Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กุมภาพันธ์ 2551
ทุนโลกอัดกระแทกย้ำรอยช้ำเศรษฐกิจบทพิสูจน์ "ธปท."ตีโจทย์แก้ไขปัญหา             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




ทุนโลกที่ไหลอย่างเข้ามาบ้าคลั่งยังเอเชีย เสมือนการเข้าโจมตีจากกองกำลังพลที่มีทหารจำนวนมหาศาลเพื่อบดขยี้ประเทศในภูมิภาคแห่งนี้ให้ย่อยยับ ถือเป็นความเจ็บปวดที่ได้รับกันถ้วนหน้าสำหรับประเทศที่อยู่ในเป้าหมาย ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ว่านี้ และปีนี้ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป แม้สภาพเศรษฐกิจจะไม่ได้เอื้อให้ทุนวิ่งเข้าก็ตามที ภาวะเช่นนี้องค์กรสำคัญอย่าง"แบงก์ชาติ"ต้องเล่นบทหน่วยรบแถวหน้าสร้างกองกำลังรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ที่เฉียบคม เพื่อพยุงร่างกายที่บอบช้ำของประเทศจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยให้ขับเคลื่อนต่อไป

เหมือนอยู่ดีๆปัญหาต่างๆก็เข้ามาประจันอยู่ข้างหน้า เหตุผลหลักนั้นเพราะโลกในยุคใหม่ไร้พรมแดนขวางกั้น ที่แม้แต่เงินทุนก็ยังไร้สัญชาติ นั่นทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอีกทวีปหนึ่งกระทบมายังอีกทวีปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

เงินทุนจำนวนหมาศาลที่ไหลบ่าเข้ามายังเอเชียเป็นปัญหาใหญ่ของภูมิภาคแห่งนี้ และยิ่งสะท้อนชัดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในภาวะเปราะบางสุดๆจากหลายๆปัญหา ทั้งขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลทางการคลัง และประเด็นสำคัญสุดคือเรื่องปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ซึ่งท่าทีที่เกิดขึ้นทำให้ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (เฟด) ต้องออกมา ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 0.75% ซึ่งถือเป็นการปรับในสัดส่วนทีสูงและแรง

การที่เฟดปรับดอกเบี้ยนโยบายลงเร็ว ยิ่งตอกย้ำความชัดเจนของกระแสการไหลของเงินทุนจำนวนมหาศาล ซึ่งแน่นอนว่าเงินจำนวนดังกล่าวต้องวิ่งมาที่เอเชีย...สถานการณ์นี้เกิดขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และจะยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งนั้นหมายความถึงประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหลายด้านที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาวิกฤติเงินทุน

โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ไม่เพียงต้องเผชิญกับความผันผวนทางอัตราแลกเปลี่ยน ยังเสี่ยงกับปัญหาเรื่องออเดอร์สินค้าที่จะถูกสั่งน้อยลง เพราะคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะสหรัฐฯที่กำลังเจ็บป่วยจากพิษไข้ทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่การแข็งของค่าเงินบาท และสกุลอื่นๆในเอเชีย ที่สวนทางค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เพียงกระทบแค่ภาคเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงสังคม

จะเห็นว่าในปีที่ผ่านมา ธุรกิจรายเล็กรายย่อยได้ตายเป็นเบือไปแล้ว แม้จะมีมาตรากรออกหนุนเพื่อดันภาคธุรกิจปลาซิวปลาสร้อยแล้วก็ตาม แต่ก็ยังฉุดรั้งไม่อยู่ ทำให้ภาคธุรกิจเหล่านั้นต้องล้มละลายมีหนี้สินรัดตัว ไม่เพียงผู้ประกอบการเท่านั้นที่ต้องแย่ แต่พนักงานก็พลอยรับผลตามไปด้วย เพราะกลายเป็นบุคคลที่อยู่ในสภาพไร้งาน ปรมาจารย์นักวิชาการ ออกมาทำนายแล้วว่าไตรมาส2 ปีนี้จำนวนคนตกงานจะเพิ่มขึ้นแน่ ตราบที่รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เห็นถึงมราตรการและกลยุทธ์ที่แบงก์ชาติงัดออกมาใช้เพื่อดูแลค่าบาทและเงินทุนเคลื่อนย้าย มาตรการที่ออกมามีทั้งถูกใจและไม่ถูกใจ กล่าว่าบุคคลที่รับผลประโยชน์เต็มๆย่อมพอใจ ขณะที่บุคคลเสียผลประโยชน์ก็ย่อมไม่ถูกใจ ดั่งเช่น มาตรการกันสำรอง 30% ที่ถูกใจพ่อค้าผู้ส่งออกยิ่ง และดูเหมือนมาตรการนี้ ธปท.ออกมากล่าวว่ายังไม่พร้อมจะเลิกเพราะที่ผ่านมาก็มีการคลายเกณฑ์เข้มไปค่อนข้างมากแล้ว

"ธาริษา วัฒนเกส" ผู้ว่าการ ธปท. บอกว่า การดูแลค่าบาทและเงินทุนเคลื่อนย้าย ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในปีนี้ เพราะความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และเงินทุนที่ล้นหลาม ทำให้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลไหลเข้ามาในเอเชียมากขึ้นเพื่อแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุน ประจวบเหมาะกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยิ่งทำให้นักลงทุนตัดสินใจได้เร็วขึ้นในการเลือกแหล่งลงทุน

ธาริษา เล่าด้วยว่า ทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ยังเป็นเรื่องที่ประเมินยาก แม้ในเดือนพ.ย.50ที่ผ่านมาค่าเงินดอลลาร์จะลงไปเตะจุดต่ำสุดแล้วก็ตาม แต่ความเสี่ยงที่ค่าเงินจะผันผวนยังมีสูง ดังนั้นในส่วนของผู้ประกอบการส่งออก ควรจะบริหารความเสี่ยงด้วยการทำประกันความเสี่ยงทางการเงินไว้ด้วย

"ภายใต้อัตราแลกเปลี่ยนเช่นในปัจจุบัน เราไม่สามารถตั้งเป้าได้ว่า ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ควรอยู่ ในระดับใด แต่ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว การแข็งของค่าเงินบาทนั้นอยู่ในระดับกลาง นับตั้งแต่สิ้นปี 2550 ถึง 28 ม.ค.51 ค่าบาทแข็งขึ้น 1.4%"

ส่วนประเทศในแถบเอเชีย อย่างญี่ปุ่น แข็งค่าขึ้น 6% มาเลเซียแข็งค่าขึ้น 2.2% จีน แข็งค่าขึ้น 1.3% สิงคโปร์ 1.2% และฟิลิปปินส์ แข็งค่าขึ้น 1% โดยทั้งนี้แบงก์ชาติจะดูแลให้ค่าเงินบาทวิ่งไปในทิศทางเดียวกับประเทศแถบนี้ พร้อมกับคุมไม่ให้ผันผวนมากจนเกินไป

ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(แอกซิมแบงก์) แนะแบงก์ชาติในเรื่องการดูแลค่าเงินบาทนั้นควรหาแนวที่ที่ชัดเจนในการควบคุมไม่ให้ค่าเงินแข็งเร็วมากเกินไป และที่สำคัญควรกำหนดอีตราการแข็งค้าของเงินบาทให้ชัดเจนเหมือนที่จีนได้ทำ เช่นกำหนดว่าไม่ควรให้ค่าบาทแข็งเกิน 5-7% หรือ 2บาทต่อดอลลาร์

ให้เดาว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังคงบอบช้ำเช่นเดิม ทั้งจากฤทธิ์การเมืองที่ยังไม่นิ่งแม้จะมีการจัดตั้งรัฐบาลตามรนะบอบประชาธิปไตยแล้วก็ตาม ขณะที่อีกปัญหาใหญ่ไม่แพ้กันคือ การไหลล้นทะลักของเม็ดเงินทุนจำนวนมหาศาลเข้ายังเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้นแค่ 2 ปัจจัยนี้ก็ทำนายได้แล้วว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยท่าจะร่วงมากกว่ารุ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us