Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535
"การต่อสู้ของจิระยังยาวไกล"             
 


   
search resources

สีชังทองเทอร์มินัล จำกัด
จิระ รัตนะรัต
Environment




ปัญหาการระเบิดหินบนเกาะสีชังที่เกิดขึ้นแทบจะทำให้ฝันของบริษัท สีชังทองเทอร์มินัล จำกัด (สีชังทองฯ) ต้องล่มสลายไปอีกครั้ง เนื่องจากโดนกระแสต่อต้านจากชุมชนอย่างหนัก ...!

การระเบิดหินซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของเกาะสีชังทั้งสภาพพื้นเกาะหรือโบราณสถานนั้น ไม่ว่าสีชังทองฯ จะเป็นผู้ดำเนินการหรือเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่องานของสีชังทองฯ กำลังจะกลายเป็นโครงการหลักของพื้นที่นั้น จึงทำให้โครงการนี้กลายเป็นสิ่งแปลกปลอมท่ามกลางชุมชนและธรรมชาติที่อยู่คู่กันอย่างสงบมานาน เป็นเหตุให้ฝันของจิระ รัตนะรัต เจ้าของโครงการเป็นเส้นทางที่เลี้ยวลดคดเคี้ยวชนิดที่ท้อแท้ขนาดจะยกเลิกงานนี้ก็หลายครา

ความได้เปรียบที่ตระกูล "หงศ์ลดารมภ์" มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เกาะบางส่วนเพราะจับจองมาหลายสิบปี ในฐานะที่คุณหญิงทองทิพ ภรรยาของจิระเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขขอองตระกูลนี้จึงกลายเป็นทำเลสร้างท่าเรือน้ำลึก และโรงงานโซลเว้นท์ได้อย่างเหมาะเจาะแม้ว่าทางราชการจะอนุมัติให้อย่างทุลักทุเลก็ตาม

เฉพาะอย่างยิ่ง ท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังที่จะสร้างขึ้นนี้จะมุ่งให้เป็นท่าเรือสากลประสานกับท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่งไปสู่อินโดจีนในอนาคต

แต่แล้ววันนี้สายสัมพันธ์กับ "หงศ์ลดารมภ์" กลับกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่คอยทิ่มตำความก้าวหน้าของโครงการอย่างที่จิระคงปฏิเสธปัญหานี้ไม่ได้

เนื่องจากบริษัทที่เป็นต้นตอของปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อมของเกาะสีชังนั้น ก็คือ บริษัท ภูเพ็ญ จำกัด โดยได้รับอนุมัติให้ระเบิดหินด้วยเหตุผลว่า เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และบริษัท พรเพ็ญประทาน จำกัด ก็ได้รับอนุญาตให้สร้างโรงโม่หินและย่อยหิน

ประการสำคัญ ทั้งสองบริษัทนี้ถือหุ้นหลักโดยพี่น้อง "หงศ์ลดารมภ์" เฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทภูเพ็ญนั้นถือหุ้นหลักโดยตระกูลนี้และยังมีคุณหญิงทองทิพเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย ขณะที่ตระกูล "หงศ์ลดารมภ์" ถือหุ้นอยู่ในสีชังทองฯ 5%

ยิ่งภาพการระเบิดหินที่ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนล่าสุดทางราชการได้ออกคำสั่งห้ามบริษัท ภูเพ็ญระเบิดหินอย่างเด็ดขาดเพราะระเบิดออกนอกพื้นที่สัมปทานไปแล้ว 13 ไร่ซึ่งเหลืออีกเพียงประมาณ 4 เมตรก็จะทำให้เกาะแยกจากกัน

ทำให้ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าสีชังทองฯ ไม่เกี่ยวข้องกันกับ "หงศ์ลดารมภ์" ผู้ระเบิดหิน แม้ว่าสีชังทองฯ จะไม่ใช่ผู้ดำเนินการโดยตรงก็ตามจึงช่วยไม่ได้ที่ชุมชนจะเข้าใจว่าสีชังทองฯ คือผู้สร้างปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดบนเกาะแห่งนี้

ทั้งที่การระเบิดหินบนเกาะเกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้ว ตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ชนะประมูลในการสร้างท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังได้ซื้อสัมปทานพื้นที่ระเบิดหินจาก "หงศ์ลดารมภ์" ซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ที่เรียกว่า ส.ค. 1 โดย ครม. ยุคนายกชาติชาย ชุณหะวัณได้ไฟเขียวเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2531

หินที่ระเบิดในตอนนั้นใช้ในการถมทะเลเพื่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นความยาว 1.3 กิโลเมตรและกำแพงหินขอบท่าเรือขนาด 6.5 กิโลเมตร เพราะเป็นหินที่มีคุณสมบัติและขนาด 0.25-1,200 กิโลกรัมตามความต้องการ เป็นแหล่งหินที่ใกล้บริเวณสร้างท่าเรือที่สุด สะดวกในการขนย้ายช่วยร่นระยะทางและประหยัดต้นทุน

เมื่อท่าเรือแหลมฉบังเสร็จไปในปี 2533 ก็ยังมีการย้ายพื้นที่ระเบิดหินมาใกล้แหล่งชุมชนและพระราชวังรัชกาลที่ 5 มากขึ้น "ห่างแค่ประมาณกิโลเมตรเดียว จึงทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองโปรยปลิวตามทิศทางลม และส่งผลต่อคุณภาพน้ำทะเลด้วย" แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกล่าวขณะที่พื้นที่ระเบิดหินก็ยังคงเป็นของ "หงศ์ลดารมภ์" เหมือนเดิม

กระแสต่อต้านของชาวบ้านชุมชนเกาะสีชังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ในช่วงแรกดูไม่รุนแรงนักเริ่มทวีความดุเดือดขึ้นตลอดเวลาทั้งโดยภาพเปิด และภาพปิดขณะที่สภาพแวดล้อมถูกทำลายไปเรื่อยผนวกกับความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปก็เริ่มหนักหน่วงขึ้น ดังนั้นเมื่อสีชังทองฯ ประกาศผลักดันสร้างท่าเรือสีชังภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเป็นลำดับก็ถูกประสมประสานเข้ากับโครงการท่าเรือไปโดยปริยาย

เพราะไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ทางอิตาเลียนไทยฯ หรือบริษัทภูเพ็ญระเบิดหินอยู่ ส่วนแรกทาง "หงศ์ลดารมภ์" เป็นเจ้าของสัมปทานโดยไม่ได้ระเบิดเองแต่ส่วนหลัง "หงศ์ลดารมภ์" เป็นทั้งผู้ถือกรรมสิทธิ์และดำเนินการเอง

สายใยแห่งความสัมพันธ์ตรงนี้จึงไม่อาจตัดแยกออกจากสีชังทองฯ ได้แม้ว่าแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องยืนยันว่าสีชังทองฯ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริหารและการตัดสินใจของ "หงศ์ลดารมภ์" ในบริษัท ภูเพ็ญต่างคนต่างทำและต่างความคิดก็ตาม

อีกทั้งย้ำว่าการสร้างท่าเรือสีชังทองฯ จะใช้วิธีระเบิดหินด้วยวิธีที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพแวดล้อมข้างเคียงไม่ว่าที่จะเกิดจากเสียง การสั่นสะเทือน หินที่กระเด็น แต่จิระคง ไม่อาจแยกภาพความเป็นเครือญาติในทางนิตินัยจากการสมรสได้เลย แม้คนที่ติดตามและรู้จักจิระดี มั่นใจว่าจิระไม่เห็นด้วยกับการระเบิดหินที่ทำลายสิ่งแวดล้อมบนเกาะ

หากกลับแปรเป็นเรื่องตลกเมื่อฝ่ายระเบิดหินกลายเป็นคนทำลายสภาพแวดล้อมที่ดี ๆ ของชุมชน แต่ทางสีชังทองฯ คือจิระในฐานะผู้จัดการการบริหารพยายามที่จะตั้งกองทุนอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพทรุดโทรมมรดกล้ำค่าบนเกาะ

ด้วยรูปลักษณ์อย่างนี้ สีชังทองฯ จึงถูกแรงต่อต้านจากชุมชนเกาะสีชังกระหน่ำอย่างหนัก แม้ว่าจะมีผู้คนส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับโครงการ แต่ก็ไม่อาจดูแคลนและมองข้ามผู้คนที่ปฏิเสธการเกิดขึ้นของสิ่งแปลกปลอมทั้งมวลบนเกาะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยีใดก็ตาม

เมื่อสีชังทองฯ ไม่อาจต้านกระแสของชาวบ้านได้ล่าสุดจึงระงับโรงงานโซลเว้นท์ไว้ก่อนโดยจะเริ่มสร้างเฉพาะท่าเรือ

แต่ขณะเดียวกันก็จะตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์พื้นที่ของสีชังทองฯ จำนวน 800 กว่าไร่อีกครั้งหนึ่งแม้ว่าทางราชการจะไฟเขียวมาก่อนหน้านี้แล้วซึ่งทำให้ต้อองชะลอโครงการออกไปอีกครั้งหนึ่ง

จิระคงต้องสะดุดและล้มลุกคลุกคลานกับโครงการนี้อีกหลายยก ตราบเท่าที่แยกความสัมพันธ์ระหว่างสีชังทอง ฯ กับ "หงศ์ลดารมภ์" ออกจากกันให้ชัดเจนไม่ได้ยังไม่รวมถึงจุดอ่อนที่สีชังทองฯ ไม่ได้ปูฐานความเข้าใจของมวลชนท้องถิ่นต่อโครงการตั้งแต่ต้น

น่าวิตกอย่างยิ่งว่า สีชังทองฯ จะเจอกรณีเดียวกับโครงการแทนทาลัมจ. ภูเก็ตที่ล่มสลายไปแล้วหรือไม่...?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us