Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 กุมภาพันธ์ 2551
กสิกรไทยลุยสินเชื่อเอสเอ็มอีรับ"สมัคร1"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
Loan




แบงก์กสิกรไทยจี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเร่งปรับตัว หลังต้นทุนลอจิสติกส์ของไทยพุ่งเป็น 23.9% บริษัทยิ่งเล็กต้นทุนยิ่งสูง แนะลดต้นทุนก่อนเสียเปรียบด้านการแข่งขัน พร้อมตั้งเป้าลุยขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้เพิ่มอีก 6 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 20% เป็น 360,000 ล้านบาท มั่นใจหลังตั้งรัฐบาล-เมกะโปรเจ็กต์ช่วยหนุน

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ในขณะนี้ผู้ประกอบการของไทยกำลังเผชิญปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต ทั้งจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกก็จะมีปัญหาเรื่องแนวโน้มค่าเงินบาทที่มีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาซับไพรม์ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวในการบริการจัดการ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะการลดต้นทุนทางด้านลอจิสติกส์ ทั้งด้านการวางแผนขนส่งสินค้า การสต็อกสินค้า วัตถุดิบ เป็นต้น เนื่องจากปัญหาต้นทุนด้านลอจิสติกส์ของไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 19.4% ในปี 2548 เป็น 23.9% ในปี 2549 และบริษัทที่มีขนาดเล็กจะยิ่งมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะมีต้นทุนลอจิสติกส์สูงถึง 26%

ทั้งนี้ การลดต้นทุนลอจิสติกส์ของเอสเอ็มอี จะทำได้ง่ายและมีประสิทธิผลกว่าการลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นที่อาจจะควบคุมจัดการได้ยาก หรือการลดคุณภาพสินค้าที่อาจจะส่งผลเสียหายรุนแรงกว่าในระยะยาว นอกจากนั้นการจัดการลอจิสติกส์ที่ดีจะช่วยให้องค์กรมีผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมกับสถาบันคีนันแห่งเอเชียเข้าไปร่วมพัฒนาการจัดการด้านลอจิสติกส์ของลูกค้า พบว่าจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ถึง 15%

นายปกรณ์ กล่าวว่า จากความสำคัญของการจัดการด้านลอจิสติกส์ ธนาคารกสิกรไทยจึงมีเป้าหมายที่จะมุ่งให้ความรู้ด้านลอจิสติกส์แก่ลูกค้าของธนาคาร โดยการจัดสัมมนาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ล่าสุดธนาคารได้จัดสัมมนาเรื่อง "เคล็ดไม่ลับ จับทางลอจิสติกส์ กับ K SME Care" มีเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้ด้านลอจิสติกส์ แก่ผู้ประกอบการที่เป็นเอสเอ็มอีประมาณ 800 คน ระหว่างวันที่ 11-14 กุมภาพันธ์นี้

สำหรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีสุทธิของธนาคารในปีนี้ตั้งไว้ที่ 60,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20% ซึ่งจะทำให้พอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีสิ้นปีจะอยู่ที่ 360,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายจำนวนลูกค้าใหม่คาดว่าจะอยู่ที่ 30% จากปัจจุบันมีฐานลูกค้า 400,000 ราย โดยจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจะมาจากส่วนที่ยังไม่เคยใช้สินเชื่อของธนาคารและเป็นลูกค้าที่มาจากธนาคารแห่งอื่น

นอกจากนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายว่าปีนี้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธนาคารจะเพิ่มเป็น 30% จากในปีก่อนอยู่ที่ 25-27% ซึ่งจะทำให้ธนาคารอยู่ในส่วนของผู้นำในตลาด โดยส่วนที่ทำให้ธนาคารเชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายนั้นเนื่องจาก ธนาคารมีความรวดเร็วในการให้บริการ ซึ่งปัจจุบันธนาคารสามารถอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวได้ภายใน 3 วัน ได้รับเงินภายใน 10 วัน วงเงิน 10 ล้านบาท รวมถึงความครบถ้วนในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและมีการให้คำแนะนำ การให้ความรู้และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของลูกค้า

"ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ของสินเชื่อเอสเอ็มอีนั้นสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 2.8% ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะอยู่ 3.8% ส่วนแนวโน้มในปีนี้นั้นจะต้องดูเรื่องการปรับตัวของผู้ประกอบการในปัจจุบันว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน แต่ในส่วนของธนาคารได้มีการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ไม่ได้ไปดูตอนมีปัญหาแล้ว ซึ่งจะมีทีมเฉพาะที่ดูแลลูกค้าแยกเป็นอุตสาหกรรม" นายปกรณ์กล่าว

นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีของระบบนั้นคาดว่าจะมีการเติบโตประมาณ 8-10% จากปีก่อนเติบโตอยู่ที่ 6-8% โดยสาเหตุที่มองว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้จะมีการขยายตัวค่อนข้างสูงนั้น เนื่องจากจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ 2,200,000 รายนั้น ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงธนาคารต่างๆได้ให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวมากขึ้น เพราะการปล่อยสินเชื่อนี้จะทำให้ธนาคารได้ประโยชน์จากการใช้เกณฑ์มาตรฐานการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Basel 2) ที่จะนำมาคำนวณความเสี่ยง 75% และสินเชื่อเอสเอ็มอียังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าสินเชื่อรายใหญ่

ทั้งนี้ จากการที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะเป็นส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นกลับมาได้ และจากการที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกซ์) นั้นเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเอสเอ็มอีในทางอ้อม เนื่องจากการลงทุนก่อสร้างขนาดใหญ่นั้น จะต้องมีการซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบจากผู้ประกอบการรายกลางรายเล็ก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขายสินค้าได้มากขึ้น

"ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นมองว่าผู้ประกอบการได้ปรับตัวมาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยการไปหาตลาดใหม่ รวมถึงใช้ช่วงจังหวะนี้เปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ และยังถือว่าเป็นช่วงโอกาสในการปรับการการผลิต แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นก็จะสามารถปรับราคาขายได้" นายปกรณ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us