Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539
เกมเดิมพันฝีมือของ เกรียงศักดิ์ แสงทอง             
โดย สมสมัย ศักดาวัฒนานนท์
 

 
Charts & Figures

โครงสร้างธุรกิจในกลุ่มอินช์เคป ประเทศไทย


   
search resources

อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง
เกรียงศักดิ์ แสงทอง




เมื่อปีเตอร์ อาร์ แมคเครดี้ ประธานบริษัทอินช์เคป ประเทศไทย ต้องย้ายไปรับงานใหญ่คือเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขานรับแผนการขยายอาณาจักรของอินช์เคปในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยเป้าหมายรวมคือให้เติบโตไปพร้อมๆกันทั่วประเทศแล้ว

ในวันนี้องค์กรการค้าเก่าแก่ที่มีอายุการดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานถึง 140 ปีและมียอกขายสูงถึง 10,000 ล้านบาทจึงมีชื่อของเกรียงศักดิ์ แสงทอง อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท เอวอน คอสเมติคส์ (ประเทศไทย) จำกัดเข้ามาอยู่ในทำเนียบในฐานะคนไทยคนแรกที่ก้าวแรกที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในเดือนมกราคมปี 2538 หลังการเข้าร่วมงานกับอินช์เคป ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง จำกัดมาได้ 1 ปี

ทันทีที่เกรียงศักดิ์รับตำแหน่งประธานบริหารอินช์เคป ประเทศไทยเขาประกาศถึงเป้าหมายของอินช์เคป ประเทศไทยคือการนำกลุ่มธุรกิจอินช์เคปก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ในฐานะบริษัทจัดจำหน่าย โดยปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจบบริหารทางการตลาดออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มอุตสาหกรรรม (ดูรายละเอียดจากตาราง)

เป็นที่น่าสังเกตว่าในส่วนของกลุ่มธุรกิจงานบริการ ซึ่งเป็นขาหยั่งที่ 2 ของอินช์เคป ประเทศไทยนั้นไม่ได้อยู่ในความดูแลของเกรียงศักดิ์ แต่กลับเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องรายงานตรงไปยังสำนักงานต่างประเทศ

"เพราะเราต้องการรุกในส่วนของกลุ่มธุรกิจบริการทางการตลาด ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับอินช์เคป ประเทศไทยและเป็นตลาดยุทธศาสตร์ของเรา" เกรียงศักดิ์กล่าว ขณะที่แหล่งข่าวในอินช์เคปให้ทัศนะว่าเป็นเพราะกลุ่มธุรกิจงานบริการนั้นเกรียงศักดิ์ยังไม่มีประสบการณ์ต่างหาก

ระยะเวลา 1 ปีกับตำแหน่งประธานบริหารและ 2 ปีกับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง จำกัด ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มความเข้มข้นขึ้นทุกขณะ เกรียงศักดิ์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าเขาพร้อมแล้วที่จะนำอินช์เคป ประเทศไทย สร้างมิติใหม่ที่พลิกบทจากองค์กรเก่าแก่สู่องค์กรที่มีความทันสมัยรองรับการแข่งขันที่กำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบแตกต่างไปจากอดีต

มิติใหม่ของอินช์เคปภายใต้การกำกับของเกรียงศักดิ์ แสงทองในช่วง 2 ปีที่เข้ามาร่วมงานภายใต้ชายคาของอินช์เคปคือการปรับเปลี่ยนและมุ่งพัฒนาใน 4 ประเด็นหลักคือ

1. การยกเครื่ององค์กรหรือรีเอ็นจิเนียริ่ง โดยเน้นการลดความซับซ้อนของโครงสร้างการบริหารภายใน ปรับวัฒนธรรมภายในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือมองลูกค้าเป็นใหญ่

เมื่อปีที่ผ่านมาอินช์เคปว่าจ้างบริษัทเพียต (PEART) จากประเทศอังกฤษเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการปรับโครงสร้างการบริหารฝ่ายขายใหม่ในกลุ่มธุรกิจบริการทางการตลาดทั้งหมด ใช้ระยะเวลา 1 ปีครึ่งซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายไตรมาสแรก ของปีนี้

"สาเหตุที่เราต้องเข้ามาปรับโครงสร้างฝ่ายขายในกลุ่มธุรกิจบริการทางการตลาด เพราะเป็นธุรกิจยุทธศาสตร์หลักของอินช์เคปนับจากนี้ไป"เกรียงศักดิ์กล่าว ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจบริการทางการตลาดของอินช์เคปประเทศไทย เป็นกลุ่มที่สร้างยอดขายเป็นอันดับ 1 ของอินชฃ์เคปในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์

2. สร้างกระบวนการทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมาเกรียงศักดิ์ตัดสินใจขายที่ดิน 31 ไร่บริเวณที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รามคำแหงให้กับบริษัทแผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ของคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ เป็นจำนวนเงิน 800 ล้านบาทเพื่อนำเงิน 400 ล้านบาทมาลงทุนด้านคลังสินค้าที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับโครงการธุรกิจบริการจัดส่งและกระจายสินค้า (LOGISTIC SERVICE)ซึ่งอินช์เคป เชื่อมั่นว่าลอจิสติกส์จะเป็นอาวุธสำคัญ ที่สร้างความได้เปรียบในการเปิดเกมรุกสู่เป้าหมายความเป็นหนึ่งในธุรกิจการจัดจำหน่ายนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

3. สร้างทีมเวิร์กเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันเป้าหมายเพื่อสู่ความเป็นหนึ่งในธุรกิจจัดจำหน่าย โดยสร้างทัศนคติส่วนรวมคือลูกค้าเป็นใหญ่

4. มองหาธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง โดยในปีนี้กลุ่มสินค้าที่ทางเกรียงศักดิ์ให้ความสำคัญคือสินค้าอุปโภคบริโภค เฮลธ์แคร์ และกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำยอดขายให้ถึง 90% ของยอดขายรวมของกลุ่มธุรกิจบริการทางการตลาด

"2 ปีที่ผ่านมาผมเน้นใน 4 ประเด็นหลัก จริงๆ ไม่ใช่ผมเป็นคนเลือกให้ทำแบบนี้แต่สถานการณ์มันบีบ การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นเป้าหมายก็เพื่อความอยู่รอดของอินช์เคปเป็นการเตรียมความพร้อมปรับเข้าสู่ธุรกิจของอนาคต ผมไม่มาอินช์เคปก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ดีมันมีแม่บทและนโยบายที่กำหนดไว้แล้ว"

แม่บทที่เกรียงศักดิ์อ้างถึงนั้นก็คือแม่บทที่เป็นวิสัยทัศน์ของปีเตอร์ อาร์แมคเครดี้ กำหนดไว้เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการเติบโตโดยรวมของอินช์เคปในภูมิภาคนี้ เมื่อครั้งที่เขายังดำรงตำแหน่งประธานบริหารอินช์เคป ประเทศไทย คือเลือกธุรกิจที่อินช์เคป ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากที่สุดกำหนดเป็นตลาดยุทธศาสตร์หลักในการขยายยอดขาย

การประกาศนำอินเคปสู่ความเป็นหนึ่งในธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายในยุคของเกรียงศักดิ์ โดยเนื้อแท้แล้วก็คือแผนการที่ถูกกำหนดไว้แล้วนั่นเอง

ปีเตอร์รู้ดีว่าการที่จะบรรลุสู่เป้าหมายอินช์เคป ประเทศไทยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เนื่องจากโครงสร้างบริหารภายในองค์กรที่เก่าแก่แห่งนี้มีความซับซ้อนและล้าสมัย เกินกว่าที่จะรับรองโครงการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่ปี 2536 สมัยที่ปีเตอร์ เริ่มเดินเครื่องการเปลี่ยนแปลงภายในด้วยการเริ่มมีการปรับเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครือ มาใช้คำว่าอินช์เคปนำหน้าและกลางปี 2536 เขาเริ่มโครงการศึกษาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบคลังสินค้าและการส่งกระจายสินค้าหรือลอจิสติกส์ด้วยความเชื่อที่ว่า ลอจิสติกส์ จะกลายเป็นหมากเด็ดในการสร้างธุรกิจจัดจำหน่ายของอินช์เคปให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง

จนในปี 2537 โครงการดังกล่าวก็พัฒนาขึ้นสู่การดำเนินการวางโครงสร้าง และพัฒนาระบบ อาทิพัฒนาเดโป้ในต่างจังหวัด และก่อสร้างคลังสินค้าบนเนื้อที่ 42 ไร่ที่บางปะอิน

ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เกรียงศักดิ์เข้ามาร่วมงานในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง จำกัด กลางปี 2537 เขาก็ประกาศที่จะรีเอ็นจิเนียริ่งอินช์เคปคอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง

"ปีเตอร์เปรียบเสมือนคนสร้างบทนำ ผมทำหน้าที่แปรบทนำมาเป็นภาคปฏิบัติ เราสองคนสามารถเชื่อมรอยต่อได้ดีมากส่งลูกกันได้ดีพอมาถึงวันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมเดินหน้า ตรงนี้จะเป็นจุดสำคัญเพราะจากนี้ไปสิ่งที่เราเตรียมการมาจะต้องมีผลลัพธ์ในเชิงพาณิชย์เป็นงานที่หนัก"

กล่าวได้ว่านับตั้งแต่เกรียงศักดิ์เข้ามาร่วมงานกับอินช์เคป พร้อมๆกับการปรับเปลี่ยนภายในที่ออกมาเป็นระลอก กระแสข่าวการลาออกของทีมงานในระดับบริหารก็เริ่มปรากฏออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2538 โดยส่วนหนึ่งกล่างว่าสาเหตุเป็นเพราะผลพวงจากการรีเอ็นจิเนียริ่ง

"เรื่องการทยอยลาออกของพนักงานในระดับบริหาร เป็นเรื่องธรรมดาขององค์กรเก่าแก่ที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนจะต้องมีทั้งคนพอใจและไม่พอใจ"

ภาพลักษณ์"พีอาร์แมน"ที่ประสบความสำเร็จสร้างความเป็นหนึ่งให้กับเอวอน กลายเป็นดาบสองคมที่ทำให้วันนี้ เกรียงศักดิ์ กลายเป็นผู้บริหารที่ถูกจับตา

ปี 2539 นับเป็นศักราชที่มีความหมายต่ออินช์เคป และเกรียงศักดิ์ แสงทอง เพราะเป็นปีที่เขาจะต้องเดินหน้าเพื่อนำอินช์เคปบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง บริษัทในเครือแห่งแรกที่ถูกยกเครื่องจะพร้อมดำเนินการภายใต้โครงสร้างใหม่ที่ลดความซับซ้อนลงในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีนี้อย่างแน่นอน ภายใต้กรรมการผู้จัดการคนใหม่คือมาร์ค เอช กริฟฟินที่เข้ามารับช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาหลังจากที่เกรียงศักดิ์นั่งควบตำแหน่งนี้นานถึงเกือบปี

กริฟฟิน นับเป็นผู้บริหารหนุ่มที่ร่วมงานกับอินช์เคปมา 6 ปีล่าสุดรับผิดชอบงานสินค้าอุปโภค รวมถึงผลิตภัณฑ์บุหรี่ สุรา เฮลธ์แคร์ ในประเทศแถบตะวันออกกลางคือเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้งนับเป็นหนึ่งบริษัทในเครือที่อินเคปมีอยู่ถึง 16 บริษัท ซึ่งขณะนี้เกรียงศักดิ์เริ่มที่จะเข้าไปปรับโครงสร้างในส่วนที่เหลือเพื่อให้การทำงานเป็นในลักษณะรูปลักษณ์เดียวกัน

ขณะเดียวกัน อินช์เคป ลอจิสติกส์ (INCHCAPE LOGISTICS)ซึ่งเป็นระบบคลังสินค้าและเครือข่ายกระจายสินค้ามูลค่า 400 ล้านบาท ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยปีเตอร์ ได้เสร็จสมบูรณ์ในยุคของเกรียงศักดิ์ โดยขณะนี้เริ่มเดินเครื่องในเขตกรุงเทพฯ แล้ว และคาดว่าจะสามารถขยายบริการไปยังต่างจังหวัดได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ นับเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ของการบริการด้านคลังสินค้า และเครือข่ายการกระจายสินค้าที่จะมีบทบาทสำคัญในธุรกิจค้าปลีกเมืองไทยในอนาคตอันใกล้ ซึ่งในต่างประเทศธุรกิจการกระจายสินค้าเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล

เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในวงการค้าปลีกที่ก้าวเข้าสู่ยุคของการบริหารต้นทุน เพื่อทำให้สินค้าราคาต่ำลง และนำมาเป็นแต้มต่อในการแข่งขันของรูปแบบร้านค้าปลีกที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งระบบคลังสินค้าและเครือข่ายกระจายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นดีซี (Distribution Center) และลอจิสติกส์จะเป็นตัวจักรที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องการลดต้นทุนสินค้าเป็นอย่างดี

อินช์เคป ลอจิสติกส์จึงกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญในการนำอินช์เคปประเทศไทยสู่ความเป็นหนึ่งด้านธุรกิจจัดจำหน่ายเกรียงศักดิ์ถึงกับเผยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่เขาต้องทุ่มเทให้กับโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยอาศัยช่องว่างคือ ยังเป็นธุรกิจบริการในคอนเซ็ปต์ใหม่ที่อินช์เคปมีความได้เปรียบคือเสร็จสมบูรณ์ก่อนรายอื่นมาเป็นจุดแข็งในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ

อินช์เคป ลอจิสติกส์เป็นแนวคิดของ "การบริการที่ต่อเนื่อง (Integrated Service Concept) ที่ประกอบด้วยศูนย์ส่งกระจายสินค้ากลาง (Distribution Center) ตั้งอยู่ที่บางปะอินบนพื้นที่ 42 ไร่ ซึ่งทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์และทำงานด้วย เทคโนโลยีทันสมัย คลังสินค้าย่อยหรือเดโป้ 12 แห่งทั่วประเทศ ที่กรุงเทพฯ 3 แห่งคือสาธร หัวหมาก และหลักสี่และต่างจังหวัด 9 แห่ง คือ เชียงใหม่ นครปฐม ขอนแก่น โคราช ชลบุรี พิษณุโลก สุราษฎร์ธาน๊ ภูเก็ต และหาดใหญ๋

และเป็นหน่วยงานที่แยกตัวออกมาเป็นเอกเทศ โดยส่วนหนึ่งทำหน้าที่กระจายสินค้าให้กับ 7บริษัทในเครือคืออินช์เคปคอนซูเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง, อินช์เคป เฮลธ์แคร์, อินช์ เคป เทคนิเคล, อินช์เคป เอ็นจิเนียริ่ง,อินช์เคป แบรนด์ ไลฟ์สไตล์, คอลด์เบคค์ แมคเกรเกอร์ (ประเทศไทย) และบัตเลอร์ แอนด์ เว็บสเตอร์(ประเทศไทย) และอีกส่วนหนึ่งเปิดบริการให้กับบรรดาซัปพลายเออร์ทั่วไป

เกรียงศักดิ์กล่าวว่าปีนี้ต้องยอมรับว่าเป็นงานที่หนักแต่ท้าทาย อินช์เคป ลอจิสติกส์เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างเต็มตัวในปีนี้ เปรียบเสมือนมีอาวุธดีด้านการแข่งขัน เป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะเสริมให้ธุรกิจจัดจำหน่ายของอินช์เคปมีข้อได้เปรียบกว่าคู่แข่ง

"ถ้าเราไม่ลงทุนในเรื่องลอจิสติกส์เราก็อยู่ในธุรกิจจัดจำหน่ายไม่ได้ เพราะภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงมาก หากไม่เริ่มตรงนี้ด้วยระบบเก่าๆ เราคงจะต้องเสียลูกค้าและเสียโอกาสด้านการแข่งขัน"

อินช์เคป ลอจิสติกส์จึงเป็นหน่วยงานยุทธศาสตร์หลักที่จะเปิดเกมรุก 2 ส่วน คือ1. เป็นจุดขายให้กับบริษัทจัดจำหน่ายในเครือดึงลูกค้าใหม่เข้ามาเพิ่มและเป็นการให้ความได้เปรียบกับลูกค้าเก่าที่มีอยู่และ 2. มองหาลูกค้าจากภายนอกเข้ามาใช้บริการให้มากที่สุด

"เราศึกษาประโยชน์จากบริการนี้อยู่เหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาต้นทุนในส่วนค่าขนส่งสูงมาก ถ้าลอจิสติกส์สามารถลดต้นทุนด้านขนส่ง สต็อกสินค้าและส่งสินค้าได้เร็วขึ้นคิดว่าเป็นจุดที่น่าสนใจ" แหล่งข่าวในธุรกิจสินค้าบริโภคกล่าวให้ความเห็น

ท่ามกลางการแข่งขันของค่ายค้าปลีกในวันนี้เซ็นทรัลกับโรบินสันมีเดวิดโฮลดิ้งเป็นศูนย์กระจายสินค้าและเป็นแต้มต่อขณะที่เดอะมอลล์ ซีพี เอเอ็ม/พีเอ็ม ค่ายค้าปลีกขนาดกลางและเล็กจึงกลายเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของอินช์เคปทั้งสิ้น

รวมถึงบรรดาซัปพลายเออร์ที่มีสินค้าจำนวนวอลุ่มสูง ต้องการจะลดต้นทุนแต่ไม่มีศูนย์กระจายสินค้าเป็นของตนเองก็เป็นอีกกลุ่มที่มีโอกาสจะเข้ามาเป็นลูกค้าของอินช์เคปได้ในอนาคตเช่นกัน

มาถึงตรงนี้ ต้องยอมรับว่า "โอกาส" ของเกรียงศักดิ์ แสงทอง ในการนำอินช์เคปประเทศไทยสู่ความเป็นหนึ่งค่อนข้างสูงเพียงแต่ว่าจุดสำคัญคือเขาจะสามารถนำเสนอคอนเซ็ปต์ของ อินช์เคป ลอจิสติกส์ให้คู่ค้าทั้งเก่าและใหม่มองเห็นเช่นเดียวกับเขาได้หรือไม่ว่าสิ่งนี้คืออาวุธที่จะสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน

คงถึงเวลาที่จะพิสูจน์ฝีมือของเกรียงศักดิ์ แสงทอง กันแล้วว่ากับตำแหน่งประธานบริหาร อินช์เคป ประเทศไทยนั้น เขาได้มาเพราะความ "เก่ง" หรือ "เฮง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us