Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535
"ดอกเบี้ยแพงขึ้นเพราะความเสี่ยงประเทศสูงขึ้น"             
 


   
search resources

International
Loan




"สถาบันจัดลำดับความเสี่ยงของสหรัฐฯ เช่น สแตนดาร์ด แอนด์พัว และมูดี้เตรียมจะมีการปรับลดลำดับสินเชื่อ (CREDIT RATING) ของประเทศไทยในช่วงปลายปีนี้ อันเนื่องมาจากความผันผวนทางการเมือง "พฤษภาทมิฬ" ช่วงเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้รัฐบาลและบริษัทธุรกิจไทยหนาว ๆ ร้อน ๆ ไปตามกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมต่างประเทศคาดว่าปรับตัวสูงขึ้นถึง 0.25-0.5%"

ลำดับความเสี่ยงประเทศไทยเวลานี้

COUNTRY RISK เป็นตัวบ่งบอกว่า หลักทรัพย์ไทยที่จะนำไปจำหน่ายในต่างประเทศการกู้เงิน, การค้า ตลอดจนการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ค่าของ COUNTRY RISK สามารถจัดลำดับได้โดยที่สถาบันจัดลำดับ COUNTRY RISK มีอยู่หลายสถาบันในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ทั้งนี้มีสถาบันที่เป็นที่น่าเชื่อถือในระดับโลกอยู่ 2 สถาบันคือ STANDARD'S&POOR (S&P) และ MOODY'S แห่งสหรัฐอเมริกา

ทั้ง 2 สถาบันได้จัดตั้งมาเกือบ 100 ปีแล้ว และเป็นที่ยอมรับในการจัดลำดับมาโดยตลอด ด้วยเหตุผลที่ว่าผลการจัดลำดับมีความถูกต้องตามความเป็นจริงมาก

ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการจัดลำดับจาก S&P ให้มีความน่าเชื่อถือสำหรับเงินกู้ระยะยาวในระดับ A- (ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับสูงกว่าปานกลาง) ความน่าเชื่อถือสำหรับเงินกู้ระยะสั้นในระดับ A-1 (ระดับความปลอดภัยสูงมาก)

ส่วน MOODY'S จัดประเทศไทยอยู่ในระดับ A2 (ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับสูงกว่าปานกลาง) สำหรับเงินกู้ระยะยาว และ P-1 (มีศักยภาพสูงในการชำระหนี้คืน) สำหรับเงินกู้ระยะสั้น (พิจารณาตารางแสดงการจัดลำดับสถานทางการเงินของ S&P MOODY'S ประกอบ)

ความน่าเชื่อถือ

การประเมินอัตราความเสี่ยงสำหรับแต่ละประเทศในโลกนี้มีหลักการพิจารณาอยู่ 2 ส่วนหลักคือ 1. ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะรวมทั้งความสามารถในการหาเงินมาได้และความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งในรายละเอียดของการวิเคราะห์ จะต้องดูการเติบโตของแต่ละภาคเศรษฐกิจ, โครงสร้างประชากร, ดุลการค้า, ดุลบัญชีเดินสะพัด, อัตราเงินเฟ้อ และนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นต้น 2. ความเสี่ยงด้านการเมืองจะรวมไปถึงระบอบการปกครองประเทศ เสรีภาพทางการเมือง, เสถียรภาพของพรรคการเมือง, นักการเมือง, นโยบายของรัฐบาล และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นต้น

ทั้ง 2 ส่วนนี้จำต้องพิจารณาร่วมกันไป จะเน้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ และจากการใช้ข้อมูลทั้งด้านปริมาณ (ตัวเลขสถิติต่าง ๆ ) และคุณภาพ (นโยบายต่าง ๆ แนวความคิดผู้บริหาร เป็นต้น) จะทำให้ความเบี่ยงเบนของข้อมูลมีน้อยลง

เพื่อให้การจัดลำดับมีความถูกต้องมากขึ้น สถาบันจัดลำดับเช่น S&P หรือ MOODY'S จึงให้มีการ UP DATE ลำดับเป็นประจำทุกปี แต่หากประเทศใดมีการเปลี่ยนแปลงภายในที่มีผลต่อสถานะทางการเมือง และเศรษฐกิจอย่างมากแล้ว การ UP DATE นี้ก็จะสามารถทำได้ทันที และจะนำเสนอแก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ทั่วโลกในรูปของจดหมายข่าว

ในกรณีของประเทศไทย เมื่อมีความผันผวนทางการเมืองอย่างมากในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา S&P ก็ให้ความสำคัญและได้เดินทางเข้ามาดูสถานการณ์เพื่อนำไปปรับลำดับให้เหมาะสมตามความเป็นจริง ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง การะทรวงการคลังต้องออกมาชี้แจงว่า สถานการณ์ยังไม่เลวร้ายจนถึงขั้นลดลำดับความน่าเชื่อ หากแต่เป็นการ "จับตา" (WATCH LIST) เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่ได้มีการปรับลดเครดิตเรตติ้งสถาบันการเงินต่างประเทศบางแห่งที่เป็นเจ้าหนี้ของไทย ก็ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไปแล้วถึง 0.25%

ดอกเบี้ยแพงขึ้น 0.25%-0.5%

นักการเงินหลายท่านได้ให้ความเห็นตรงกันว่าผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับลดเครดิตเรตติ้งที่แท้จริงนั้น ก็คือผู้ที่กำลังจะขอกู้ยืมเงินจากต่างประเทศหรือกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเงื่อนไขการกู้ยืมเงิน เนื่องจากผู้ให้กู้ยืมมองเห็นถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชดเชยกัน

นอกจากนี้ ผู้กู้ยืมเงินจากต่างประเทศที่ต่ออายุสัญญาใหม่ หรือผู้กู้ที่มีเงื่อนไขการกู้ยืมเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ก็จะได้รับผลกระทบถัดมา ผู้ที่โชคดีที่สุดเห็นจะเป็นผู้ที่ทำสัญญากู้ยืมระยะยาว ด้วยอัตราดอกเบี้ยตายตัว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินที่ให้กู้ว่าจะขอเจรจาในเงื่อนไขกู้ยืมใหม่หรือไม่

หากพิจารณาปริมาณการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ของไทยสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีอัตราเติบโตของเงินกู้ยืมในอัตราเฉลี่ยถึงปีละ 47%

ในปี 2534 ภาคเอกชนมีปริมาณการกู้ยืมจากต่างประเทศสูงถึง 20,570 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าภาครัฐบาลเกือบเท่าตัว แต่โครงสร้างเงินกู้ยืมภาคเอกชนแบ่งเป็นระยะสั้น และระยะยาวในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง ขณะที่ภาครัฐบาลจะเป็นการกู้ยืมระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ถึง 90%

จึงอาจกล่าวได้ว่า ในระยะนี้หากมีการเจรจาต่ออายุเงินกู้ยืม ภาครัฐบาลจะได้รับผลกระทบมากกว่าภาคเอกชน นิพัทธ พุกกะณะสุต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงว่ารัฐบาลจะมีต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 5,000 ล้านบาท ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสูงขึ้นอีก 0.5% แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าในอนาคตอันใกล้คือ ปลายปี 2535 และต้นปี 2536 ภาคเอกชนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินกู้ยืมจากต่างประเทศสูง โดยเฉพาะโครงการใหญ่ ๆ เช่น โครงการโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมาย, โครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมาย, โครงการรถไฟฟ้า กทม.,โครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน,โครงการรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ และโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ เป็นต้น

ฉะนั้นในช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ภาคเอกชน กำลังอยู่ในระหว่างการเสาะหาแหล่งเงินกู้ของตนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25%-0.5% ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบกับมูลค่าโครงการหลายหมื่นล้าน

ปรับแผนดีกว่าชะลอโครงการ

สำหรับโครงการใหญ่ ๆ การหาแหล่งเงินทุนของโครงการจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

หนทางแรกที่ทำได้ง่ายที่สุด คือการชะลอโครงการ รอให้สถานการณ์อยู่ในภาวะปกติจึงเจรจากู้ยืมอีกครั้ง แต่สำหรับที่ปรึกษาทางการเงินที่มีความเชี่ยวชาญแล้วมักจะเลือกที่จะปรับแผนการเงินมากกว่า วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณอินเวสเม้นท์ อดีตเคยเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย ได้ให้ความเห็นว่า "ในกรณีที่เงินกู้จากต่างประเทศมีต้นทุนสูงขึ้น จะแนะนำเจ้าของโครงการให้ชะลอการหาเงินจากต่างประเทศ เพราะในช่วงต้นโครงการมักจะยังไม่ใช้เงินมากนัก แหล่งเงินกู้ภายในจะสามารถช่วยได้ พอถึงจุดหนึ่งจึงค่อยเจรจาเงินกู้จากต่างประเทศ"

ส่วนปัญหาเรื่องสภาพคล่องภายในประเทศจะเป็นอย่างไร ถ้าหากทุกโครงการใหญ่หันมาระดมเงินภายในประเทศกันหมด ก็คงจะตอบได้ไม่ยากนักว่าแบงก์พาณิชย์ไทยก็จะต้องกู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้อีกทอดหนึ่ง โดยแบงก์พาณิชย์จะสามารถกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าโครงกาจะกู้โดยตรงเอง

สำหรับระยะสั้นนั้น สภาพคล่องของแบงก์พาณิชย์ในประเทศมีอยู่มากพอที่จะรองรับความต้องการในส่วนนี้ ขณะเดียวกันแบงก์พาณิชย์หลายแห่งก็ได้เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น 0.5% แล้วเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เพื่อที่จะได้มีความคล่องตัวในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นในอนาคต

การปรับลำดับความเสี่ยงของประเทศจึงมีผลเชื่อมโยงต่อสัญญาณการเปลี่ยนแปลงตลาดการเงินในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us