Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535
"ใครเป็นใครในทีวีดาวเทียม"             
 

   
related stories

"การทำธุรกิจคลื่นในห้วงอวกาศ"
"ใครเป็นใครในธุรกิจสื่อสารข้อมูล"

   
search resources

สามารถเทลคอม, บมจ.
กรมไปรษณีย์โทรเลข
Telecommunications
คอมพิวเนท คอร์ปอเรชั่น, บจก.




จานดาวเทียม เป็นอุปกรณ์รับเสียงและภาพจากดาวเทียม ซึ่งประเทศไทยมีมานานแล้วแต่จำกัดอยู่เฉพาะหน่วยงานราชการ คือ กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานรับและส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2511 เป็นต้นมา และดำเนินการถ่ายทอดสดโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นครั้งแรกในวันที่ 9 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์การเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาของจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และได้มีการถ่ายทอดสดโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2512 ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเหตุการณ์นักบินอวกาศสหรัฐอเมริกาเดินทางไปลงดวงจันทร์เป็นครั้งแรก และนับจากนั้นการถ่ายทอดโทรทัศน์ได้มีมาเรื่อย ๆ

ธุรกิจจานดาวเทียมของภาคเอกชน เริ่มจากกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ให้สัมปทานแก่ บริษัท สามารถ เทลคอม จำกัด และบริษัท คอมพิวเนท คอร์เปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูลผ่านดาวเทียม เป็นระยะเวลา 15 ปีโดยการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ ให้กับผู้ต้องการใช้โดยมีคุณสมบัติตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลข กำหนดไว้ 5 กลุ่ม คือ 1. ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ทหาร ตำรวจ ที่มีระดับไม่ต่ำกว่า ซี 5 หรือเทียบเท่า 2. พนักงานของบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีระดับไม่ต่ำกว่ากรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือตำแหน่งเทียบเท่าอื่น ๆ 3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิก สมาชิกสภา กทม. สจ. สท. เทศมนตรี 4. บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาในการรับสัญญาณโทรทัศน์ไม่ชัดเจน 5. ประชาชนทั่วไปที่อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขจะพิจารณาอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

นับจากนั้นมา การสื่อสารมีความทันสมัยขึ้นประกอบกับความต้องการข่าวสารของประชาชนมีมากขึ้นจนถึงปี 2535 นี้รัฐบาลจึงเห็นชอบให้เปิดเสรีจานดาวเทียมแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ต้องมายื่นขอจดทะเบียนกับกรมไปรษณีย์โทรเลข เพียงแต่มีกำลังซื้อก็สามารถเป็นเจ้าของได้แต่ผู้นำเข้าและผู้ประกอบการธุรกิจจานดาวเทียมต้องจดทะเบียนกับกรมไปรษณีย์ เพื่อตรวจสอบและรับรองก่อนมีการจำหน่ายต่อไปการเปิดเสรีครั้งนี้ทำให้ธุรกิจจานดาวเทียมแข่งขันกันมากขึ้น

จำนวนผู้ประกอบการ

จำนวนผู้ประกอบการจานดาวเทียมที่จดทะเบียนกับกรมไปรษณีย์โทรเลขมีจำนวนประมาณ 60 ราย แต่ผู้นำเข้าที่เป็นตัวแทนของแต่ละยี่ห้อซึ่งได้เปิดตัว มีจำนวน 14 ราย

ผู้ประกอบการในประเทศดังกล่าว บริษัทสามารถเทลคอม จำกัด เป็นผู้ผลิตจานดาวเทียมเพียงรายเดียวในประเทศ โดยได้ผลิตและจำหน่ายรายแรกของประเทศ และยังสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย การผลิตจานดาวเทียมของบริษัทสามารถเทลคอม ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยมีเงื่อนไขต้องส่งออก 80% และขายภายในประเทศ 20% และจากการเปิดเสรีดังกล่าวทำให้มีผู้สนใจจะผลิตจานดาวเทียมขึ้นมาบ้างอาทิ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด, บริษัทแอนแทค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นต้น

การตลาด

การแข่งขันของธุรกิจนี้ ต้องแข่งขันกันทั้งคุณภาพแบบและความสามารถการับชมรายการของจานนั้น ๆ ตลอดจนต้องแข่งขันกันด้วยราคา และยังต้องอาศัยผู้แทนจำหน่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศเป็นช่องทางการขายอีกด้วย

จานดาวเทียมที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่มีขนาด 6 ฟุต 8 ฟุต และ 10 ฟุต โดยขนาด 6 ฟุต เหมาะสมกับตัวรีซีฟเวอร์รับสัญญาณดาวเทียมได้ 1 ดวง เช่น ASAISAT เป็นดาวเทียมที่ช่วยส่งสัญญาณโทรทัศน์ของสตาร์ทีวี ประเทศฮ่องกง ถ้าเป็นขนาด 8 ฟุตหรือ 10 ฟุต ขึ้นไป จะตัวรีซีฟเวอร์จะรับสัญญาณดาวเทียมได้ประมาณ 9-10 ดวง เช่น ASIASAT (HONG KONG), PALAPA (INDONESIA), CHAINASAT (CHIAN), GORIZONT (USSR), STATSIONAR (USSR), INSAT (INDIA) เป็นต้น

จานดาวเทียมดังกล่าว ขนาด 6 ฟุตได้รับความนิยมจากคนไทยมากที่สุด เพราะมีราคาไม่แพงนักระหว่าง 30,000-40,000 บาท สามารถรับรายการของสตาร์ทีวี รับได้ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ซึ่งเสนอรายการแทบทุกประเภท อาทิ ข่าว สารคดี กีฬา ภาพยนตร์ ฯลฯ

ทำให้ในรุ่นนี้มีการแข่งขันกันมาก โดยในระยะนี้จะมีการตัดราคากัน จากเดิมราคาประมาณ 40,000 กว่าบาทขึ้นไปและจะลดลงไปไม่ถึง 30,000 บาทในอนาคตข้างหน้านี้ เช่นบริษัทสามารถแซทคอม จำหน่ายตัวจานดาวเทียม โดยสามารถประกอบและติดตั้งเองได้ ราคา 28,400 บาท ส่วนของบริษัทฟิวเจอร์อิมเมท จานดาวเทียมที่รับได้เฉพาะของสตาร์ทีวี มีราคา 28,000 บาท โดยกลุ่มลูกค้าอยู่ระดับกลางและล่าง

ส่วนขนาด 10 ฟุตขึ้นไป จะมีรีโมตคอนโทรลควบคุมการปรับทิศทางและการรับสัญญาณและมีระบบเสียงไฮไฟสเตอริโอ ซึ่งจานขนาดนี้มีราคาสูงประมาณ 80,000 บาทขึ้นไป ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าระดับบน

นอกจากนี้กลยุทธ์การตลาดจานดาวเทียมที่นำมาใช้คือ การจำหน่ายโดยในการเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับล่าง จะใช้ระบบผ่อนส่งเงินเป็นงวด ๆ โดยลูกค้าจะผ่อนส่งกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซึ่ง บริษัทจำหน่ายจานดาวเทียมเป็นผู้กำหนด

ส่วนกลยุทธ์การตลาดที่ส่วนใหญ่นำมาใช้ คือ การจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาด โดยผ่านดีลเลอร์ทั่วประเทศโดยใครสามารถมีดีลเลอร์อยู่มากที่สุดย่อมแสดงถึงความได้เปรียบในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด เพราะดีลเลอร์แต่ละรายจะมีการบริการหลังการขายและการทำตลาดของตนเอง ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกมากขึ้น

การจำหน่ายจานดาวเทียมในช่วงที่ผ่านมาบริษัทสามารถเทลคอม จำกัด มีสัดส่วนครองตลาดได้ถึงร้อยละ 100 และทำให้ตลาดขยายตัวขึ้น ในปี 2534 ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ จึงเข้ามาได้แก่ บริษัทเจ็บเซ่นแอนด์เจ็สเซ่น จำกัด นำจานดาวเทียมเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ทำให้สัดส่วนการครองตลาดของบริษัทสามารถลดลงไป เหลือประมาณร้อยละ 90

เมื่อมีการเปิดเสรีจานดาวเทียมในปีนี้ ทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของบริษัทสามารถฯ ที่ครองตลาดอยู่สูงสุดจะลดลงกว่าเดิมแน่นอน แต่ทางบริษัทคาดว่าจะสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดนี้ไว้ให้ได้ร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 บริษัทอื่น ๆ อีกกว่า 13 บริษัทต้องแข่งขันกันอย่างมาก และผู้ที่เข้ามาใหม่คงต้องลำบากมาก ๆ ในการที่จะได้ส่วนแบ่งตลาด

ในปี 2535 ตลาดจานดาวเทียมมีประมาณ 20,000 ชุด บริษัท สามารถฯ จึงต้องพยายามรักษาส่วนแบ่งและเพิ่มการจำหน่ายให้มากที่สุด ทำให้ในปี 2535 ธุรกิจดาวเทียมจะแข่งขันกันมากขึ้นเพราะนโยบายการเปิดเสรีจานดาวเทียมของรัฐบาล และในปลายปี 2536 ไทยจะมีดาวเทียมดวงแรกชื่อว่า "ไทยคม" ซึ่งจะทำให้การสื่อสารของไทยก้าวหน้าไปอีกขั้น และการใช้จานดาวเทียมจะมีมากขึ้นเพราะการรับสัญญาณต่าง ๆ จากดาวเทียมไทยคมจะมีต้นทุนต่ำลง

อย่างไรก็ตามการแข่งขันในธุรกิจนี้ ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์มากที่สุด และจะมากขึ้น เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาในการออกใบอนุญาตช้า นอกจากนั้นควรส่งเสริมให้มีการแข่งขันเสรีกันมากขึ้นโดยลดกำแพงภาษีขาเข้าจานดาวเทียมและอุปกรณ์ ซึ่งปัจจุบันเก็บในอัตราภาษีรวมกันแล้วสูงถึงร้อยละ 60

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us