Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 กุมภาพันธ์ 2551
ปตท.ทุ่ม490ล.ซื้อPT.MARรุกธุรกิจปาล์ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
Oil and gas




ปตท.ฮุบกิจการบริษัท PT.MAR ที่ธุรกิจปลูกปาล์มและผลิตน้ำมันปาล์มในอินโดนีเซีย ใช้เงินลงทุน490 ล้านบาท ชี้เป็นโอกาสที่ดีที่นับวันความต้องการใช้น้ำมันปาล์มจะเพิ่มสูงขึ้น เผยได้ร่วมลงนามเอ็มโอยูหลักเกณฑ์การคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯกับกรมธนารักษ์แล้ว เตรียมเสนอขออนุมัติต่อบอร์ดปตท.และผู้ถือหุ้นต่อไป ระบุค่าเช่าพร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นจะอยู่ที่ 7.5% ต่อปี คิดเป็นเงิน 1,520 ล้านบาท

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เปิดเผยว่า ปตท.ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัท ปตท. กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ( PTTGE) ในประเทศสิงคโปร์ โดยปตท.ถือหุ้น 100% เพื่อเป็นตัวแทนในการลงทุนโครงการพัฒนาธุรกิจปาล์มและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย รองรับความต้องการในตลาดโลก ล่าสุด ทางปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่ได้ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อเข้าซื้อกิจการบริษัท PT. Mitra Aneka Rezeki (PT.MAR) ประเทศอินโดนีเซีย จากผู้ถือหุ้นเดิมของ PT.MAR ในสัดส่วน 95% คิดเป็นจำนวนเงินรวม 14.725 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 490 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัท PT.MAR ดำเนินธุรกิจปลูกปาล์มและผลิตน้ำมันปาล์มทางทิศตะวันตกของเกาะกาลิมันตัน โดยมีใบอนุญาตให้ดำเนินการปลูกปาล์มบนพื้นที่ประมาณ 14,000 เฮกตาร์ หรือประมาณ 87,500 ไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมการก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบขนาด 5-7 หมื่นตัน/ปี ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2554 - 2555 โดยผลผลิตที่ได้จะจำหน่ายให้กับผู้ซื้อในประเทศอินโดนีเซียและในตลาดโลก

การลงทุนครั้งนี้ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจของปตท.ที่นับวันความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบจะเพิ่มสูงขึ้นเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยตลาดหลักจะอยู่ในอินโดนีเซียและส่งออกในส่วนที่เกินความต้องการใช้ หากไทยเกิดขาดแคลนน้ำมันปาล์มดิบก็สามารถส่งเข้าไปจำหน่ายได้

นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินการซื้อกิจการ PT.MAR ครั้งนี้ ได้ดำเนินการผ่าน Kalimantan Thai PalmPte., Ltd. (KTP) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ โดยมีปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 100% ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา บริษัท ปตท. กรีน เอ็นเนอร์ยี่ได้ชำระเงินบางส่วน โดยผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท PT.MAR ได้โอนหุ้นจำนวน 95%ให้ปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ทางปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จะดำเนินการชำระเงินเพิ่มเติมตามสัญญาให้แก่ผู้ขาย โดยการชำระเงินงวดสุดท้ายอีกประมาณ 4-5 ล้านเหรียสหรัฐจะดำเนินการเมื่อ PT.MAR ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ ปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่จะใช้เงินทุนหมุนเวียนในการทำพัฒนาธุรกิจปาล์มอีกเฮกต้าละ 500-800 เหรียญสหรัฐ/ปี

ปัจจุบัน PT.MAR มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 5,000 ล้านรูเปี๊ยะห์อินโดนีเซีย หรือประมาณ 20 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 5,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000,000 รูเปี๊ยะห์อินโดนีเซีย ขณะที่บริษัทปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่ มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 40 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 942.5 ล้านบาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 เหรียญสิงคโปร์

แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การลงทุนซื้อกิจการโครงการพัฒนาธุรกิจปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียของปตท.ในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของปตท. ที่นับวันความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบริษัทย่อยของบมจ.ปตท.เคมิคอล คือ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตไบโอดีเซล(บี100)ขนาด 2 แสนตันและแฟตตี้แอลกอฮอล์ 1 แสนตัน ซึ่งใช้วัตถุดิบคือน้ำมันปาล์ม ที่ส่วนใหญ่จัดหาจากในประเทศ

โดยไบโอดีเซลที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ขายให้ปตท.และโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ คาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้จะสามารถเดินเครื่องจักรผลิตได้เต็มกำลังการผลิต 2แสนตัน จากนโยบายรัฐที่ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน ทำให้อนาคตจะเกิดโรงงานผลิตบี 100 มากขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเกินซัปพลายที่ผลิตได้ ก็จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ปตท.จะป้อนน้ำมันปาล์มดิบที่อินโดนีเซียเข้ามาจำหน่ายในไทยได้

เอ็มโอยูหลักเกณฑ์ค่าเช่าท่อก๊าซฯ

นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า กรมธนารักษ์และปตท.ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจการกำหนดหลักเกณฑ์การคิดค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์สินที่แบ่งแยกให้แก่กระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยกรมธนารักษ์และบริษัทฯจะใช้ข้อตกลงตามบันทึกความเข้าใจเป็นหลักการประกอบการทำสัญญาเช่าทรัพย์สินที่จะได้จัดทำขึ้น ซึ่งข้อตกลงตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะมีผลบังคับต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯและหรือผู้ถือหุ้นของบมจ.ปตท. ตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท และหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแล้วแต่กรณี

สำหรับข้อสรุปแนวทางการคิดค่าเช่าทรัพย์สินที่ได้ทำการแบ่งแยกมีสาระสำคัญดังนี้ 1. หลักเกณฑ์การคิดค่าเช่าทรัพย์สินที่แบ่งแยกให้กับกระทรวงการคลัง เป็นลักษณะของการแบ่งรายได้ โดยรายได้ค่าผ่านท่อที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลังเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณค่าเช่าจะคำนวณจากรายได้ค่าผ่านท่อที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีของท่อที่เกี่ยวข้องคูณสัดส่วนระยะทางของท่อที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง

2.อัตราค่าเช่าจะกำหนดเป็นอัตราขั้นบันได ดังนี้ รายได้ 0 - 3,600 ล้านบาท จะคิดอัตราค่าเช่า 5% รายได้ส่วนเพิ่มในช่วง 3,601 - 3,700 ล้านบาท คิดอัตราค่าเช่า 10% รายได้ส่วนเพิ่มในช่วง 3,701 - 3,900 ล้านบาท คิดอัตราค่าเช่า 15% รายได้ส่วนเพิ่มในช่วง 3,901 - 4,100 ล้านบาท คิดอัตราค่าเช่า 20% รายได้ส่วนเพิ่มในช่วง 4,101 - 4,300 ล้านบาท คิดอัตราค่าเช่า 25% รายได้ส่วนเพิ่มในช่วง 4,301 - 4,500 ล้านบาท คิดอัตราค่าเช่า 30% และรายได้ส่วนเพิ่มในช่วง 4,501 - 5,000 ล้านบาท คิดอัตราค่าเช่า 36%

โดยสัญญาเช่าดังกล่าวมีกำหนด 30 ปี และ ปตท.สามารถต่อสัญญาออกไปได้อีกคราวละ 30 ปี โดยภาระค่าเช่าต่อปีที่ ปตท.ต้องจ่ายให้กับกระทรวงการคลังจะต้องไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาท และสูงสุดไม่เกิน 550ล้านบาท

และ 3. อัตราค่าเช่าตามข้อ 2 จะคำนวณย้อนหลังนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่มีการแปลงสภาพการปิโตรเลียมฯ เป็น ปตท. โดยจากการคำนวณตัวเลขเบื้องต้นของ ปตท. คาดว่าค่าเช่าพร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึงสิ้นปี 2550 คิดเป็นเงินรวมประมาณ 1,520 ล้านบาท ซึ่งการจ่ายเงินงวดแรกจะทำได้หลังจากที่กรมธนารักษ์และ ปตท. ได้ลงนามสัญญาเรียบร้อยแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us