|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติพร้อมชี้แจงถึงความจำเป็นในการใช้มาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% ให้ขุนคลัง "เลี๊ยบ" ในสัปดาห์นี้ ชี้ข้อดีเงินทุนไหลเข้าและออกสมดุลมากขึ้น เงินบาทแข็งค่าลดลงจาก 17% เหลือ 7% ขณะที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้าลดลงจาก 1.3 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 49 เหลือเพียง 2.7 พันล้านเหรียญ มั่นใจหากกระทรวงการคลังเห็นข้อมูลลับจะไม่ยกเลิกมาตรการฯ
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเตรียมพร้อมเข้าชี้แจง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่าสัปดาห์นี้ผู้บริหารแบงก์ชาติจะเข้าไปชี้แจงและหารือกับกระทรวงการคลังถึงความชัดเจนของมาตรการกันสำรอง 30% รวมทั้งบทบาทการทำหน้าที่ของแบงก์ชาติว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลตัวเลขที่มีบางส่วนทางคลังยังไม่รู้ เพื่อให้เข้าใจข้อมูลมากขึ้น และถ้าเมื่อใดมีการยกเลิกอาจจะได้รับผลกระทบ ซึ่งเชื่อว่าท้ายที่สุดอาจมีความเป็นไปได้ที่จะตัดสินใจไม่ยกเลิกมาตรการนี้
นางผ่องเพ็ญย้ำว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงการคลังต้องชั่งน้ำหนักดูว่า เมื่อยกเลิกแล้วจะคุ้มหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวนมาก แต่หลังจากใช้มาตรการกันสำรอง30% สำหรับเงินทุนนำเข้าระยะสั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสกัดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจนส่งผลให้ค่าเงินมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ขณะเดียวกันช่วยดูแลให้เงินที่เข้ามาจากการลงทุนจริงๆ ถือเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาสร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจไทยต่อไปด้วย ดังนั้น มาตรการกันสำรองนี้ช่วยให้เงินทุนไหลเข้าออกไทยมีความสมดุลมากขึ้น
บาทแข็งน้อยลงจาก 17% เหลือ 7%
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.ได้ออกมาตรการกันสำรอง 30% ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าน้อยลงเหลือ 7% เทียบกับก่อนมีมาตรการ คือ ทั้งปี 49 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 17% และเป็นการแข็งค่าขึ้นมากว่าทุกสกุลในภูมิภาค นอกจากนี้นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 2% ถือว่าดูแลค่าเงินบาทให้สอดคล้องไปกับค่าเงินในเอเชีย และภาคการผลิต การส่งออกได้มีการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นทั้งการกระจายตลาด และการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ยอดเงินไหลเข้าลดลงชัดเจน
นับตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมาไทยมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าทั้งสิ้น 13,616 ล้านเหรียญ ซึ่งนอกจากจะหาผลประโยชย์จากการลงทุนแล้วยังเข้ามาเก็งกำไรจากค่าเงินบาทด้วย แต่หลังจากออกมาตรการกันสำรองเงินทุนไหลเข้าลดลงเหลือเพียง 2,754 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดในช่วง 11 เดือนของปี 50 ที่ผ่านมา ซึ่งการลงทุนที่ได้รับการยกเว้นการกันสำรองส่วนใหญ่มีเงินทุนไหลเข้ามาตามปกติไม่ได้หวือหวาเหมือนเมื่อก่อน และตรงกันข้ามหากพิจารณาตัวเลขการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่ง ธปท.ยังคงมาตรการนี้อยู่เหตุจากนักลงทุนต่างชาติพักเงินไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการจำกัดวงเงินบาทในบัญชี NRBA ทำให้ในปี 49 นักลงทุนต่างชาติแห่กันพักเงินไว้จำนวนมากและถอนเงินทุนกลับไปแค่ 711 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับ 11 เดือนแรกของปี 50 นักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนลักษณะนี้ถึง 5,611 ล้านเหรียญ ถือว่ามาตรการนี้ใช้ได้ผลลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าจากเงินตราต่างประเทศที่ไหลทะลักเข้ามามาก.
แฉผ่อนปรนจนมาตรการเหลือแต่ชื่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้จะมีมาตรการนี้ยังอยู่ แต่จากการที่ ธปท.ผ่อนปรนมาเป็นระยะๆ ทำให้ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวเหลือน้อย เริ่มจากการผ่อนคลาย การสกัดเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในลักษณะเข้ามาเก็งกำไรจากค่าเงินมากกว่าที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนแบบทั่วไป ควบคู่กับผ่อนคลายให้นักลงทุนไทยหันไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ถือเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทยด้วย
โดยตั้งแต่วันแรกที่มาตรการนี้มีผลบังคับใช้ ธปท.ได้ยกเลิกมาตรการนี้กับการลงทุนในหลายประเภท โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น แต่ก็ต้องผูกผ้าแดงด้วยการนำเงินลงทุนนี้เข้าบัญชีพิเศษที่เรียกว่า “บัญชี SNS” ด้วย ถือเป็นการจับตาการลงทุนในหุ้นไปด้วย นอกจากนี้ยังยกเว้นให้กับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การรับซื้อเงินตราต่างประเทศที่มีจำนวนต่ำกว่า 2 หมื่นเหรียญ รวมทั้งขยายยอดคงค้างในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (บัญชี NRBA)ไม่เกิน 300 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับเงินบาทในบัญชี SNS อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคงมาตรการนี้กับการลงทุนตราสารหนี้และหน่วยลงทุนของกองทุนรวม รวมทั้งธุรกรรมที่ไม่มีการค้า การลงทุนในไทยรองรับต่อไป
ต่อมา ธปท.ได้เพิ่มทางเลือกใช้วิธีป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนกับสถาบันการเงินในไทยเท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการลงทุน (Fully Hedge) แทนการกันสำรองได้ และยังยกเลิกการกันสำรองในส่วนของการชำระหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ตามภาระค้ำประกันให้บุคคลในไทยด้วย และขยายเวลาต้องส่งเงินออกภายใน 3 วัน สำหรับบัญชี NRBA และเงินบาทเข้าบัญชี มูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านบาท ไม่ต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการ เช่นเดียวกับบัญชี SNT สำหรับชำระเงินบาทค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ซึ่งมียอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันไม่เกิน 100 ล้านบาท
ยังมีการคลายกฎให้นักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมทุกประเภท ยกเว้นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ใช้วิธี Fully Hedge แทนการกันสำรอง โดยผู้ที่นำเงินเข้ามาจะต้องป้องกันความเสี่ยงผ่านการทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (FX Swap) หรือการซื้อขายข้ามสกุลเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Cross Currency Swap) ที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปกับธนาคารที่เป็นคัสโตเดียนหรือผู้รับฝากตราสารและให้ต่ออายุสัญญาของธุรกรรมสวอปให้มีอายุสอดคล้องกับระยะเวลาที่ถือเงินลงทุน
ทั้งนี้หากสวอปครบกำหนดจะต้องนำเงินบาทมาชำระในวันครบสัญญาห้ามใช้วิธีหักล้างผ่านตราสารอื่น (Unwind Swap) รวมทั้งต้องแยกเงินลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุนเข้าบัญชี SND โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นวันไม่เกิน 300 ล้านบาท และให้ผู้ถือครองตราสารหนี้สามารถเปลี่ยนเป็นประเภทอื่นได้ แต่ต้องนำเงินลงทุนอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 3 เดือน
นอกจากนี้ ธปท.ได้ยกเลิกกันสำรองและการทำ Fully Hedge ในส่วนของหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศของภาคธุรกิจ โดยนิติบุคคลไทยนำเงินกู้ยืมในรูปเงินตราต่างประเทศมาขายรับบาทในจำนวนตามสัญญาเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านเหรียญ ซึ่งกำหนดอายุการกู้ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป และเงินกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากการค้า บริการจากต่างประเทศในอนาคต เพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้ดังกล่าวได้เต็มจำนวน (Natural Hedge) ให้ยื่นขออนุญาตธปท.รายกรณีพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กำหนด รวมทั้งยังยกเลิก30%และการทำ Fully Hedge แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์กองเดิมนำเงินตราต่างประเทศมาขายรับบาท เพื่อชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กองเดิมที่ออกขายเพิ่มเติม ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าว ณ วันปิดสมุดทะเบียนก่อนการขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
บุคคลในประเทศฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศได้ในวงเงินที่เพิ่มขึ้น โดยผู้มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศฝากได้ไม่จำกัดจำนวนและไม่ต้องแสดงภาระผูกพัน ส่วนแหล่งเงินจากในประเทศไม่ว่าจะเป็นการนำเงินบาทมาซื้อ แลกเปลี่ยน หรือกู้ยืมกับสถาบันการเงินในประเทศเป็นรูปเงินตราต่างประเทศ ในกรณีไม่มีภาระผูกพันฝากได้ไม่เกิน 1 แสนเหรียญ สำหรับบุคคลธรรมดา และ 3 แสนเหรียญ สำหรับนิติบุคคล กรณีลูกค้ามีภาระผูกพันไม่ต้องกำหนดเวลาให้ฝากได้ไม่เกิน 1 ล้านเหรียญ สำหรับบุคคลธรรมดา และ100 ล้านเหรียญ สำหรับนิติบุคคล ทั้งนี้ หากบุคคลในประเทศต้องการฝากเงินตราต่างประเทศเกินกว่าวงเงินที่กำหนดดังกล่าว จะฝากได้อีกไม่เกินยอดรวมของภาระผูกพันภายใน 12 เดือน
ขณะเดียวกันบุคคลในประเทศลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศได้มากขึ้น โดยบริษัทแม่หรือลูกในไทยสามารถลงทุนหรือให้กู้แก่บริษัทในเครือในต่างประเทศได้รวมกันไม่เกิน 100 ล้านเหรียญต่อปี ส่วนบริษัทจดทะเบียนในไทยเช่นกันให้กู้แก่บริษัทในเครือต่างประเทศไม่เกินกรณีละ 100 ล้านเหรียญต่อปี และหากลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน พร้อมทั้งยังเพิ่มวงเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศไม่เกิน 5 ล้านเหรียญต่อปี จากเดิมไม่เกิน 1 ล้านเหรียญ และล่าสุดธปท.ปรับกฎให้บุคคลในประเทศที่มีรายรับเงินตราต่างประเทศต้องนำเงินเข้าประเทศภายใน 360 วัน จากเดิม 120 วัน
|
|
|
|
|