Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กุมภาพันธ์ 2551
รับเหมาไทยผวายักษ์ก่อสร้างจีนบุกชิงงานเมกะโปรเจกต์เป็นแพกเกจ             
 


   
search resources

Construction




จับตากองทัพ “รับเหมาจีน” เตรียมกวาดโครงการเมกะโปรเจคไทย โดยเฉพาะงานสร้างรถไฟฟ้า ชี้รับเหมาจีนเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด เนื่องเพราะพร้อมทั้ง “ทุน-ไฮเทคโนโลยี” แนะรับเหมาไทยขนาดใหญ่ต้องรวมตัวกันถึงจะสู้ไหว ขณะที่เลขาธิการสมาคมอุตฯ ก่อสร้างไทยวอนรัฐช่วยบริษัทไทยก่อนต่างชาติ

ปัจจุบันบริษัทรับเหมารายใหญ่ ๆ ของจีน ได้รุกเข้ามารับงานโครงการขนาดใหญ่ของไทยมากขึ้น และเป็นการเข้ามาแบบครบวงจร ทั้งเงินลงทุน งานก่อสร้าง และงานระบบ โดยเฉพาะในช่วงรัฐบาลใหม่ที่จะมีการอนุมัติการประมูลโครงการขนาดใหญ่ในไม่ช้า เป็นผลให้ผู้รับเหมาต่างตื่นตัวและเฝ้าจับตาดูการรุกคืบของยักษ์รับเหมาจากจีน เพื่อหาหนทางรับมือในครั้งนี้

รับเหมาจีนมาเป็นแพค-ตีตลาดไทยกระจุย

แหล่งข่าวในวงการรับเหมา กล่าวว่า บริษัทรับเหมาก่อสร้างจากจีนเวลานี้มีความเข้มแข็งมาก โดยเฉพาะภายหลังที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประกาศนโยบาย PPP (Private Public Partner) ที่อนุญาตให้เอกชนของประเทศต่างๆ ที่มีไฮเทคโนโลยีสามารถนำเงินมาลงทุนในโครงการใหญ่ๆ ในประเทศไทยได้ และเป็นการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จทั้งโครงการ ซึ่งก่อนหน้าเช่นการประมูลรถไฟฟ้า อาจแบ่งสัญญาเป็นรัฐลงทุนบางส่วน และให้เอกชนลงทุนบางส่วนเท่านั้น

“วิธีการประมูลในอดีตนั้นถือว่าเป็นภาระหนักให้ภาครัฐที่จะหางบประมาณมาจัดทำโครงการ ”

ขณะที่นโยบาย PPP นั้นจะสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติสามารถเข้ามาประมูลงานในไทยได้มากขึ้นในรูปแบบพันธมิตรร่วมทุน ในลักษณะสร้างเสร็จก่อนรัฐถึงจะทยอยใช้เงินคืน จุดนี้เองที่ทำให้จีนได้เปรียบผู้รับเหมาจากประเทศอื่น รวมทั้งไทยด้วย

“จีนมีพร้อมทุกอย่าง ทั้งเงินทุน ทั้งบริษัทที่ผลิตไฮเทคโนโลยีต่างๆ”

ยกตัวอย่างบริษัทที่เคยมาติดต่อขอรับงานกับภาครัฐของไทย โดยเฉพาะงานรถไฟฟ้า บริษัทของจีนก็จะมีการจับมือกันมาประมูลงาน ได้แก่ บริษัทผลิตรถไฟฟ้าของจีน บริษัทรับเหมาก่อสร้าง รวมทั้งแหล่งเงินทุนอย่างแบงค์ออฟไชน่า

อย่างไรก็ดี แนวโน้มของการประมูลงานโครงการ โดยเฉพาะโปรเจคใหญ่ๆ ของเมืองไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือกลุ่มผู้ประมูลจากประเทศจีน เพราะมีพร้อมครบวงจร โดยเฉพาะด้านการเงินที่พร้อมสนับสนุนให้บริษัทรับเหมาของจีนก่อสร้างโครงการจนเสร็จได้ ล่าสุดที่ผ่านมาในโครงการรถไฟฟ้าบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก็เป็นบริษัทจีนที่ร่วมทุนกับไทยที่ประมูลได้

“อย่าลืมว่าผู้ประมูลต้องก่อสร้างให้เสร็จ ถึงจะได้เงินจากภาครัฐไทย เหตุผลนี้เองจะทำให้คู่แข่งขันรายอื่นสู้จีนไม่ได้”

นอกจากนี้จีนก็ยังมีจุดแข็งสำคัญอีกประการคือสามารถประมูลได้ในราคาต่ำกว่าบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ด้วย แต่จีนก็ยังมีจุดอ่อน คือจีนยังไม่มีการปรับปรุงเทคโนโลยีมากนัก รวมทั้งการประเมินผล ซึ่งไทยมีจุดแข็งมากกว่า

ดังนั้นภาครัฐได้มีการแนะนำธุรกิจรับเหมาจีนว่า หากจะประมูลงานและทำงานให้สำเร็จในไทย จำเป็นจะต้องมีผู้ร่วมทุนเป็นคนไทย เพราะงานประมูลในประเทศไทยจะมีธรรมเนียมที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ ที่นักลงทุนจีนสามารถไปลงทุนได้ 100% และให้นักลงทุนจีนได้ศึกษากรณีโฮปเวลล์เป็นตัวอย่าง

สำหรับผู้รับเหมาไทย สมัยก่อนนั้นมีลักษณะการผูกขาดงาน แต่วันนี้ไม่ปรับตัวไม่ได้ เพราะจีนมีทุนมหาศาลและมาแบบครบวงจร ดังนั้นผู้รับเหมาไทยโดยเฉพาะรายย่อยควรจะร่วมทุนกันให้กลายเป็นบริษัทใหญ่ และหากบริษัทใหญ่ๆ มีการร่วมทุนกันอีกก็จะทำให้ บริษัทผู้รับเหมาไทยมีโอกาสสู้กับจีนได้มากขึ้น

ทุนหนาจุดแข็งรับเหมาจีน

อังสุรัสมิ์ อารีกุล เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าจริงๆ แล้ว บริษัทก่อสร้างของจีนได้เข้ามาในไทยกันมากตั้งแต่ก่อนที่คมช. จะเข้ายึดอำนาจเมื่อ เดือนกันยายนปี 2549 แล้ว เนื่องจากรัฐบาลยุคทักษิณ ชินวัตรได้ประกาศจัดทำโครงการเมกะโปรเจคจำนวนมาก

โดยช่วงนั้นบริษัทจีน รวมถึงกองทุนของจีนได้ให้ความสนใจในการเข้ามาเพื่อประมูลงานเมกะโปรเจคของไทยมากมาย บริษัทที่สำคัญได้แก่ China State Construction และบริษัท China Harbor เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทจีนขนาดใหญ่ เข้ามาประมูลงานรับเหมาในไทยมีประวัติยาวนาน

ขณะที่บริษัทจีน ส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดว่าจีนเป็นประเทศที่มีเงินทุนมหาศาล มีทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมาก หากรัฐบาลจีนมีการสนับสนุนธุรกิจจีนให้ไปเปิดตลาดที่ใด ก็ย่อมมีโอกาสสูง ขณะเดียวกันต้นทุนวัสดุของจีน โดยเฉพาะวัสดุที่ไทยไม่สามารถผลิตได้นั้น เช่น วัสดุเหล็กรางรถไฟ เคเบิล หรือออฟติคอลไฟเบอร์ ของจีนนั้นได้รับการยอมรับว่ามีราคาถูกที่สุดในโลก

วอนรัฐหนุนรับเหมาไทย-กันต่างชาติ

ที่สำคัญปัญหาใหญ่สุดของวงการรับเหมาไทยในเวลานี้คือการไม่มีงานป้อนสู่ตลาด

“งาน 2 ปีที่แล้วเริ่มหมดแล้ว ผู้รับเหมาไทยกำลังดิ้นเพื่อหางานต่อยอดให้กับบริษัทตัวเอง แม้จะต้องรับงานที่ได้กำไรน้อย หรือขาดทุน ก็ต้องรับมาก่อน เพราะหวังว่าวันหนึ่งจะมีงานมากขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงประสานแผลวิกฤตช่วงที่ผ่านมา”

อย่างไรก็ดี ภาครัฐควรแสดงทีท่าที่ชัดเจนที่จะช่วยเหลือผู้รับเหมาไทยก่อน เพราะศักยภาพของผู้รับเหมาไทยนั้นไม่แพ้ประเทศอื่น ทั้งเรื่องของการดีไซน์ และคุณภาพ รวมทั้งอยากให้มีการนำงานออกมาประมูลมากขึ้น เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้อีกทางด้วย

“แรงงานรับเหมาก่อสร้าง ก็คือคนจากรากหญ้า จะอัดเงินเข้ารากหญ้า ต้องช่วยให้แรงงานก่อสร้างมีงานทำด้วย”

ขณะเดียวกันเมื่อวงการรับเหมาก่อสร้างของไทยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤตอย่างนี้ จึงอยากเรียกร้องว่าให้รัฐบาลไทยอุ้มชูบริษัทไทยก่อนบริษัทต่างชาติ เหมือนที่จีนดูแลบริษัทของจีนเอง

“ถ้าเราไปจีนจะเห็น ถนนตอนนี้มีการสร้างสะพานข้าม 4 แยก อีก 1-2 ปี ไปอีกครั้งจะเห็นมีการทุบสะพานนี้ทิ้งแล้ว เพื่อสร้างรถไฟฟ้า ตรงนี้เป็นขั้นตอนทางนโยบายของรัฐ ไม่ใช่แค่ฝีมือผู้รับเหมา ทำให้เขามีศักยภาพที่จะก่อสร้างได้ทันที”

แม้เวลานี้สถานการณ์การขาดแคลนงานจะมีมากกว่าปัญหาอื่นๆ แต่ทางสมาคมฯ ก็ยังให้ความสำคัญกับจีน เพราะมีต้นทุนที่ได้เปรียบ ยิ่งหากภาครัฐของจีนมีการถือหุ้นในบริษัทรับเหมาเหล่านั้น การตั้งใจและการทุ่มเทในการประมูลงานให้ได้งานใหญ่ๆ ในไทยก็มีความเป็นไปได้สูง

เผยบริษัทจีนเลิกฟันราคา-รับงานต้องได้กำไร

ด้านสมัย ลี้สกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและติดตั้งระบบวิศวกรรมงานวางระบบท่อ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งภายหลังได้จับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทยักษ์ใหญ่จีนอย่าง China National Petroleum Corporation:CNPC กลุ่มบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในจีน ดำเนินงาน Pipeline และ Steel Fabrication เปิดเผยว่า บริษัทจีนที่มารับงานรับเหมาก่อสร้างในไทยนั้นมีหลายบริษัท และเข้ามาในไทยหลายปีแล้ว

โดยจุดแข็งของบริษัทจีนคือเป็นบริษัทที่มีรัฐบาลจีนสนับสนุน ทำให้ฐานะการเงินของบริษัทอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งต้องยอมรับว่าบริษัทจีนที่เข้ามาประมูลงานในไทยในยุคแรกๆ นั้น ยังไม่เข้าใจระบบทำงานของเมืองไทยมากนัก ทำให้ได้กำไรในการประกอบการน้อย ต่อไปรัฐบาลจีนจะมีการควบคุมใกล้ชิด คงไม่มีบริษัทรับเหมาจีนรับงานอย่างสะเปะสะปะ แต่จะรับงานเฉพาะงานที่ได้กำไรเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us