Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 กุมภาพันธ์ 2551
คนหุ้นชี้ห้าม"เน็ตฯ-มาร์จิ้น"แก้ปัญหาไม่ตรงจุด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Stock Exchange




"ภัทรียา"ยันการปฏิบัติหน้าที่ตลท.เพื่อสกัดหุ้นร้อนไม่มีดับเบิ้ลสแตนดาร์ด ขณะที่เรียกหารือโบรกเกอร์หวังทบทวนมาตรการให้ทันสมัยกับปัจจุบันมากนี้ ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ชี้มาตรการห้ามเน็ทเซ็ตเทิลเม้นต์-มาร์จิ้นเทรดดิ้งไม่ตรงจุด เสนอแนวคิดแยกกลุ่มหุ้นเก็งกำไรพร้อมตั้งซิลลิ่ง-ฟลอร์ใหม่ พร้อมเสนอพักการซื้อขายชั่งคราวระหว่างวัน ย้ำต้องศึกษาผลกระทบให้รอบด้านห่วงนักลงทุนรุมฟ้องจำกัดสิทธิ

จากกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้เรียกบรรดาเชิญผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์รวม 8 ราย ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO, บล.โกลเบล็ก, บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย), บล.ฟาร์อีสท์, บล.แอ๊ดคินซัน, บล.บัวหลวง, บล.ธนชาต และ บล.เคทีบี ร่วมหารือถึงมาตรการที่จะนำมาใช้เพื่อสกัดกั้นการเข้ามาใช้ตลาดหุ้นเป็นช่องทางการในการหาผลประโยชน์ของกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่

โดยช่วงที่ผ่านมามาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มักจะถูกนำมาดับร้อนในกรณีที่หุ้นใดหุ้นหนึ่งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดไปจากสภาวะทางที่เป็นจริง คือ การสั่งห้ามซื้อขายในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (Net Settlement) และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Trading)

อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ครั้ง แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ไม่ว่าจะเป็น 30 วันทำการหรือ 60 วันทำการแล้ว ยังไม่สามารถหยุดความร้อนแรงของหุ้นนั้นๆ ได้ กลับจะยิ่งทำให้กลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังความผิดปกติสร้างความท้าทายด้วยการพยายามดันให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ท้าทายและเย้ยมาตรการของตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกด้วย

สำหรับหุ้นที่ถือว่าอยู่ในกระแสของความร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมาจนถูกสั่งห้ามเน็ทเซ็ตเทิลเม้นต์ และมาร์จิ้นเทรดดิ้ง อาทิ หลักทรัพย์บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) หรือ BLIS, ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญบมจ.บลิส-เทล หรือ BLISS-W1, หุ้นบมจ. อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง หรือ IEC, หุ้นบมจ. ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น หรือ LIVE, หุ้นบมจ. ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ หรือ TRAF,หรือหุ้นบมจ. แนเชอรัล พาร์ค หรือ N-PARK และล่าสุดบมจ.เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส หรือ SECC และวอร์แรนต์ SECC-W1 เป็นต้น

แหล่งข่าวจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ความร้อนแรงของหุ้นเก็งกำไรมักจะเกิดขึ้นในสภาวะที่นักลงทุนไม่มีหุ้นให้ลงทุน เนื่องจากสภาวะตลาดหุ้นซึมจนผิดปกติ หรือในสภาวะที่ตลาดหุ้นเริ่มกลับมาสดใสเนื่องจากเป็นช่วงที่สามารถหาข่าวเข้ามาสนับสนุนเพื่อสร้างราคาหุ้นให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลายบริษัทจะมีข่าวมารองรับการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่การปรับเพิ่มขึ้นจะแรงกว่าที่ควรจะเป็น

ทั้งนี้ การแก้ไขความรุนแรงของราคาหุ้นด้วยการสั่งห้ามเน็ทเซ็ตเทิ้ลเม้นต์และมาร์จิ้นเทรดดิ้งของตลาดหลักทรัพย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่ามาตรการดังกล่าวไม่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาความร้อนแรงที่ผิดปกติได้อย่างตรงประเด็น เนื่องจากในช่วงที่มีการใช้มาตรการดังกล่าวหุ้นหลายบริษัทที่ราคาหุ้นยังปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางภาวะตลาดหรือปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริงของหุ้นดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ถกเถียงมายาวนานโดยในต่างประเทศตลาดหลักทรัพย์ฯ บางแห่งจะไม่เข้าไปยุ่งกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาหุ้น เนื่องจากเชื่อมั่นในความรู้และความเข้าใจของนักลงทุนว่าเข้าใจถึงเหตุและผลก่อนการจะเข้าไปลงทุน

"มันถือว่าเป็นเรื่องที่ยากที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว การออกมาตรการที่รุนแรงกว่าที่เป็นอยู่อาจจะทำให้หน่วยงานที่ดูแลถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากการดำเนินการใดๆ จะต้องมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนั้นๆ สิ่งที่สำคัญในตอนนี้คือการสร้างความรู้และความเข้าใจเพื่อให้นักลงทุนลงทุนด้วยเหตุและผลน่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า แนวทางที่อาจจะต้องมีการพิจารณาเพื่อมาดูแลนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นเก็งกำไรอาจจะต้องแยกกลุ่มหุ้นเก็งกำไรออกมาแล้วกำหนดการปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงให้แคบลงเพื่อไม่ให้ราคาหุ้นในแต่ละวันปรับตัวเพิ่มขึ้นและลดลงมากจนเกิดขึ้น หรืออาจจะนำหลักการการปิดการซื้อขายชั่วคราวเหมือนการใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์เข้ามาใช้ในระหว่างวันเหมือนการพักการซื้อขายหุ้นทั้งตลาดเมื่อดัชนีปรับตัวลดลงแตะระดับที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวจะใช้ได้หรือไม่นั้นคงต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน เนื่องจากหากมีการพักการซื้อขายนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่ในขณะนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถขายหุ้นออกมาได้ และอาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องเนื่องจากอาจจะถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิของนักลงทุนได้

ตลท.ยันไม่เลือกปฏิบัติหุ้นเก็งกำไร

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการทบทวนในเรื่องมาตรการดูแลการซื้อขายหุ้นในหุ้นเก็งกำไรที่มีราคาเปลี่ยนแปลง และปริมาณการซื้อขายผิดปกติ ซึ่งการทบทวนนั้นไม่ได้เป็นเพราะเกณฑ์ปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ แต่เป็นการทบทวนว่าเกณฑ์ที่ใช้มีความเหมาะสมหรือไม่ในปัจจุบัน โดยตลาดหลักทรัพย์ฯยืนยันว่าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯบังคับใช้นั้นปฎิบัติกับทุกบริษัทไม่ได้เลือกปฎิบัติแต่อย่างไร

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เชิญผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์เข้ามาหารือเกี่ยวกับการดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้มีความเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของโบรกเกอร์และนักลงทุนให้สภาวะที่หุ้นเก็งกำไรหลายบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นลดลงสวนภาวะตลาดหุ้นโดยรวม ซึ่งจากการหารือร่วมกันครั้งนี้ ผู้บริหารโบรกเกอร์ได้เสนอแนวทางดูแลหุ้น เช่น การออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งในเรื่องดังกล่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งหารือเพื่อรวบรวมและพิจารณาหาแนวทางในการปกป้องนักลงทุนต่อไป

บริษัทจดทะเบียนยันไม่เกี่ยวกับพื้นฐาน

นางสัณห์จุฑา วิชชาวุธ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง หรือ IEC บริษัทที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มหุ้นเก็งกำไร กล่าวว่า แม้หุ้นไออีซีจะถูกจัดเป็นหุ้นเก็งกำไร แต่ส่วนตัวไม่รู้สึกกังวลที่ราคาหุ้นของบริษัทจะเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องภาวะโดยรวมของตลาด เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นความพึงพอใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาซื้อขายหุ้น

ทั้งนี้ ส่วนตัวเป็นผู้บริหารบริษัทจึงต้องเน้นในการสร้างผลการดำเนินงานเพื่อให้บริษัทมีผลการดำเนินงานที่ได้รับผลตอบแทนที่ดีมากกว่า ดังนั้น แม้ตลาดหลักทรัพย์จะนำมาตรการใดๆ มากำกับดูแลหุ้นที่มีความร้อนแรงคงจะไม่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานและภาพลักษณ์ของบริษัทแน่นอน แต่มาตรฐานในการดูแลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ควรที่จะมีมาตรฐานเดียวกันในการดูแลบริษัทจดทะเบียนทุกบริษัท

"ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ควรเลือกปฎิบัติหรือมีสองมาตรฐานในการทำงาน การจะประกาศใช้มาตรการใดๆ ออกมาควรจะมีการแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมทั้งนักลงทุนและบริษัท" นางสัณห์จุฑากล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us