่อุดมสมบูรณ์

ที่ราบลุ่มตอนกลางหัวใจของกัมพูชาล้อมรอบไปด้วยป่าเบญจพรรณที่สมบูรณ์ทางตอนเหนือ และป่าดงดิบผืนใหญ่ที่สุดและหนาแน่นที่สุดทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการวางตัวของ เทือกเขาสลับซับซ้อน 2 ลูกอันได้แก่เทือกเขาชาดามอนและเทือกเขาช้าง ในโพธิสัตว์ เกาะกงและกำโพช พื้นที่เหล่านี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ อัญมณี นานาชนิด รวมทั้งแร่ยูเรเนียม นอกจากนี้กัมพูชายังมีชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยปลานานาชนิด

ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้อนาคตของการฟื้นฟูบูรณะประเทศเป็นที่ดึงดูดใจของนักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us