|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บอร์ดสภาพัฒน์อนุมัติทีโอที "พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต" วงเงิน 4.7 พันล้าน แผนลงทุน 4 ปี หวังทดแทนแผนการขยายเครือข่ายเดิม รองรับความต้องการ กำหนดให้ทีโอทีปรับปรุงยุทธศาสตร์การตลาด พัฒนาคุณภาพบริการในเชิงรุก พร้อมเห็นชอบยกเลิกเปิดพื้นที่อนุรักษ์ทำเหมืองแร่
วานนี้ (4 ก.พ.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ สศช.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบวงเงินลงทุน 4,765 ล้านบาท ในแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการขยายโครงสร้างบรอดแบนด์ไอพี อินเทอร์เน็ต ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เสนอแผนการลงทุน 4 ปี (2550-2554)
ทั้งนี้ เป็นการทดแทนแผนการขยายเครือข่ายเดิม เพื่อให้มีการขยายความต้องการจากเครือข่ายมากขึ้นโดยทีโอทีจะต้องปรับปรุงยุทธศาสตร์การตลาด การพัฒนาคุณภาพการบริการในเชิงรุก ลักษณะของมืออาชีพ เป็นต้น
แผนการลงทุนดังกล่าวจะเป็นการขยายโครงสร้างของทีโอที ที่พบว่าปี 2550 มีค่าการตลาดที่ 34% และขยายตัวจากโครงสร้างอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ จาก 5 แสนหน่วย เป็น 1.342 ล้านหน่วย รวมทั้งจะสามารถเพิ่มจาก 32 บิต เป็น128 บิตด้วย
ก่อนหน้านี้ สภาพัฒน์คาดว่า การลงทุนในประเทศจะฟื้นตัวในปี 2551 โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่กำหนดวงเงินเกือบ 3 แสนล้านบาท โดยโครงการลงทุนใหม่ๆ นอกจาก การบินไทย (THAI) มีการจัดหาเครื่องบิน A330-300 จำนวน 8 ลำ วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 19,156 ล้านบาท แล้ว ทีโอที 14,619 ล้านบาท ซึ่งจะใช้ในโครงการขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ไอพี 4,765 ล้านบาท นี้ด้วย
ยกเลิกเปิดพื้นที่อนุรักษ์ทำเหมืองแร่
นายอำพนกล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบแผนการทำเมืองแร่ทองคำ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ สศช. ดำเนินการศึกษาและเสนอแนะนโยบายในการสำรวจและการทำเหมืองแร่ทองคำใน 3 มติ ประกอบด้วย มติที่ 1 ทบทวนผลประโยชน์ตอบแทน ในการออกอาชญาบัตรสำรวจแหล่งแร่ทองคำ และการให้สัมปทาน โดยเฉพาะอัตราการเก็บผลประโยชน์ในการสัมปทานขณะนี้ไม่ต่ำกว่าประเทศในระดับสากล ในอัตราก้าวหน้าที่เป็นตัวเลขของธนาคารโลก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 สูงสุดระหว่าง 2.5%-20% ของรายได้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วไทยถือว่าอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียง โดยขยับตามอัตราของทองคำในระดับปานกลาง ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ประเทศ 300 ล้านบาทต่อปี
มติที่ 2 มิติด้านสังคม ชุมชน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ประชุมเห็นว่า ควรยกเลิกการทำสัมปทานการสำรวจในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 (ระดับ 1A หรือพื้นที่อนุรักษ์) เพราะหากสำรวจแล้วพบว่า หากเป็นพื้นที่ 1A ก็จะต้องไปขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก็จะทำให้เกิดปัญหา ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะเปิดการทำสัมปทานเหมืองแร่ในพื้นที่ 1A นอกจากนั้นยังเห็นควรให้ความสำคัญการฟื้นฟูแหล่งแร่หลังการดำเนินการ เพราะค่าการฟื้นฟูอาจจะได้ผลประโยชน์มากกว่าการสัมปทาน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะรับไปศึกษารายละเอียดในการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนให้คุ้มค่า โดยคิดถึงผลกระทบโดยฟื้นฟูแหล่งแร่ให้กลับมาเหมือนเดิม โดยเฉพาะการหารือกับชุมชนก่อนออกสัมปทานตามรัฐธรรมนูญปี 2550
และมติที่ 3 ผลประโยชน์ตอบแทนต่อรัฐที่เหมาะสมคุ้มค่าต่อการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ประชุมเห็นควรให้ดำเนินการเพิ่มมูลค่าเพิ่มในการทำเหมืองแร่ในประเทศ มากกว่าการส่งออกแร่ดิบ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องไปพิจารณาในการทำอุตสาหกรรมต่อเนื่องในการทำเหมืองแร่ให้อยู่ในประเทศมากขึ้น
|
|
|
|
|