เจ้าหนี้ลงมติเลือก "ผู้บริหารแผนไทย" เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ทีพีไอรายใหม่
ตามโผ ด้วยเสียง ท่วมท้น 99.68% มูลหนี้รวม 8.97 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งตั้งเป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้
จพท. โดยเมินคำคัดค้านลูกหนี้ ที่ต้องการให้ตัวแทนภาครัฐเป็นที่ปรึกษาแทน "ประชัย"
โวย จพท.หมิ่นศาล และขัดขวางการทำงานของลูกหนี้มาตลอด ด้านเจ้าหนี้ยันปล่อยกู้เงินทุนหมุนเวียน
80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากศาลตั้งผู้บริหารแผนไทยวันที่ 11 มิ.ย.นี้ หลังระงับเงินก้อนนี้
ช่วงประชัยบริหารแผนชั่วคราว
วานนี้ (2 มิ.ย.) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) จัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ
รายใหม่ของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) หลังจากเลื่อนลงมติ
2 ครั้ง โดยคณะกรรม การเจ้าหนี้ ยืนยันจะเสนอบริษัท ผู้บริหารแผนไทย จำกัดเป็นผู้บริหารแผนรายใหม่
ขณะที่ลูกหนี้เสนอทีพีไอบริหารแผนฯ
ผลการลงมติของเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ เลือกบริษัท ผู้บริหารแผนไทย จำกัด เป"นบริหารแผนฯ
รายใหม่ตามโผ คิดเป็นมูลหนี้รวม 8.97 หมื่นล้านบาท หรือ 99.68% ของมูลหนี้ มีเพียงเจ้าหนี้
2 รายที่ลงมติเลือกทีพีไอ บริหารแผนฯ คิดเป็นมูลหนี้ 286 ล้านบาท หรือ 0.32%
จพท.จะนำผลการลงมติดังกล่าว เสนอศาลล้มละลายกลาง เพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอรายใหม่วันที่
11 มิ.ย.นี้
นอกจากนี้ จพท. ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในช่วงที่ศาลได้แต่งตั้งให้เป็นผู้บริหาร
แผนชั่วคราวร่วมกับลูกหนี้ ทางลูกหนี้ไม่สามารถ ชำระดอกเบี้ยค้างจ่ายให้กับเจ้าหนี้
Tier 1 ในเดือนเม.ย.และพ.ค.ที่ผ่านมาเนื่องจากกระแสเงินสดไม่เพียงพอ
ลูกหนี้ได้ขอให้จ่ายค่าจ้างผู้บริหารแผนชั่วคราวรวมเป็นเงิน 7.5 ล้านบาท ซึ่งจพท.ได้เสนอให้ศาลพิจารณาแล้ว
แต่ยังไม่มีคำสั่ง ส่วนที่ลูกหนี้ขอให้จ่ายค่าที่ปรึกษาทางกฎหมายและการประเมินฐานะของทีพีไอ
ทางจพท.ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่ใช่การดำเนินการค้าปกติ
ขณะที่สหภาพแรงงานทีพีไอ ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า
จพท. ไม่มีความรู้ธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรที่มีความซับซ้อน จึงควรมีคณะทำงานที่มีความรู้
ความสามารถติดตามการทำงานของผู้บริหารแผนเพื่อรายงาน ดังนั้น จึงขอให้ที่ประชุมลงมติตั้งที่ปรึกษาทางธุรกิจให้กับจพท.ระหว่างการเป็นผู้บริหารแผนร่วมชั่วคราว
โดยกลุ่มเจ้าหนี้ได้เสนอให้บริษัท ผู้บริหารแผนไทย เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ แต่
นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารลูกหนี้ ได้คัดค้าน โดยให้เหตุผลว่าบริษัทได้ดังกล่าวยังไม่เคยมีผลงานว่ามีความรู้ในเรื่องอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมี และยังไม่ได้มีคำสั่งจากศาล ซึ่งลูกหนี้ยังไม่เห็นชอบกับการตั้งบริษัทดังกล่าวเป็นผู้บริหารแผนฯ
ดังนั้นลูกหนี้ขอเสนอให้ตั้งคนกลางซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของภาครัฐเข้ามาเป็นที่ปรึกษาของจพท.เพราะเห็นว่าจะมีความเป็น
กลางมากที่สุด
แต่ในที่สุดที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง 99.4% คิดเป็นมูลหนี้
7.50 หมื่น ล้านบาท เลือกบริษัทผู้บริหารแผนไทย เป็นที่ปรึกษา และเจ้าหนี้ที่มีมูลหนี้
282 ล้านบาท หรือ 0.36% มีมติเลือกเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นที่ปรึกษาและมีเจ้าหนี้งดออกเสียงคิดเป็น
12.40 ล้านบาท
ทีพีไอชี้จพท.หมิ่นศาล
นายประชัย กล่าวภายหลังการประชุมฯว่า ตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 21
เม.ย. ระบุว่าผู้บริหารแผนรายใหม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากลูกหนี้ ซึ่งคณะกรรมการเจ้าหนี้ได้เสนอบริษัท
ผู้บริหารแผนไทย เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอนั้น โดยไม่ได้รับความเห็นชอบของลูกหนี้
ตลอดระยะเวลา 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังได้รับคำสั่งจากศาลให้ผู้บริหารลูกหนี้และจพท.
ร่วมกันเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว ปรากฏว่า จพท. ได้ประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการมาตั้งแต่ต้น
ขัดขวางการทำงานของลูกหนี้ โดยการดำเนิน การทุกอย่าง จพท.จะต้องขออนุมัติจากอธิบดีกรมบังคับคดี
ซึ่งตำแหน่งอธิบดีกรมบังคับคดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องการบริหารแผนของทีพีไอ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่หมิ่นศาล
และอยากขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเข้ามาดูแลด้วย
นอกจากนั้น จพท.ยังไม่ยอมเซ็นจ่ายเงินเดือนให้กับผู้บริหารลูกหนี้ ซึ่งเป็นผู้บริหารแผนฯ
ชั่วคราวที่เสนอไปเพียง 7.5 ล้านบาท ต่ำกว่าบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สที่คิดค่าใช่จ่ายบริหารสูงถึง
46 ล้านบาท รวมถึงไม่จ่ายเงินเดือนให้กับการจ้างผู้ตรวจสอบสินทรัพย์ของบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งลูกหนี้มาโดยตลอด
"จพท.กลั่นแกล้งทำให้ผู้บริหารแผนชั่วคราวไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งถือว่าเป็นการประพฤติมิชอบ
ขอให้จพท.มีความเป็นกลางมาก นี้ เหตุผลที่กลั่นแกล้งลูกหนี้ เพราะกลัวจะไปขุ้ยเขี่ยเรื่องที่คณะกรรมการเจ้าหนี้สร้างความเสียหายอย่างมากให้ทีพีไอ"
นายประชัยกล่าว
สำหรับการแต่งตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่นั้น คงจะต้องรอคำสั่งของศาลล้มละลายกลางในวันที่
11 มิ.ย.นี้ เพราะเจ้าหนี้จะสามารถเลือกใครเป็นผู้บริหารแผนก็ได้ แต่ถือว่าเป็นการกระทำที่ฝืนต่อคำแนะนำของศาลที่แนะนำว่า
ผู้บริหารแผนใหม่ ควรได้รับความเห็นชอบจากลูกหนี้ และตัวแทนจากภาครัฐ
เจ้าหนี้ปล่อยกู้ 80 ล้านดอลลาร์
นายมังกร เกรียงวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผู้บริหารแผนไทย จำกัด กล่าวว่า
ขณะนี้เจ้าหนี้ได้ยืนยันว่าจะปล่อยสินเชื่อเงินทุน หมุนเวียนจำนวน 80 ล้านดอลลาร์อีกครั้ง
หากศาลฯมีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารแผนไทย เป็นผู้บริหารแผนทีพีไอคนใหม่หลังจากที่ระงับการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวมาตั้งแต่ศาลสั่งถอนเอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์สออกจากการเป็นผู้บริหารแผนฯเมื่อวันที่ 21 เม.ย.
วงเงินจำนวน 80 ล้านดอลลาร์ดังกล่าวจะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการสั่งซื้อวัตถุดิบ
เช่น น้ำมันดิบ คาดว่าจะทำให้กำลังการกลั่นทีพีไออยู่ที่ 1 แสนบาร์เรล/วัน ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ
ดังนั้นจำเป็นต้องหาเงินกู้เพิ่มเติมอีก 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาใช้ซื้อน้ำมันดิบเพื่อกลั่นน้ำมันให้ได้
1.25 แสนบาร์เรล/วัน และใช้ในการ บำรุงรักษาเครื่องจักร เพราะที่ผ่านมา ทีพีไอใช้เงิน
ไม่ถึง 1% ของสินทรัพย์ก่อนหักค่าเสื่อมที่เดิมมีอยู่ถึง 8 หมื่นล้านบาทในการบำรุงรักษาเครื่อง
จักร ซึ่งปัจจุบันควรต้องใช้เงินถึง 3% ของสิน ทรัพย์ก่อนหักค่าเสื่อม
อย่างไรก็ตาม การจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมนั้น แผนฟื้นฟูกิจการฯเปิดช่องให้ทำได้
โดยผู้บริหาร แผนสามารถหาเงินกู้เพิ่มเติมได้อีก 250 ล้านดอลลาร์ คงต้องหารือกับคณะกรรมการเจ้าหนี้ต่อไป
"การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องเกิด ขึ้น เพราะแผนปัจจุบันไม่สามารถทำได้สำเร็จ
คง ต้องมีการแก้ไขหลายจุด อาทิ ในแผนปรับโครง สร้างหนี้ระบุว่าปีนี้ EBITDA จะอยู่ที่
200 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่หนี้สินทีพีไอสูงถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นอัตราระหว่างกำไรและหนี้จึงไม่สมดุลกัน"
มั่นใจศาลสั่งตั้งผู้บริหารแผนไทย
นายสตีเฟ่น มิลเลอร์ เจ้าหน้าที่กฎหมาย บริษัท จอห์นสัน สโต็คส์ แอนด์ มาสเตอร์
ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการฝ่ายเจ้าหนี้ กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่ศาลล้มละลายกลางจะไม่มีมติรับผู้บริหารแผนใหม่
ตามที่มีการโหวต เพราะโครงสร้างบริษัท ผู้บริหารแผนไทยนั้นน่าจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
โดยมีคัดเลือกบุคคล เช่น นายสุวรรณ วลัยเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และนายมังกร เกรียงวัฒนา
ก็เคยอยู่ในทีพีไอมานานถึง 17 ปี จึงไม่ทราบว่าเหตุผลว่า ทำไมนายประชัย ไม่ยอมรับผู้บริหารแผนไทย
นายอภิชาติ พันธุ์เกษร ทนายความของคณะกรรมการเจ้าหนี้ กล่าวว่า การแต่งตั้งผู้บริหารแผนทีพีไอคนใหม่ในวันที่
11 มิ.ย.นี้ ยังไม่เห็นเหตุผลที่ศาลจะมีคำสั่งไม่แต่งตามที่เจ้าหนี้ลงมติไป หากศาลใช้ดุลยพินิจ
โดยมีคำสั่งไม่แต่งตั้งผู้บริหารแผนไทย คงต้องจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อคัดเลือกผู้บริหารแผนใหม่อีกครั้ง
"การแก้ไขปัญหาทีพีไอในภาพรวมคงทำไม่ได้ แต่ถ้าแก้ไขทีละเรื่อง ก็ทำได้
ดังนั้นอยากศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารแผนไปก่อน แล้วค่อย มาแก้ไขปัญหาไปทีละประเด็นมิฉะนั้นมันก็ล็อกกันอยู่อย่างนี้"นายอภิชาติกล่าว
ความเคลื่อนไหวของหุ้น TPI วานนี้ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ปิดตลาดที่ 5.25 บาท ลดลง
15 สตางค์ ลดลง 2.78% มูลค่าการซื้อขาย 302.76 ล้านบาท