Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 กุมภาพันธ์ 2551
วีระศักดิ์ปรับเป้ารายได้ท่องเที่ยวเพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

   
search resources

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
Tourism




รมว.ท่องเที่ยวคนใหม่ เล็งปรับเป้ารายได้ปีนี้เป็น 8 แสนล้านบาท ระบุ 3 ปัจจัยเอื้อประโยชน์ให้ถึงฝันทั้งเทรนด์การท่องเที่ยว วิกฤตซับไพร์มและการบริหารจัดการ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนแบบเมกกะโปรเจก เร่งสร้างความเชื่อมั่นด้วยนโยบายที่ชัดเจน เป่ามนต์สถาบันการเงินเคลิ้ม ปล่อยกู้ให้แก่ภาคเอกชนในอุสาหกรรมนี้ ด้านตลาดคนไทย เน้นด้านคุณค่า ระบุทุกชนชั้นมีสิทธิเที่ยว พร้อมเตรียมตั้ง ก.ร.อ. ประสานการทำงานรัฐเอกชนไปในทิศทางเดียวกัน ยันไม่แทรกแซงการตรวจสอบคดีทุจริตสินบนบางกอกฟิล์ม ส่วนกรณีเงินโบนัสต้องหารทางแก้ร่วมกัน

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภายหลังการเดินทางมารับหน้าที่ ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ในส่วนของภาคงานด้านการท่องเที่ยว มีแนวคิดว่า น่าจะมีการปรับประมาณการณ์ตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวจากลาดต่างประเทศในปีนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 8 แสนล้านบาท จากที่ ททท.วางเป้าหมายไว้ที่ 6 แสนล้านบาท หรือปรับขึ้นอีก กว่า 30% โดยจะเน้นเรื่องของนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ และ การเพิ่มวันพักให้นานขึ้น แต่ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องปรับสินค้าและบริการให้เหมาะกับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้

วิกฤตซับไพร์มแหล่งเงินทะลักเข้าไทย

ปัจจัยที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายรายได้ดังกล่าวมี 3 ประเด็นหลัก ที่สำคัญ คือ 1.เทรนด์การท่องเที่ยวโลกเปลี่ยนแปลง นิยมเดินทางระยะใกล้ขึ้น ซึ่งตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายสูงก็ไม่ไกลประเทศไทย เช่น จีน อินเดีย และ ตะวันออกกลาง แประเทศไทย ต้องสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย และ การนำเสนอสินค้าท่องเที่ยวในแต่ละฤดูกาลให้เหมาะแก่ตลาด 2. ปัญหาซับไพร์มที่เกิดในสหรัฐ ทำให้ตลาดการลงทุนหนีออกมาหาแหล่งใหม่ๆ เพื่อให้เงินที่มีอยู่ได้ทำงาน โดยการให้สินเชื่อกับสถาบันการเงินในประเทศที่มีศักยภาพ ซึ่ง กระทรวงฯจะใช้โอกาสนี้ หาแหล่งเงินกู้ให้แก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เน้นกลุ่มเอสเอ็มอี และ 3. การบริหารจัดการทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้วหรือทุนทางท่องเที่ยว ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น เทศกาลงานประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้าน อัธยาศัย และ สถานที่ โดยใช้ช่องว่างเรื่องของความ ศรัทธา มาปรับเป็นกลยุทธ์ทางการลาด เช่น ประเพณีลอยกระทง ขอขมาพระแม่คงคา และลอยความทุกข์ให้ออกไป ซึ่งการลงทุนเมกกะโปรเจค ที่ใช้เงินลงทุนสูง จะไม่จำเป็นมากนัก

ด้านตลาดในประเทศ เน้นเรื่องการให้คุณค่าแก่สังคม เพิ่มทางเลือกของการพักผ่อนให้แก่คนไทยแบบมีประโยชน์ ที่มากกว่าการเที่ยวสวนสนุกหรือเดินชอปปิ้ง ครอบคลุมทุกเซกเมน์ ทุกชนชั้น โดยจะร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ในราคาที่จับต้องได้ รงนี้ถ้าทำสำเร็จจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

“เราจะมองภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เป็น 2 ขา คือ คุณค่า และ มูลค่า ซึ่งคุณค่าจะใช้กับตลาดคนไทย มุ่งให้ประชากรกว่า 60 ล้านคนในประเทศได้ท่องเที่ยวทุกชนชั้นทุกเซ็กเมนต์ ทั้ง คนแก่ เด็ก คนพิการ และคนวัยทำงาน โดยจะเกิดการท่องเที่ยวในทุกตลาดตั้งแต่ระดับล่างแบบฉิ่งฉับทัวร์ ถึงระดับไฮเอน ด้วยราคาที่ทุกคนเที่ยวได้ เพื่อให้สังคมเกิดความสุข และการท่องเที่ยวของคนไทย จะช่วยเรื่องของเศรษฐกิจชุมชนด้วย ส่วนด้านมูลค่า จะมุ่งในตลาดต่างประเทศ เน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ นักท่องเที่ยวพำนักนาน ชูประเทศไทยเป็นเวิร์ลคลาสเดสติเนชั่น หยิบจุดขายด้านประเพณีวัฒนธรรมให้เกิดการจดจำ แต่ต้องพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการไปพร้อมกันให้เพียงพอรองรับด้วย”

ดันถ่ายหนังในไทยโปรโมท่องเที่ยว

นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า ภาระกิจของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะสามารถนำเชื่อมต่อได้อีกหลายมิติ ทั้งด้างสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น และ สามารถแตกออกเป็นเรื่องของนันทนาการได้อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีกระทรวงใดรับผิดชอบดูแล ดังนั้น การทำงานของกระทรวงฯจะขยายผลให้ครอบคลุมถึงด้านนันทนาการด้วย สำหรับงานท่องเที่ยวจะต้องทำทั้งเชิงกว้างคือการทำตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ ส่และเชิงลึก ซึ่งตรงนี้การสนับสนุนอุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย จะเป็นการโปรโมตประเทศไทยในเชิงลึกได้ดี องทำนโยบายด้านนี้ให้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่กองถ่ายทำ และคนกลุ่มนี้ก็จัดเป็นนักท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ เพราะมาอยู่นานเฉลี่ยเกิน 7 วัน หรือเป็นเดือน มีการใช้จ่ายสูง ประเทศไทยก็ได้โปรโมตแหล่งท่องเที่ยวจากแผ่นฟิล์ม

สร้างความเชื่อมั่นกล่อมสถาบันการเงินปล่อยกู้

ในเรื่องการหาแหล่งเงินทุน ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดแก่สถาบันการเงินผู้ปล่อยเงินกู้ โดยมั่นใจว่า หากรัฐบาลมีนโยบายด้านท่องเที่ยวที่ชัดเจน แสดงให้สถาบันการเงินเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความเสี่ยงต่ำ มีรีเทิร์นสูง เขาก็จะกล้าปล่อยเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ให้สถาบันการเงินมองท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่มีอนาคตมีความมั่นคง เหมือน ธุรกิจส่งออก โดยตรงนี้ กระทรวงฯจะเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐาน ที่จะเป็นสิ่งการันตีอย่างหนึ่ง พร้อมช่วยประสานงานหาแหล่งเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มนี้

นอกจากนั้น ยังมีแนวคิดจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนด้านท่องเที่ยวหรือ ก.ร.อ. โดยจะมีทั้ง ก.ร.อ.ด้านท่องเที่ยว และ ก.ร.อ.ด้านกีฬา เพื่อใช้เป็นเวทีการพูดคุยถึงปัญหา แนวทางการแก้ไข วิธีการคุยแบบมิตรภาพ ไม่ใช่อำนาจ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน เป็นการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์จากนี้ไป ออกตรวจเยี่ยมหน่วยงานที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยว และการพบปะภาคเอกชน ก่อนนำมาสรุปเป็นแผนการทำงาน เพื่อใช้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร์ เพราะเมื่อเป็นนโยบาย รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณมาให้ดำเนินการแน่นอน

ยันไม่แทรกแซงคดีสินบน

นายวีระศักดิ์ กล่าวถึง คดีรับสินบนของโครงการบางกอกฟิล์ม ว่า จะให้ความร่วมมือและเร่งสานงานต่อให้สรุปคดีได้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และ จะไม่แทรกแซงกระบวนการทำงานใดๆทั้งสิ้น ส่วนกรณีกฤษฎีกา ตีความเรื่องให้ ททท.ต้องคืนเงินโบนัสที่แจกให้พนักงาน ททท.ในช่วงปี 2546-2548 วงเงินกว่า 150 ล้านบาท รงนี้รู้สึกเห็นใจ พนักงาน ททท. ซึ่งทางแก้ ควรให้ทุกฝ่ายหารือร่วมกัน พิจารณาทั้งหลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ด้านบริษัทไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด หรือ ทีแอลเอ็ม ก็ต้องพิจารณาให้รอบครอบ โดย ซึ่งตามหลักธุรกิจต้องไม่ผูกขาด ภาครัฐเป็นฝ่ายสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว โดยเขามีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้บริการเอง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ต้องศึกษามติ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น แล้วนำมาพิจารณาตอกย้ำลงไปก่อนตัดสินใจ วิธีการทำงานจะพิจารณาตามลำดับความสำคัญ โดยจะมีการประชุมผู้บริหารกระทรวงฯทุกเดือน เพื่อติดตามงานและทบทวนการทำงาน ส่วนการบ้านที่ให้กระทรวงไปดำเนินการ คือการทำบัญชีแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ พร้อมจัดหมวดหมู่แหล่งท่องเที่ยวให้เสร็จภายใน 1 เดือน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us