Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กุมภาพันธ์ 2551
โลคัล-อินเตอร์แบรนด์ FIGHT BACK ตีกัน ZARA             
 


   
search resources

Marketing
Clothings
กากัน (ประเทศไทย), บจก.




กว่า 1 ปี หลังการเข้ามาของ ZARA แฟชั่นแบรนด์จากแดนกระทิงดุ ได้ส่งแรงสั่นสะเทือนให้กับตลาดเสื้อผ้าเมืองไทยไม่น้อย หลายแบรนด์ทั้งอินเตอร์และโลคัลต้องปรับตัวกันจ้าละหวั่น ไม่ว่าจะเป็นค่ายรีโน หรือค่ายไมเนอร์ ซึ่งไม่ใช่แค่บ้านเราอย่างเดียว เพราะว่ากันว่านับตั้งแต่แบรนด์นี้กำเนิดมาในปี 1975 ก็ได้สร้างกระแสความนิยมให้เกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อในตลาดต่างประเทศมาแล้ว

สิ่งที่ทำให้ ZARA ได้รับการตอบรับอย่างดีในบ้านเรา ไม่ใช่แค่เป็นแฟชั่นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศอย่างเดียว เพราะหากพิจารณาดูแบรนด์อินเตอร์ที่นำเข้ามาจำหน่ายในบ้านเราก็ไม่เห็นมีแบรนด์ไหนที่ได้รับความสนใจอย่างล้นเหลือ (โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล “SALE”) มีคนเข้าร้านออกร้านเพื่อซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากดังมีมหกรรมแจกฟรีเหมือน ZARA ขณะที่แบรนด์อื่นแม้จะลดราคาเหมือนกันแต่กลับดูวังเวง และเงียบเหงาเหลือเกิน

ปัจจัยที่ทำให้เชนร้านแฟชั่นชื่อดังจากสเปนได้รับความสนใจจากผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศก็คือ “ราคา” ที่ทุกคนสามารถหาซื้อเสื้อผ้าคอลเลคชั่นล่าสุดได้โดยกระเป๋าไม่ฉีก

การที่ ZARA ทำเช่นนี้ได้ก็เพราะการมีสินค้าคงคลังต่ำ และใช้งบโฆษณาน้อยมาก เพราะขณะที่แบรนด์แฟชั่นอื่นจะเน้นการโฆษณาผ่านสื่ออย่างครึกโครม และส่งตัวอย่างเสื้อผ้าไปถ่ายขึ้นปกนิตยสารชื่อดัง แต่ ZARA แทบไม่ได้ใช้เงินไปเพื่อการดังกล่าวเลย ดังจะเห็นได้จากงบการตลาดของ ZARA น้อยกว่าร้อยละ 1 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบริษัท นอกจากนี้จากการผลิตเสื้อผ้าเองทำให้สามารถตัดคนกลางออกไปได้ รวมทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพและความเร็วในการวางตลาดสินค้าได้เร็วกว่าคู่แข่ง

นิตยสาร POSITIONING ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2549 ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ความสำเร็จของ ZARA ไว้ว่า เป็นเรื่องของความเร็ว และการเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าทั้งหมดเอง ทำให้ ZARA เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก และสามารถใช้กลยุทธ์ความเร็วได้เร็วกว่าคู่แข่งอย่าง Gap และ H&M เสื้อผ้าใหม่ๆ จะมาถึงร้านของ ZARA ทุกๆ 2-3 วัน ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวในหนึ่งฤดูกาล ZARA ผลิตเสื้อผ้ามากกว่า 11,000 แบบในแต่ละปี ซึ่งไม่เพียงทำให้แฟชั่นเสื้อผ้าของ ZARA ทันสมัยที่สุด แต่ยังทำให้ลูกค้าต้องแวะเวียนมาที่ร้านอยู่บ่อยๆ เพื่อเช็กว่าพวกเขาพลาดสิ่งใดไปหรือไม่ แม้แต่รองบรรณาธิการนิตยสารแฟชั่นชื่อดังอย่าง Vogue ในอังกฤษยังยอมรับว่า ร้อยละ 70 ของเสื้อผ้าในตู้ของเธอมาจาก ZARA

“การสามารถทำให้ลูกค้าวนเวียนมาที่ร้านของ ZARA โดยเฉลี่ยถึง 17 ครั้งต่อปี เนื่องจากการมีสินค้าใหม่ๆ ตกมาถึงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นทั่วไปในสเปน จะมีลูกค้าแวะเวียนมาเพียงปีละ 3 ครั้งเท่านั้น ที่สำคัญ ZARA ยังว่องไวในการตอบสนองพฤติกรรมของลูกค้า หากเสื้อผ้าแบบใดขายไม่ดีภายในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ ก็จะถูกถอดออกจากราวทันที และนำแบบใหม่มาโชว์แทน”

ด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวจึงทำให้ ZARA ไต่ชาร์ทขึ้นแท่นความสำเร็จในไม่นานนัก ปัจจุบัน ZARA มีร้านค้าอยู่ทั่วโลก และแบรนด์ก็เติบโตอย่างรวดเร็วผ่านปากต่อปาก ความลับแห่งความสำเร็จของแบรนด์นี้คือ การผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นคอลเลกชั่นล่าสุดที่ขายในราคาที่หาซื้อได้ และใช้วิธีประยุกต์ดัดแปลงมากกว่าลอกเลียนแบบเสื้อผ้าแบรนด์ดังอย่าง Prada และ Christian Dior และนำออกขายอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

ในเมืองไทย ZARA นำเข้าโดย RSH Limited บริษัทยักษ์ใหญ่จากสิงคโปร์ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้ากีฬาและแฟชั่นแบรนด์เนมระดับโลกกว่า 50 แบรนด์ โดยมี ZARA เป็น Product Highlight

สำหรับช่องทางจำหน่ายของ ZARA ก็เหมือนกับอินเตอร์แบรนด์ทั่วไปที่มักจะมีชอปของตนเองเพื่อบอกถึง “ตัวตน” ของแบรนด์ว่ามีบุคลิกเป็นอย่างไร และเพื่อแสดงสินค้าที่มีทั้งของผู้หญิง ผู้ชาย ได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ Global Design ใช้โทนการตกแต่งร้านแบบอ่อนนุ่ม โปร่ง ดูสบายตา และน่าดึงดูด ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ของ ZARA ทั่วโลกที่เน้น Big Shop & Beautiful Window ที่ดูเหมือน Luxury Shop แต่ราคาเป็นแบบ Value for money ซึ่งเป็นคอนเซปต์ที่คนไทย และคนทั่วโลกกำลังนิยมอยู่ในขณะนี้ ต่างจากสินค้าอินเตอร์แบรนด์ทั่วไปที่ราคาก็เป็นอินเตอร์ตามไปด้วย

จึงไม่แปลกที่เพียงแค่ปีกว่าก็ทำเอาหลายต่อหลายแบรนด์สะท้าน สะเทือนจนต้องปรับตัวไปตามๆกัน

รีโน-ไมเนอร์ fightback ปั้นโลคัลแบรนด์ชนยักษ์อินเตอร์

ในมุมของ Local Brand อย่างค่ายรีโน ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟชั่นบ้านเรา ที่มีแบรนด์คุ้นหน้าคุ้นตาอย่าง AIIZ, CAMEL, VNC, WORK SHOP หรือล่าสุด Zhomme (ซีออม) โลคัลแบรนด์ตัวล่าสุดของค่ายนี้ ที่เปิดตัวไปแล้วตั้งแต่ธันวาคมปีก่อน ก็เตรียมรับการแข่งขันในตลาดแฟชั่นอย่างเต็มที่

โดยค่ายนี้มองว่า ปีนี้จะเป็นโอกาสของสินค้ากลุ่มโลคัลแบรนด์ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับตนเอง แม้ในช่วงกว่า 1 ปีที่ “ZARA” หอบสินค้าแฟชั่นเข้ามาทำตลาดในบ้านเรา จนสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการก็ตาม โดยมี “ราคา” และ “ดีไซน์” เป็นจุดขาย แต่ด้วยช่องทางจำหน่ายในตอนนี้ที่ซาร่ามีอยู่เพียงแห่งเดียว คือ สยามพารากอน ทำให้ค่ายรีโนเชื่อว่าจะเป็นอีกข้อจำกัดหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าของตนเอง

“สินค้าของบริษัทมีช่องทางจำหน่ายกระจายทั่วประเทศ เช่น แบรนด์เอทูแซด ที่มีการกว่า 300 แห่ง ถือเป็นจุดแข็งของเราในการเข้าถึงผู้บริโภค ขณะที่อินเตอร์แบรนด์บางราย เช่น ซาร่า ไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างได้” เป็นคำกล่าวของ ช่อดาว ฉันทานุรักษ์ รองผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท รีโน(ประเทศไทย)

ทว่า จากภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงปีที่ผ่านมาและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าการจับจ่ายของผู้บริโภคยังไม่หวือหวา ซึ่งบรรดาแบรนด์เนมทั้งหลายต้องสร้างแรงจูงใจกระตุ้นกำลังซื้อ ด้วยการจัด Sale Promotion อย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบลดกระหน่ำถล่มทลายขึ้นป้ายลดราคาตั้งแต่ 50% – 80% ยั่วใจขาชอปทั้งหลายแบบสุดตัวและเพิ่มเวลายาวนานกว่าทุกครั้ง จนกลายเป็นการสร้างพฤติกรรมและความเคยชินให้กับผู้บริโภค เป็นเหตุผลหนึ่งที่ยังทำให้ให้ “ซาร่า” ได้รับความสนใจและยังสร้างแรงกระทบให้กับผู้เล่นรายอื่นอยู่ แม้จะเข้ามาในบ้านเรากว่าปีแล้วก็ตาม

ก่อนหน้านี้ หลังจากซาร่าเข้ามาทำตลาดได้ระยะหนึ่ง ค่ายไมเนอร์ แฟชั่น ยักษ์ใหญ่ที่มีแบรนด์เนมอย่างเอสปรี, บอสสินี ต้องปรับกระบวนรบครั้งใหญ่ ด้วยการจัดระเบียบราคาใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เอสปรี ที่ไมเนอร์ทำการรีลอนช์ใหม่ในรอบ 19 ปีนับตั้งแต่ที่เข้ามาทำตลาดในไทย โดยจะมี “ดีไซน์” และ “ราคา” เป็นแรงกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งตอนนั้นใช้งบถึง 30 ล้านบาท ส่งแคมเปญ “What’ new?” ภายใต้คอนเซ็ปต์ ที่เชื่อว่าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าใหม่ได้ตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับผู้บริโภคในฮ่องกงและสิงคโปร์ โดยไม่ต้องใช้กลยุทธ์เซลล์โปรโมชั่นที่มีความถี่เหมือนที่ผ่านมา

เริ่มตั้งแต่ “ดีไซน์” ที่นับจากนี้ “เอสปรี” (Esprit) จะทำการเพิ่มจำนวนสินค้าคอลเลคชั่นใหม่เข้ามาจำหน่ายในปริมาณมากขึ้น 30 – 40% หรือเพิ่มจาก 28,000 – 30,000 ชิ้นต่อเดือน เป็น 50,000 ชิ้นต่อเดือน โดยสินค้าใหม่จะถูกลำเลียงเข้ามาจำหน่ายในร้านทุกๆ 10 วัน เร็วกว่าปกติที่จะนำเข้าเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าใหม่และกระตุ้นความถี่การซื้อได้มากขึ้น และเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าตรงตามเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น การส่งสินค้าใหม่เข้าสาขาแต่ละแห่งจะมาจากการสำรวจพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ แบรนด์ “อีดีซี” (edc by Esprit) ก็มีการเพิ่มจำนวนคอลเลคชั่นใหม่มากขึ้นอีก 3 เท่า จากเดิมที่นำเข้าเพียง 19,000 ชิ้นต่อเดือน

ขณะเดียวกัน “ราคา” ของเอสปรีที่เดิมมีอยู่หลากหลายประมาณ 40 ราคา ทำให้เกิดปัญหาการรับรู้ต่อแบรนด์ของผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่น ไมเนอร์ฯจึงจัดระเบียบราคาใหม่เหลือเพียง 15 – 17 ราคา แบ่งเป็น 3 ระดับในทุกหมวดสินค้า คือ ระดับเบสิค ระดับกลาง และระดับพรีเมียม ซึ่งการวางราคา Price Point ที่ดีจะช่วยสร้างการรับรู้ว่าแบรนด์อยู่ในระดับใด โดยราคาใหม่ที่ไมเนอร์ฯกำหนดขึ้นจะมีความใกล้เคียงคู่แข่งอย่าง “ซาร่า” และ “แมงโก้” จากเดิมที่จะวางราคาสูงกว่า 20 – 30% เมื่อเทียบกับสินค้าในหมวดเดียวกัน

หันมามอง กลุ่มแบรนด์ไทยที่อาจไม่มีเม็ดเงินหรืออำนาจการต่อรองในเรื่องต้นทุนวัตถุดิบ ที่จะมาช่วยในเรื่องการแข่งขันด้านราคาในระยะยาวเช่นอินเตอร์แบรนด์ ดังนั้น เพื่อเลี่ยงสงครามราคาที่ถือเป็นจุดขาย ค่ายรีโน จึงรีบเปิดแผนรุกด้วยการเร่งปั้นสินค้า Local Brand โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นแรงเสริมในการขยายฐานกลุ่มลูกค้าที่ยังมองเรื่องคุณภาพเป็นหลัก พร้อมผลักดันกลุ่ม AIIZ กรุ๊ปให้เป็นแบรนด์ระดับแถวหน้า เพื่อชนกับยักษ์อินเตอร์แบรนด์ทั้งหลายที่เตรียมพาเหรดเข้ามาบุกตลาดในไทยมากกว่า 10 แบรนด์ เช่น H&M ซึ่งในปีนี้ทางรีโน ได้จัดสรรเม็ดเงินจำนวน 200 ล้านบาท สำหรับการเปิดแบรนด์ใหม่จำนวน 3 แบรนด์ คือ แบรนด์ ZHomme จับกลุ่มเมโทรเซ็กชวล (Metrosexual) แบรนด์O3 เสื้อผ้าแนวสตรีทแวร์ และแบรนด์ SCURM แนวสปอร์ตแวร์ โดยทั้ง 3 แบรนด์ จะเป็นสินค้าสำหรับผู้ชายแต่ต่างกันที่กลุ่มอายุ

สำหรับ “Zhomme” คือ แบรนด์ล่าสุด ที่ค่ายรีโน ได้ทุ่มใช้เวลาในการวิจัยกว่า 1 ปี พร้อมงบกว่า 50 ล้านบาท สำหรับการทำตลาดในปีนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเจาะตลาดพรีเมียม ที่เน้นไปยังกลุ่มชายเมโทรเซ็กชวล อายุ 25 – 40 ปี โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์นี้อยู่ตรงที่ การวางตำแหน่งของแบรนด์และราคาที่เมื่อเทียบแล้ว จะอยู่ในระดับเดียวกับ ZARA

“คุณภาพของซีออมและตำแหน่งแบรนด์เทียบเท่ากับซาร่า แต่เมื่อเทียบราคาเราจะถูกกว่าประมาณ 10-20%”

โดยผู้บริหารค่ายรีโน เชื่อว่า จุดขายที่เน้นเรื่องคุณภาพทั้งวัตถุดิบและการตัดเย็บ ซึ่งได้รับการออกแบบจากดีไซเนอร์จากฝรั่งเศส ที่เน้นความดูดีมีสไตล์กับความเรียบง่ายจากฝั่งอเมริกา จะทำให้ลูกค้าเกิดการยอมรับได้ไม่ยาก อีกทั้งอินเตอร์แบรนด์หลายรายก็ทำการผลิตในไทย หรือมีฐานผลิตในจีน ซึ่งจากพฤติกรรมลูกค้าในปัจจุบันที่มีการเปรียบเทียบและมีความรู้มากขึ้น ก็เชื่อว่าโลคัลแบรนด์ก็สามารถชนหรือเทียบกับอินเตอร์แบรนด์ได้อย่างเต็มที่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us