Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535
"สะพานเชื่อมโยงการค้าไทยแอฟริกาใต้"             
 


   
search resources

International
Jewelry and Gold




"เกียรติ" เป็นนักธุรกิจที่ผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมานานนับสิบปีหลังจากที่รับมรดกธุรกิจนี้จากพ่อ เมื่อเขาสำเร็จบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเซ้าเทิร์นแคลิฟอร์เนียสินค้าของเกียรติพึ่งตลาดส่งออกแถบสหรัฐอเมริกา และเอเชียเป็นส่วนใหญ่ขณะที่ทองคำและเพชร ซึ่งเป็นส่วนประกอบตัวเรือนและตัวอัญมณี นำเข้าจากศรีลังกาและฮ่องกง

เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมเกียรติเตรียมตัวที่จะร่วมเดินทางไปแอฟริกาใต้กับคณะพ่อค้าไทยที่จัดโดยหอการค้าไทย แต่เอาเข้าจริงเกิดไปไม่ได้เพราะพ่อป่วยหนัก

เกียรติเล่าให้ฟังว่าเขาอยากไปแอฟริกาใต้ เพราะทราบว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจมาก เนื่องจากมีทรัพยากรแร่ธาตุประเภทอัญมณีมากเขาคาดหวังว่าจะอาศัยแอฟริกาใต้เป็นแหล่งซื้อทองคำและเพชรดิบอีกแหล่งหนึ่ง

แอฟริกาใต้เป็นตลาดที่พ่อค้าไทยสนใจที่จะทำมาค้าขาย นานมาแล้วมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศที่เป็นตลาดดั้งเดิมทำให้พ่อค้าไทยมีความจำเป็นต้องพยายามเสาะแสวงหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อมารองรับการระบายสินค้าที่ส่งออกหรือเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนยังอุตสาหกรรมในประเทศของตน

ที่ผ่านมาพ่อค้าไทยค้าขายกับแอฟริกาใต้ ผ่านคนกลางซึ่งเป็นพ่อค้าสวิสและอังกฤษ เนื่องจากพ่อค้าไทยไม่ต้องการความเสี่ยงทางการเงินจากคู่ค้าในแอฟริกาใต้ และที่สำคัญรัฐบาลไทยเข้าร่วมแซงชั่นการค้าต่อแอฟริกาใต้ตามมติของสหประชาชาติ จึงห้ามพ่อค้าไทยค้าขายกับแอฟริกาใต้โดยตรง

ยกตัวอย่าง บริษัทไร์ซแลนด์อินเตอร์เนชั่นแนล ของวิชัย ศรีประเสริฐ ค้าขายข้าวนึ่งกับแอฟริกาใต้และประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตกมานานหลายปีโดยผ่านบริษัทของพ่อค้าคนกลาง สวิส ฝรั่งเศล "เราขายผ่านคนกลางมันไม่เสี่ยงถึงจะต้องเสียส่วนกำไรไปบ้างเพื่อเป็นค่าคอมมิชชั่นก็ยังคุ้ม" คนในไรซ์แลนด์เล่าให้ฟังวิธีการค้ากับแอฟริกาใต้ภายใต้บรรยากาศการแซงชั่น

เกษตรรุ่งเรืองพืชผลก็เคยพยายามที่จะเจาะตลาดข้าวที่แอฟริกาใต้ และแอฟริกาตะวันตกมาแล้วโดยการตั้งสำนักงานผู้แทนขายที่เมืองท่าเดอร์บันและนำข้าวจากโกดังที่เช่าไว้ตามเมืองท่าต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงลงเรือที่เช่าไว้ล่องไปขายโดยตรงถึงที่นั่น

แอฟริกาใต้เป็นตลาดที่มีเสน่ห์โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,228,376 ตารางกิโลเมตรโดยแบ่งออกเป็น 4 จังหวัดปกครอง คือ THE CAPE PRO VINCE, TRANSVAAL, ORANGE FREE STATE และ NATAL และเป็นประเทศที่มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,954 กิโลเมตรทำให้มีความเหมาะสมทางการค้ามากที่สุดในทวีปแอฟริกาโดยมีท่าเรือที่สำคัญถึง 6 แห่งคือ DURBAN,CAPE TOWN, PORT ELIZABETH EAST LONDON, RICHARDS BAY และ SALDANHA BAY

ในอดีตสถานะภาพทางการเมืองและสังคมของแอฟริกาใต ้มีชนผิวขาวเป็นผู้ปกครองประเทศและกุมอำนาจทางเศรษฐกิจมีนโยบาย และมาตรการกีดกันและเหยียดผิวคนผิวดำเกิดปัญหาทางสังคมขึ้นจึงทำให้หลาย ๆ ประเทศออกมาต่อต้านองค์การสหประชาชาติจึงได้มีมติให้เหล่าประเทศสมาชิกคว่ำบาตร (SANCTION) ทางเศรษฐกิจกับแอฟริกาใต้ตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา

แอฟริกาใต้จึงต้องพึ่งพาตนเองและอยู่ค่อนข้างโดดเดี่ยวมีเพียงบางประเทศที่ยังติดต่อทำการค้าด้วยอย่างเช่นประเทศไต้หวัน บางประเทศที่ไม่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษซึ่งมีอยู่กว่า 50 ประเทศเท่านั้น ทำให้การค้าระหว่างประเทศของแอฟริกาใต้กับหลาย ๆ ประเทศถูกตัดขาด ความมืดมิดทางการค้าเข้าครอบคลุมการคมนาคมขนส่ง (TRANSPORTATION) ถูกตัดขาด ไม่มีกิจกรรมทางด้านการเงินในศูนย์กลางตลาดการเงินนานาชาติจึงทำให้การไหลเวียนทางการค้าระหว่างประเทศลดจำนวนลงมาเป็นเวลากว่า 10 ปี

แอฟริกาใต้จากตัวเลขในปี 2531 มีประชากรกว่า 33 ล้านคนโดยแบ่งเป็นชนผิวดำ 74%, ผิวขาว 14% ผิวสีอื่นและเอเชีย 11% คนผิวขาวในแอฟริกาที่อพยพมาจากอังกฤษเป็นผู้กุมอำนาจไว้ในมือทั้งหมด และได้นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของยุโรปสืบสานเข้ามาสู่แอฟริกาจนเป็นที่ยอมรับจัดอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในสายตาของชาวโลกกลายเป็นประเทศที่มีความลี้ลับมืดมิดสำหรับพ่อค้านักธุรกิจที่จะเข้าไปทำการค้าในแอฟริกาใต้

ปัญหาพื้นฐานคือการเหยียดผิว การไร้การศึกษาของคนต่างผิวที่ไม่ใช่คนผิวขาว การเลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างชนชั้น และการขัดแย้งกันระหว่างเผ่า ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยกว่า 10 เผ่าในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทำให้สถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะชงักงันมากว่า 10 ปี การถูกคว่ำบาตรจากนานาประเทศทำให้เศรษฐกิจเจอแรงกดดัน 5 ประการคือ หนึ่ง อัตราดอกเบี้ยในประเทศสำหรับลูกค้าชั้นดีเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 20 สองอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปีละร้อยละ 15 สาม ทองคำซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญเริ่มมีราคาตกต่ำในตลาดโลกและ สี่ เจ้าหนี้เงินกู้ระดับรัฐบาลและเอกชนได้เร่งรัดให้แอฟริกาใต้ใช้หนี้เงินกู้ต่างประเทศจำนวน 25 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเกิดขึ้นในปี 2528 และ สุดท้าย - แอฟริกาใต้ต้องประสบปัญหาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอย่างมาก

การคว่ำบาตรต่อเนื่องนับ 10 ปีของสหประชาชาติ ทำให้แอฟริกาใต้กลายเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงทางการค้า และการเงินสำหรับพ่อค้าของประเทศต่างที่อยู่ในภูมิภาคยุโรป เอเชียและอเมริกา

เช่นนี้แล้วคำถามจากสามัญสำนึกคือว่า แอฟริกาใต้อยู่ได้อย่างไรโดยไม่เป็นประเทศที่ล้มละลาย

"แต่ในทางปฏิบัติบางประเทศก็ยังคงทำการค้าอยู่ มีการห้ามทำการค้าเฉพาะสินค้าบางรายการเท่านั้น เช่น อาวุธ เหล็ก มีการบินติดต่อระหว่างกัน เช่น สายการบินของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ไต้หวัน ฮ่องกง มอริเซียส ฯลฯ แหล่งข่าวในกระทรวงต่างประเทศให้คำตอบ

เมื่อแอฟริกาใต้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเหยียดผิดลงในสมัยรัฐบาลนายเดอร์เคอร์ก (ซึ่งเข้ามาแทนนายโบท่า) นับตั้งแต่การปล่อยตัวนายเนลสัน เมนเดลล่า ผู้นำชนผิวดำซึ่งปัจจุบันเป็นประธานกลุ่มเอเอ็นซี หลายประเทศได้ยกเลิกการคว่ำบาตร (SANCTION) แอฟริกาใต้แล้วอย่างประเทศในยุโรปตะวันออกเช่นฮังการี โปแลดน์ เชกและสโลวัคได้ยกเลิกการคว่ำบาตรก่อนที่องค์การสหประชาชาติจะประกาศยกเลิกซึ่งคาดว่าจะยกเลิกในปีหน้า

ส่วนประเทศไทยได้มีการผ่อนคลายมาตราการคว่ำบาตรลงจนอยู่ในระดับที่เรียกว่าเกือบจะเสรีแล้ว ตั้งแต่กรกฎาคมปีที่แล้วเพื่อส่งเสริมให้พ่อค้าไทยทำการค้าโดยตรงเข้าสู่ตลาดแอฟริกาใต้มากขึ้น

ปัจจุบันแอฟริกาใต้มีสินค้าส่งออกมายังประเทศในแถบเอเซียประมาณ 40% จากการส่งออกทั้งประเทศ ความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะยกระดับการค้ากับแอฟริกา และเป็นศูนย์กลางระบายสินค้าจากแอฟริกาใต้สู่ประเทศในเอเซียขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐและความสามารถของพ่อค้าไทย

"เวลานี้ทางนาย เดอร์เคอร์กได้เข้าไปแสวงหาความร่วมมือทางการค้ากับนายโก๊ะจกตงผู้นำของสิงคโปร์แล้ว" คนในกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงคู่แข่งของไทย

ดังนั้นการประกาศจะยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อแอฟริกาใต้ของรัฐบาลไทยเมื่อ 24 ธันวาคม 2534 จึงถือเป็นการไขปัญหาหลุมดำ ที่ปิดกั้นการค้ามานานให้เปิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งที่เป็นปัจจัยสำคัญของการค้ามีหน้าที่ลำเลียงขนสินค้าจากเมืองท่าต่าง ๆ ของประเทศต่าง ๆ สู่ทุกภูมิภาคในโลกหรือจะเป็นภาคการเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ (TRADE FINANCE) ที่จะทำหน้าที่เป็นแหล่งสนับสนุนทางด้านการเงินให้กับพ่อค้านักธุรกิจ

ปัจจุบันได้มีสายการบินที่บินตรงจากแอฟริกาใต้สู่กรุงเทพฯ คือสายการบินเซ้าท์อัฟริกันแอร์เวยร์ (SAA มีเส้นทางบินระหว่างโจฮันเนสเบิร์ก-กรุงเทพฯ-ไทเป สัปดาห์ละ 1 ครั้งโดยเที่ยวบินของ SAA จะออกจากกรุงเทพฯ มุ่งตรงสู่โจฮันเนสเบิร์กใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมงครึ่งในทุก ๆ วันเสาร์ และจะมีเที่ยวบินจากโจฮันเนสเบิร์กมาถึงกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางไปติดต่อธุรกิจในระยะเวลาสั้นหรือวางแผนการท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์

มานพ สงค์อิ่ม กรรมการผู้จัดการ บริษัทแปซิฟิคเลเซอร์ บริษัทตัวแทนของสายการบิน SAA ในประเทศไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ"ว่า "ในช่วงแรกของการเปิดสายการบิน SAA นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการท่องเที่ยวมากกว่าการเอื้ออำนวยแก่พ่อค้านักธุรกิจ เพราะแอฟริกาใต้ยังมีการทำธุรกิจกับไทยในอัตราที่ไม่สูงมากนักจึงต้องเน้นทางการท่องเที่ยวก่อน แอฟริกาเองเป็นประเทศที่สวยงามสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ดีนอกจากนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ภูเขา เช่น ป่าซาฟารี หรือมีรีสอร์ตมากมาย เหมาะกับการพักผ่อน แต่ในอนาคตหากการติดต่อการค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้มีเพิ่มขึ้นจะพิจารณาขยายหรือเพิ่มเที่ยวบินเพื่อรองรับในจุดนี้ต่อไป"

เพราะฉะนั้นการเข้ามาของสายการบิน SAA ในครั้งนี้คือสะพานเชื่อมให้การทำธุรกิจระหว่าง ไทยกับแอฟริกาใต้ได้รับความสะดวกขึ้นนอกจากนี้ การบินไทยเองกำลังเตรียมที่จะเปิดเส้นทางบินสู่พร้อมบริการได้ประมาณปลายปี 2535 นี้

ที่ผ่านมา สถิติการค้าไทย-แอฟริกาใต้กระทำผ่านคนกลางประเทศที่สามทั้งสิ้นจากตัวเลขในปี 2531 ไทยส่งออกไปยังแอฟริกาใต้ประมาณ 3 ล้านบาทในปี 2532 ตัวเลขเพิ่มเป็น 7 ล้านบาท ในปี 2533 เป็นเกือบ 9 ล้านบาทและในปี 2534 การส่งออกได้ก้าวกระโดด 10 เท่าตัวเป็นกว่า 1000 ล้านบาท

โดยมีสินค้าหลักที่ส่งออกได้แก่ ธัญพืช อุปกรณ์ไฟฟ้าอุปกรณ์เครื่องจักรกล ของเล่นเด็ก อัญมณีและเครื่องประดับสำเร็จรูป อุปกรณ์กีฬารองเท้า ผลิตภัณฑ์จากยาง, ยางสำเร็จรูป, น้ำมันจากพืชและสัตว์ ฯลฯ

ส่วนการนำเข้าสินค้าจากแอฟริกาใต้ 2531 มีมูลค่าทั้งหมด 67 ล้านบาท ในปี 2532 นำเข้า 104 ล้านบาท ในปี 2533 นำเข้ามูลค่า 45 ล้านบาทและในปี 2534 ตัวเลขนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 241 ล้านบาท

สินค้าที่มีการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทโลหะหนักสินค้าทางด้านอุตสาหกรรมเช่น เพชร ผลิตภัณฑ์เหล็ก ทองคำ ถ่านหิน แร่เงินแอสเบสตอส และซีเมนต์

ความสัมพันธ์การค้าไทย-แอฟริกาใต้มีแนวโน้มไปได้สวยทีเดียว "แม้นกฎระเบียบที่เคยเป็นอุปสรรคในการส่งออกและนำเข้า อันเนื่องมาจากยังมีอยู่ในระดับสูงมากแต่ก็มีแนวโน้มว่ารัฐบาลกำลังจะยกเลิกกำแพงภาษีบางชนิดออกเช่น SURCHARGE" ผู้บริหารระดับสูงของหอการค้าไทยเล่าให้ฟังถึงอุปสรรคทางการค้าจากทางฝั่งแอฟริกาใต้ที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงในอนาคต

รัฐบาลแอฟริกาใต้มีการจัดเก็บภาษีนำเข้าในระดับค่อนข้างสูงเฉลี่ยประมาณ 20-25% นอกจากนี้ยังมีการเก็บ SURCHARGE อัตราระหว่าง 5-40% ผู้นำเข้ามีการกำหนดราคาประเมินสินค้านำเข้า เพื่อป้องกันการทุ่มตลาดและมีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างเข้มงวดซึ่งแอฟริกาใต้ใช้เงินในสกุล RAND (R) = 100 CENTS อัตราแลกเปลี่ยน 1 R ประมาณ 9.24 บาท (ธันวาคม 2534)

อันที่จริงปัญหากำแพงภาษีไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มปริมาณทางการค้าเท่าไรนัก สิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการเงินของแอฟริกาใต้มากกว่า "เราจะยินดีมากถ้าเราสามารถมีหลักประกันว่าสามารถเรียกเก็บเงินได้จากผู้ซื้อในแอฟริกาใต้" แหล่งข่าวในบริษัทไรซ์แลนด์ที่ส่งข้าวนึ่งออกเคยพูดกับ "ผู้จัดการ" ถึงความจำเป็นที่ต้องส่งออกโดยผ่านคนกลาง

ที่ผ่านมาปัญหาของพ่อค้าไทยที่ต้องเผชิญในการทำมาค้าขายกับแอฟริกาใต้คือ แอลซีของคู่ค้าที่เปิดมาจากแบงก์ในแอฟริกาใต้เขาไม่รู้ว่าจะมีแบงก์ไหนในกรุงเทพที่ยินดีรับ

"ความจริงเราเป็นแบงก์อังกฤษเพียงแห่งเดียวในเมืองไทยที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจการเงินที่ดีกับแบงก์ชั้นนำทุกแห่งในแอฟริกาใต้และประเทศอื่น ๆ ในทวีปนี้มานานนับ 100 ปีแล้ว" เออร์วิน น๊อก ผู้จัดการใหญ่แสตนดาร์ดชาร์เตอร์แบงก์ (สแตนชาร์ท) สาขากรุงเทพกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงบทบาทของแบงก์ที่สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ให้พ่อค้าไทยได้

เออร์วิน น๊อกขยายความว่า สแตนชาร์ทมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจให้บริการทางการเงิน เพื่อการค้าระหว่างประเทศหรือเทรดไฟแนนซ์ในตลาดกลุ่มประเทศแอฟริกามานานแล้ว และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีปริมาณธุรกิจเทรดไฟแนนซ์มากที่สุดเมื่อเทียบกับแบงก์อื่น ๆ ในตลาดกลุ่มประเทศแอฟริกา

"ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของแบงก์เราในตลาดกลุ่มประเทศแอฟริกาทั้งทวีป จากซีกตะวันออกในตลาดประเทศเคนยา อูกันดา มาลาวี โมซัมบิค แซมเบีย ซิมบับเว ลงมาทางใต้ผ่าน เลโซโท สวาซิแลนด์ บอสวานา และแอฟริกาใต้เลยไปจดประเทศคาเมรูน ไนจีเรีย ฆาน่า แกมเบียและเซียราเลโอนทางด้านตะวันออก ทำให้แบงก์มีขอบข่าย และขีดความสามารถในการให้บริการข้อมูลข่าวสารทุกด้านในตลาดแอฟริกาด้วย ไม่เพียงแต่เฉพาะการบริการทางการเงินด้านเทรดไฟแนนซ์หรือบริการทางการเงินอื่นๆ เท่านั้น" เออร์วิน น๊อกพูดถึงขอบข่ายการให้บริการของสแตนชาร์ทในตลาดกลุ่มประเทศแอฟริกาแอฟริกาใต้

จากการสืบค้นของ "ผู้จัดการ" พบว่าสแตนดาร์ดชาร์เตอร์แบงก์เป็นธนาคารระดับนานาชาติที่มีเครือข่ายการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย วาณิชธนกิจ และบริการทางการเงินอื่น ๆ อยู่กว่า 50 ประเทศทั่วโลกมีอายุกว่า 130 ปีแล้วตลาดหลักของแบงก์นี้อยู่ในเอเซียและแอฟริกา โดยมีการเชื่อมโยงธุรกิจทางการเงินจากตลาดหลักเข้ากับเครือข่ายทางด้านยุโรปและอเมริกาเหนือ

สำหรับสาขาที่กรุงเทพแบงก์ได้เข้ามาทำธุรกิจนานเกือบ 100 ปีแล้วมีความชำนาญเป็นพิเศษทางด้านการเงินให้บริการทางการเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศหรือเทรดไฟแนนซ์

"ถ้าคุณต้องการค้าขายโดยตรงกับบริษัทคู่ค้าในประเทศแอฟริกาใต ้แบงก์สาขาในกรุงเทพของเราสามารถเปิดแอลซีให้คุณได้ทันทีไปยังบริษัทคู่ค้าของคุณในแอฟริกาใต้ โดยผ่านเครือข่ายการ FACILITATE ของสำนักงานเราที่นั่นใน ทางกลับกันถ้าคุณต้องการส่งออกแอลซีของคู่ค้าของคุณที่แอฟริกาใต้ไม่ว่าจะเปิดมาจากแบงก์ไหนที่ตั้งอยู่ที่นั่นก็จะผ่านการ FACILITATE จากเครือข่ายของเราที่นั่นตรงมายังสาขาที่กรุงเทพทันทีซึ่งนั่นหมายความว่าการส่งออกของคุณจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเลย" เออร์วิน น๊อกยกตัวอย่างบริการเทรดไฟแนนซ์ของสาขากรุงเทพต่อธุรกรรมทางการค้าไทยกับแอฟริกาใต้

ศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแอฟริกาใต้จึงได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างจริงจังและเปิดเผย

ความใหญ่โตด้านความเจริญที่แม้จะยังมีการต่อสู้กับความหิวโหยของคนผิวดำดำรงอยู่ แต่วัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่อยู่ภายใต้ร่มธงอังกฤษมานาน ทำให้ตลาดแห่งนี้เป็นทางออกที่ดีของพ่อค้าไทยในยามที่กำลังเผชิญอยู่กับบรรยากาศการกีดกันทางการค้า และการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดดั้งเดิมที่หากินมานาน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us