สนข. เร่งหาข้อสรุประบบตั๋วร่วมขนส่งมวลชน คาดใช้ได้กับรถไฟฟ้า รฟม.และทางด่วนของกทพ.
นำร่องก่อนระบบอื่น โดยรฟม.ดีเดย์เปิด 13 เม.ย. 47 ขณะที่มี 9 บริษัทชั้นนำของโลก
ตบเท้าเสนอข้อมูลและเทคโนโลยี เช่น เอไอเอส, มิตซุย แอลจี, มิตซูบิชิ, ล็อกซเล่ย์
หวังใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่บวก ความทันสมัย จูงใจประชาชนใช้ระบบขนส่ง สาธารณะเพิ่ม
วานนี้ (2 มิ.ย.) นายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อเสนอรับฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นในการพัฒนาระบบตั๋วร่วม
ซึ่งมีสำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นหน่วยงานหลักและมีหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องร่วม อาทิ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
รฟม.) บริษัท ระบบขนส่ง มวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
หรือบีอีซีแอล บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด
โดยนายนิกรเปิดเผยว่า ประโยชน์ในการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบการขนส่งมวลชนและทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเสนอรายงานในสิ่งที่หน่วยงานนั้นๆ มีการดำเนินการ
ทั้งนี้ระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมกัน
(Fare Structure Integration) การใช้ ตั๋วโดยสารใบเดียวสำหรับการใช้บริการ ของผู้ประกอบการทุกราย
(Single Ticket) และการจัดแบ่งรายได้ (Clearing House) ซึ่งรัฐจะต้องเป็นเจ้าภาพในการเจรจาระหว่างผู้ประกอบการผลักดันให้สำเร็จ
ซึ่งได้มีบริษัทเอกชน 9 รายนำเสนอเทคโนโลยีของระบบตั๋วร่วมต่อที่ประชุม ได้แก่
1.บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (กลุ่มซีพี) 2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซฟตี้ อินเวนชั่นส์
3.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด หรือ เอไอเอส 4.บริษัท มิตซุย (ประเทศไทย)
จำกัด ติดตั้งระบบให้กับรฟม. 5.บริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศ ไทย) จำกัด 6.บริษัท แอลจี
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 7.บริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 8.
บริษัท เอ็มวีเอ (ประเทศไทย) จำกัดและ 9. บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า จากการหารือ ทุกฝ่ายเห็นถึงความสำคัญของระบบตั๋วร่วม
โดยคาด ว่าจะสามารถใช้ระบบดังกล่าวทันการเปิดใช้บริการอย่างไม่เป็นทางการของระบบรถไฟฟ้า
รฟม. ในวันที่ 13 เมษายน 2547 และมีความสมบูรณ์เมื่อเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่
12 สิงหาคม 2547 อย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากนั้น ระบบตั๋วร่วมของรฟม.จะเชื่อมโยงกับระบบรถไฟฟ้าของบีทีเอส
และจะสอดคล้องกับระบบตั๋วพิเศษของ กทพ. รวมทั้งในอนาคตจะมีการ พัฒนาเพื่อร่วมกับระบบขนส่งอื่นๆ
ต่อไป
ส่วนปัญหานั้น อาจจะเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะกำหนดอัตราค่าโดยสาร ร่วมกัน เนื่องจากสภาพที่แตกต่างของอัตราของแต่ละระบบขนส่งในแต่ละประเภท
และการจัดแบ่งผลประโยชน์ตามสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐกับผู้รับสัมปทาน ดังนั้นจะต้องมีความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์การตัดบัญชี
(Clearing House) เพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ระบบดังกล่าวคาดว่า รฟม.และ กทพ.จะเป็นหน่วยงานที่จะเริ่มดำเนินโครงการได้ก่อน
และนำเป็นโปรแกรมหลักของระบบอื่นๆ โดยขณะนี้ รฟม. ได้มีการติดตั้งระบบของตัวเองไปแล้ว
ปัจจุบันมีระบบตั๋วร่วมอยู่ 2 ระบบ คือ โซนี่ และเมย์แฟร์ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้
ทั้ง 2 ระบบ ส่วนของ Clearing House ตามหลักการ เอกชนจะต้องเข้ามาดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมสาธารณะ
ไม่ใช่การทำธุรกิจ หรือ Profic Center เช่น อาจจะมีการให้ส่วนลดแก่ผู้ที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านระบบตั๋วร่วม
ตั้งแต่ 2 ครั้งภายใน 1 วัน เป็นต้น ซึ่งในอนาคต จะมีการรวมตั๋วร่วมกับขนส่งหมวดอื่นๆ
เช่น รถเมล์ รถแท็กซี่ เรือ ร้านสะดวกซื้อต่างๆ และอาจจะรวมไปใช้ได้กับบัตรประชาชนได้
นายคำรบลักขิ์กล่าวและ ว่า ในส่วนภาครัฐจะตั้งคณะกรรมการขึ้น มาเพื่อประสานงาน
อย่างไรก็ตาม ระบบตั๋วร่วมนอกจากจะทำให้ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะได้รับความสะดวกในการเดินทางทุกระบบ
ด้วยตั๋วใบเดียวแล้ว จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นด้วย
เพราะโครงข่ายที่ครอบคลุมมากขึ้น หลังจาก รฟม.เปิดใช้ในปี 2547 และจะมีการขยายเส้นทางเพิ่ม
โดยปัจจุบัน จำนวนผู้โดยสารบีทีเอส มีประมาณ 300,000 คนต่อวัน ส่วนรฟม.คาดว่าจะมีประมาณ
290,000 คนต่อวัน โดย รถไฟฟ้าทั้ง2 โครงการมีจุดตัดที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้ที่
อโศก, บางซื่อ, สีลม