ภาพรวม
สตาร์บัคส์ (Starbucks) เป็นร้านจำหน่ายกาแฟอันดับ 1 ของสหรัฐฯ มีสาขากว่า
2,700 แห่งทั้งในสหรัฐฯ และอีก 15 ประเทศ โดยจะพบร้าน และซุ้มจำหน่ายของ
สตาร์บัคส์ ทั้งในอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า สนามบิน และร้านหนังสือ สินค้าในร้านมีทั้งกาแฟ
ถั่วชนิดต่างๆ ขนมอบ อาหาร และเครื่องดื่ม รวมทั้งอุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับกาแฟ
ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟหรือเครื่องบดกาแฟ นอกจากนั้น สตาร์บัคส์ยังซัป พลายถั่วชนิดต่างๆ
ให้กับร้านอาหาร บริษัทธุรกิจ สายการบิน และโรงแรม อีกทั้งมีสินค้า ที่สั่งซื้อได้ทางไปรษณีย์
และแค็ตตาล็อกระบบออนไลน์ด้วย
โฮวาร์ด ชูลทส์ (Howard Schultz) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ สตาร ์บัคส์
มีแผนการเทกโอเวอร์ครั้งใหญ่ ซึ่งจะนำกิจการแห่งซีแอตเติลให้มีร้านจำหน่ายให้ได้ถึง
20,000 แห่งทั่วโลก
กลยุทธ์ของสตาร์บัคส์นั้น เรียบง่าย กล่าวคือ สร้างชื่อสินค้า ไปทั่วทุกหนแห่ง
สตาร์บั คส์จึงร่วมมือกับคราฟต์ ฟูดส์ (Kraft Foods) จำหน่ายกาแฟตามร้านค้าปลีกในสหรัฐฯ
และร่วมมือกับอัลเบิร์ตสัน (Albertson) เปิดบาร์จำหน่ายกาแฟภายในซูเปอร์มาร์เก็ต
กว่าร้อยแห่ง สตาร์บัคส์ยัง จำหน่ายเครื่อ งดื่มเย็น "Frappuccino" ร่วมกับเป๊ปซี่
โค. และไอศกรีมกาแฟราคา แพงร่วมกับเดรเยอร์ (Dreyer) นอกจากนั้น สตาร์บัคส์ยังอาศัยทักษะความชำนาญด้านค้าปลีก
ที่มีอยู่ จำหน่ายเกมส์ ซีดี และสินค้าอื่นภายในร้าน และ ได้เริ่มทดลองตลาดอาหารเช้า
อาหารกลางวัน และ อาหารเย็นราคาแพงในบางเมืองของสหรัฐฯ ด้วย
ความเป็นมา
สตาร์บัคส์ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1971 ในซีแอตเติล โดยคอกาแฟสามคนคือ กอร์ดอน
โบเคอร์ (Gordon Bowke r) เจอรี บัลด์วิน (Jerry Baldwin) และซิฟ ซีเกิล
(Ziv Siegle) และใช้โลโกเป็นรูปไซเรนสองปลาย ที่โดดเด่น ทั้งสามตั้งเป้าหมายว่าจะจำหน่ายกาแฟชั้นเลิศ
และถั่วอย่างดี ต่อมาในปี 1982 สตาร์บัคส์ก็มีสาขาห้าแห่ง และจำหน่ายกาแฟให้ร้านอาหาร
และซุ้มเอส เปรสโซในซีแอตเติล และปีนั้น เอง ที่โฮเวิร์ด ชูลทส์เข้ามาร่วมงานกับสตาร์บัคส์
โดยบริหารงานด้านการตลาด และค้าปลีก
เมื่อชูลทส์เดินทางไปอิตาลีใน ปีถัดมา และ พบว่าบาร์กาแฟนั้น เป็นที่นิยมอย่างมาก
เขาจึงเสนอให้ สตาร์บัคส์เปิดบาร์กาแฟในเมืองซีแอตเติลในปี 1984 ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จ
ชูลทส์ตัดสินใจ ลาออกจากบริษัทในปี 1985 เพื่อไปเปิดบาร์กาแฟของตนเอง ใช้ชื่อว่า
"อิล จิออร์เนล" (Il Giornale) และจำหน่ายกาแฟของสตาร์บัคส์
ต่อมา สตาร์บัคส์พบปัญหายุ่งยากเนื่องจากไม่สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้
จึงต้องขายกิจการขายส่งไปในปี 1987 อีกหนึ่งปีให้หลัง อิล จิออร์เนลก็ซื้อกิจการค้าปลีกของ
สตาร์บัคส์ไว้เป็นมูลค่า 4 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อกิจการเป็น "สตาร์บัคส์
คอร์ปอเรชัน" เตรียมขยายกิจการทั่วทั้งสหรัฐฯ และได้เปิดร้านในชิคาโก และแวนคูเวอร์
สตาร์บัคส์ยังได้เริ่มจัดพิมพ์แค็ตตาล็อก สั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ครั้งแรกใน
ค.ศ.1988 ด้วย ส่วนเจ้าของกิจการ สตาร์บัคส์เดิมก็ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟ
ที่เหลืออยู่ ในชื่อ "พีท" สคอฟฟี แอนด์ ที"
ในช่วงทศวรรษ 1980 สตาร์บัคส์ ประสบขาดทุน เนื่องจากไปมุ่งเน้นอยู่แต่เรื่องการขยายกิจการ
กล่าวคือ ขยายจำนวนร้านสาขาถึงสามเท่าตัวเป็น 55 แห่งในช่วงระหว่างปี 1987-
1989 ชูลทส์แก้ปัญหาด้วยการจ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาดูแลร้านของสตาร์บัคส์
จนในปี 1991 บริษัทก็เป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกของสหรัฐฯ ที่จัดสรรหุ้นให้กับพนักงาน
สตาร์บัคส์นำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์ และเปิดร้านในห้างสรรพสินค้า "นอร์ดสตรอม"
(Nordstrom"s) ในปี 1992 หลังจากนั้น ก็ทะยอยให้บริการตามร้านหนังสือบาร์นส์
แอนด์ โนเบิล (Barnes & Noble) จนกระทั่งมีร้านจำหน่ายกาแฟอยู่ถึงราว 275
แห่งในปลายปี 1993
ปีถัดมา สตาร์บัคส์ลง นามตกลงเป็นผู้จำหน่ายกาแฟในโรงแรมเครือ ไอทีที/เชอราตัน
( ซึ่งต่อมาสตาร์วูด โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ต ซื้อกิจการไป) หลังจากนั้น สตาร์บัคส์ก็ทำเงินได้อีกจากการจำหน่ายคอมแพ็ค
ดิสก์ ซึ่งรวบรวมจากเพลง ที่ลูกค้าร้านสตาร์บัคส์นิยมฟังนั่นเอง ในปี 1995
สตาร์บัคส์ก็ ร่วมมือกับเป๊ปซี่โค. พัฒนากาแฟบรรจุขวด และตกลงผลิตไอศกรีมราคาแพงร่วมกับดรีเยอร์
สตาร์บัคส์ขยายกิจการเข้าไปในญี่ปุ่น และสิงคโปร์ใน ค.ศ.1996 ในปีนั้น เองบริษัทได้ริเริ่ม
"Caffe Starbucks" ซึ่งเป็นบริการระบบ ออนไลน์ โดย อาศัยเครือข่ายของ เอโอแอล
หลังจากนั้น สตาร์บัคส์ก็เริ่มทดสอบตลาด กาแฟคั่วบด และถั่วชนิดต่างๆ ในซูเปอร์มาร์เก็ตในชิคาโก
เมื่อสองปีที่แล้ว สตาร์บัคส์ซื้อกิจการ "ซีแอตเติล คอฟฟี" ซึ่งมีสำนักงาน
ใหญ่ในสหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 86 ล้านดอลลาร์ และได้ประกาศแผนที่จะจำหน่ายกาแฟใน
ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วสหรัฐฯ โดยร่วมมือกับคราฟต์ ฟูดส์
ปีที่แล้ว สตาร์บัคส์ซื้อบริษัทจำหน่ายชา "ทาโซ" (Tazo) แห่งโอเรกอน อีกทั้งยังซื้อกิจการ
"เฮียร์ มิวสิค" (Hear Music) ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกเกี่ยวกับดนตรี และได้เปิดร้านสาขาแห่งแรกในจีน
ขณะเดียวกัน ชูลทส์ก็ ได้ปรับลดแผนดำเนินการธุรกิจทางอินเตอร์เน็ตลง หลังจาก
ที่นักลงทุน และนักวิเคราะห์เริ่มตั้งข้อสงสัยถึงความเหมาะสม
ในปีนี้ สตาร์บัคส์ได้ร่วมมือกับ Kozmo.co m ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน
โดยให้ลูกค้าของ Kozmo.com ส่งคืนวิดีโอ ที่เช่าไว้ได้ในกล่องรับคืน ภายในร้านสตาร์บัคส์
ส่วน Kozmo.com ก็จะเพิ่มรายชื่อ สินค้าของสตาร์บัคส์ในบริการจัดส่งสินค้าของตน
ซึ่งมีทั้งขนมขบเคี้ยว ซีดี และนิตยสาร