|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จับตายุทธศาสตร์ "ศุภชัย เจียรวนนท์" กับการปลุกปั้นกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นสู่การเป็นแพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์ที่จะเข้ามาเติมเต็มรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ผ่านกระบวนการคอนเวอร์เจนสินค้าและบริการภายใต้กลุ่มทรูฯ ที่จะพัฒนารูปแบบในลักษณะของการเป็นแอปพลิเคชั่นเพื่อเข้าถึงใจกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด
คนในปัจจุบันบริโภคไลฟ์สไตล์ จุดนี้ทำให้กลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นนำมาเป็นแนวทางธุรกิจที่จะนำพาสินค้าและบริการของกลุ่มทรูฯ เข้ามาเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้กับกลุ่มลูกค้า จน ศุภชัย เจียรวนนท์ ได้ประกาศในวันที่แถลงเกี่ยวกับทิศทางและนโยบายการดำเนินของปี 2551 ว่า "ทรูจะเป็นแพลตฟอร์มที่จะทำให้สังคมเข้าหกันได้มากขึ้น"
คำประกาศดังกล่าวถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของกลุ่มทรูฯ ที่กำลังจะมุ่งพัฒนาสินค้าและบริการไปในแนวทางดังกล่าว หลังจากทรูฯได้มีการปรับปรุงบุกเบิกและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนวันนี้ส่งผลให้องค์กรที่เคยมีผลการดำเนินงานย่ำแย่ เติบโตขึ้นมาเทียบเคียงยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมสื่อสารไทยได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
"วันนี้ในแง่รายได้ทรูอาจเรียกได้ว่าเทียบเสมอกับทีโอที ส่วนในแง่ผลกำไรเราก็สูสีกับดีแทค" ศุภชัยได้กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกับแนวโน้มทางธุรกิจของกลุ่มทรูฯ
ความสำเร็จของกลุ่มทรู ณ วันนี้ ส่วนสำคัญเป็นผลจากความสำเร็จกับแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจน เนื่องจากกลุ่มทรูฯ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า รวมทั้งขยายขีดความสามารถในการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของคนในสังคมได้มากยิ่งขึ้น อาทิ แคมเปญ All Together Bonus แพกเกจ TrueLife Free View และซูเปอร์ไฮสปีดอินเทอร์เน็ต
การคอนเวอร์เจนดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มทรูฯได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค สามารถขยายฐานลูก้าได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีกลุ่มลูก้าที่ใช้บริการสินค้าและบริการในเครือทั่วประเทศครอบคลุมมากกว่า 7.1 ล้านครัวเรือน และมีผู้ใช้บริการของกลุ่มทรูมากกว่า 1 บริการจำนวน 1.2 ล้านครัวเรือน
การขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มทรูฯในปี 2551 จึงยังคงเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของการคอนเวอร์เจน ที่จะมีการลงลึกในโปรดักส์แต่ละตัวให้กลายเป็นแอปพลิเคชั่นที่เข้าถึงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น ด้วยการอาศัยสินค้าและบริการทั้งจากทรูมูฟ ทรูออนไลน์ ทรูมันนี่ ทรูวิชั่น และทรูไลฟ์ มาผนวกรวมกันให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจมากที่สุด
"เราคิดเสมอว่าเรื่องคอนเวอร์เจนขั้นต่อไปจะทำอะไร เราต้องเข้าไปในแอปพลิเคชั่นที่จะตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้า อย่างล่าสุดกับการเปิดตัวทรูวิชั่นซิม"
การเดินหน้าสานต่อยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนจะนำเสนอนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยมุ่งเน้นตอบโจทย์ความสนใจเฉพาะด้าน เรื่องเซกเมนต์เทชั่นเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงคอมมิวนิตี้ได้อย่างสะดวกสบาย และสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์มใด และที่สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพระบบโครงข่ายทั้งมีสายและไร้สาย และเน้นการให้บริการ
ศุภชัย ได้วางแนวทางยุทธศาสตร์ในปีนี้ให้กับกลุ่มทรูด้วยอักษรย่อ 3 ตัว ได้แก่ I N และ S ความหมายในแต่ละตัวนั้น I คือเรื่องของอินเทรนด์ ที่ทรูจะมีการนำอินโนเวชั่นสร้างนวัตกรรมใหม่มานำเสนอสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น TVR HDTV RFIDSIM และอื่นๆ ที่กำลังจะทยอยเปิดตัวออกมา
ในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ของกลุ่มทรูฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการสื่อสาร เพื่อบริโภคข้อมูลข่าวสาร สาระ และบันเทิง นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องคอนเทนต์ สำหรับกลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์เดียวกัน สร้างชุมชนที่มีความสนใจและต้องการบริการและความหลากหลายคล้ายๆ กัน หรือที่เรียกว่าคอมมูนิตี้ โดยมีนวัตกรรมด้านการเงินเพื่อเสริมโอกาสในการแลกเปลี่ยนคุณค่าที่เรียกว่าคอมเมิร์ซ ซึ่งบริการทั้งหมดถือเป็นการเพิ่มสิทธิพิเศษให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบาย ทั้งการใช้งานและสามารถสื่อสารทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
N คือเรื่องของการพัฒนาเน็ตเวิร์ก โดยทางทรูมูฟจะมีการลงทุนสร้างเครือข่ายให้มีความครอบคลุมขึ้นอีกกว่า 1,000 จุด จากที่มีอยู่แล้วประมาณ 6,000 จุด ส่วนเรื่องของการพัฒนาบรอดแบนด์นั้น จะมีการลงทุนเพิ่มจุดฮอตสปอตอีก 1 หมื่นจุด มีแผนที่จะลงทุน 3G ไวแม็กซ์ และโมบายทีวี นอกจากนี้ในส่วนของทรูวิชั่นที่ให้บริการระบบเคเบิ้ลทีวี จะมีการขยายเพิ่มช่องให้สามารถบริการได้มากกว่า 100 ช่อง
และสุดท้ายตัว S คือเรื่องของเซอร์วิส กลุ่มทรูฯได้มีการลงทุนคอนเวอร์เจนเซอร์วิสแพลตฟอร์มให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มจุดจ่ายชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ศุภชัย ยังได้มีการเปิดมุมมองถึงอุตสาหกรรมการสื่อสารในปีนี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่จะมีผลต่อผู้ให้บริการทุกราย โดยมุมมองของศุภชัย มองว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้นั้น ภูมิภาคเอเชียยังเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในการเติบโตต่อเนื่อง การเผชิญกับสภาวะวิกฤตด้านพลังงานจะทำให้ระบบสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของแต่ละคนมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดการใช้พลังงานในการเดินทาง อำนวยความสะดวกในการติดต่อธุรกิจ การหาความรู้ รวมไปถึงการพักผ่อน
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น ศุภชัยเห็นว่าการมีรัฐบาลใหม่และนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งเสถียรภาพของรัฐบาล จะเป็นตัวแปรสำคัญของอุตสาหกรรมด้านการสื่อสาร รวมไปถึงการควบคุมกำกับดูแล และการออกใบอนุญาตประกอบการใหม่ๆ เช่น 3G รวมทั้ง Frequency รวมทั้งการเปิดเสรีโทรคมนาคม
ส่วนเรื่องการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มทรูฯ มองว่าทุกค่ายจะมุ่งรักษาฐานลูกค้าเดิมเป็นหลัก พร้อมทั้งมีการขยายฐานลูกค้าใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มพรีทีนและกลุ่มลูกค้าตลาดต่างจังหวัด ที่ยังมีสัดส่วนความต้องการอีกมาก นอกจากนี้ผู้ให้บริการแต่ละรายจะมีการลงทุนด้านต่างๆ ทั้งด้านโครงข่าย รวมถึงการลงทุนด้าน 3G หากหน่วยงานที่กำกับดูแลมีการออกใบอนุญาตใหม่
|
|
|
|
|