|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติไม่หวั่นปัญหาซับไพรม์กระทบระบบสถาบันการเงินไทย เหตุการปล่อยสินเชื่อไม่ได้สูงมากเหมือนกับสหรัฐฯ เชื่อปี 51 เศรษฐกิจดีช่วยเสริมรายได้ประชาชนเพิ่มและลดแรงกดดันเอ็นพีแอลพุ่ง แต่ยังคงเฝ้าระวังและควบคุมการแก้ไขหนี้อย่างจริงจัง ขณะที่กระแสจับคู่พันธมิตรต่างชาติ ขณะนี้กำลังพิจารณารูปแบบในแง่นโยบาย พร้อมทั้งเปิดช่องว่างต่างๆ หวังเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดประสิทธิภาพกับสถาบันการเงินไทย
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่เกิดปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อย คุณภาพ(ซับไพรม์)ในสหรัฐฯขึ้น และส่งผลให้สินเชื่อบางประเภทในสหรัฐฯชะลอตามไปด้วยนั้น แต่ในส่วนของประเทศไทยคิดว่า ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะปัญหาดังกล่าวแยกกันชัดเจน ขณะเดียวกันการขยายตัวของสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไม่สูงนัก ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4-5%ในปีก่อน จึงมองว่าปัญหาเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับไทย
ทั้งนี้ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯมีเศรษฐกิจและอัตราการขยายตัวสินเชื่อที่เติบโตในสัดส่วนที่สูง และส่งผลให้ 3 ภาคธุรกิจหลัก ซึ่งได้แก่ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจสถาบันการเงิน และสินเชื่อส่วนบุคคลมีอัตราการการขยายตัวตาม แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มมีปัญหา ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบก่อนและเริ่มเข้าสู่ภาคสถาบันการเงิน จึงต้องติดตามดูต่อไปว่าการขยายตัวของสินเชื่อสหรัฐฯในภาคอื่นๆจะไปในทิศทางไหน โดยเฉพาะธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งขณะนี้ทุกคนก็มีการจับตาอย่างใกล้ชิด
“ในปีที่แล้วอัตราการขยายตัวของสินเชื่อของไทยไม่สูงมากนัก จึงไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ก็ต้องติดตามดูต่อไปว่าเมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวมากขึ้นจะส่งผลให้สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสินเชื่อด้านบริโภคจะขยายตัวมากหรือไม่”
รองผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า แม้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์ ยังคงประคองตัวเองไปได้ในช่วงไตรมาส 4 ของปีก่อน แต่เมื่อปีนี้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น จะเป็นปัจจัยช่วยเสริมให้รายได้ของประชาชนสูงขึ้น อาจเป็นผลดีให้แรงกดดันต่อหนี้เอ็นพีแอลลดลงได้ อย่างไรก็ตาม แม้ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อมาก แต่ก็ควรรักษามาตรฐานการปล่อยสินเชื่อด้วย เพื่อช่วยดูแลไม่ให้มีแรงกดดันหนี้เอ็นพีแอลไหลกลับเข้ามาใหม่
“จากเศรษฐกิจในปีก่อน ทำให้หนี้เอ็นพีแอลมีข้อจำกัดมากขึ้นในการเพิ่มขึ้น แม้ตัวเลขเอ็นพีแอลไม่ลดต่ำกว่า 2% ขณะเดียวกันแบงก์ก็มีการดูแลตัวเองดีเช่นกันจากการบริหารจัดการที่เข้มข้นขึ้น เช่น การตัดหนี้เสียขายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ทิ้งไปบ้าง ทำให้ภาระระดับเอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์ลดลง และในปีนี้ก็เชื่อว่ายอดเอ็นพีแอลจะลดลง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการพูดตัวเลขด้านเป้าหมายในแง่ของนโยบาย แต่เราจะพยายามที่จะเฝ้าระวังและแก้ไขหนี้เอ็นพีแอลอย่างจริงจัง”
ส่วนกระแสที่มีการจับคู่พันธมิตรใหม่ระหว่างสถาบันการเงินไทยกับนักลงทุนต่างชาตินั้น นายบัณฑิต กล่าวว่า ระบบการเงินไทยเป็นสิ่งที่น่าสนใจของธุรกิจการเงินระหว่างประเทศอยู่แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเติบโตดี ประกอบกับไทยอยู่ในแถบภูมิภาคเอเชียที่มีอัตราการการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่มีการออมมากและมีการบริหารจัดการการออมที่ดี รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ทำให้แง่ของบทบาทและศักยภาพทางธุรกิจของธุรกิจไทยที่เกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นที่น่าสนใจของธุรกิจการเงินระหว่างประเทศที่อยากจะเข้ามาร่วมทำธุรกิจในไทยมากขึ้น
“คน(นักลงทุนต่างชาติ)ที่อยู่แล้วก็อยากที่จะทำธุรกิจกว้างขึ้น ขณะเดียวกันคนที่ยังไม่ได้ทำอยู่ก็อยากจะเข้ามา โดยเรากำลังพิจารณาประเด็นช่องว่างต่างๆ ของธนาคารต่างชาติที่ต้องการของการเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ทิศทางระบบการเงินเรามีองค์ประกอบที่มีผู้เล่นไทยและต่างชาติที่มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งดูทั้งประสิทธิภาพและใช้การแข่งขันเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ จึงอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารูปแบบต่างๆ ในแง่ของนโยบาย”
|
|
 |
|
|