มกอช. ร่วมกับภาคเอกชนจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารหวังเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
พร้อมเดินหน้าเจรจาทางการค้าเพื่อปกป้องประโยชน์สินค้าเกษตร-อาหารไทย
นายอำพน กิตติอำพน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(มกอช.) เปิดเผยถึงผลการหารือร่วมกับผู้ประกอบการเอกชนเรื่อง การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร
ว่า ที่ประชุมเห็นควรให้เร่งดำเนินการทบทวนรายละเอียดประเด็นปัญหาเรื่องกฎระเบียบ
และมาตรการความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งประเทศผู้นำเข้าใช้เป็นเงื่อนไขกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทย
เพื่อเป็นข้อมูลในการ พัฒนามาตรฐานด้านสุขอนามัยตั้งแต่ระบบการผลิตในไร่นา การสร้างขีดความสามารถห้องปฏิบัติและการรับรองมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในเวทีการค้าโลก
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเสนอให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรการควบคุมคุณภาพ วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ
รวมทั้งจัดอบรมความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการผลิตวัตถุดิบอาหารที่มีคุณภาพให้กับเกษตรกร
เพื่อลดต้นทุนด้านการผลิตและป้องกันปัญหาสารเคมีตกค้าง ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจ
ที่ถูกต้องด้วย
อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อพัฒนามาตรฐานด้านสุขอนามัยและเพิ่มความสามารถด้านแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรและอาหารไทย
จำเป็นต้องได้รับความร่วม มืออย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ
ตามกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ อย่างจริงจัง
ดังนั้น มกอช.จึงเตรียมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติในช่วงปลายเดือนมิถุนายน
โดยเชิญหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชน และตัวแทนเกษตรกร เพื่อร่วมกันกำหนดแนว
ทางปฏิบัติ และการบูรณาการทำงานด้านสุขอนามัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องและมีประสิทธิมากขึ้น
"กระทรวงเกษตรฯ ตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคและการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรและอาหารไทยในตลาดโลก
เพราะปัจจุบัน ผู้บริโภคตื่นตัวเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางอาหารหรือครัวของโลก รวมทั้งกำหนดให้ปี 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยทาง
ด้านอาหาร
กระทรวงเกษตรฯ โดย มกอช.จึงจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาค
รัฐ และเอกชนเพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ความ ปลอดภัยด้านอาหารของไทย
นอกจากนี้ ในฐานะที่ มกอช. เป็นหน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบในเรื่องของมาตรฐานด้านสุขอนามัยสินค้าเกษตรและอาหาร
ในอนาคตจึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามามีบทบาทเรื่องการเจรจาทาง การค้ากับประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรต่างๆ
เพื่อ สร้างความชอบธรรมทางการค้าให้เกิดขึ้นด้วย" นายอำพน กล่าว