Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กุมภาพันธ์ 2551
“ดีทรอยต์ ออฟเอเชีย” ฝันที่เป็นจริง!ค่ายรถทุ่ม 5หมื่นล้านผลิตอีโคคาร์-หุ้นนิคมได้อานิสงส์             
 


   
search resources

Automotive




อีโคคาร์อีกความหวังอุตฯรถยนต์ไทย ชี้ปี’ 52 ทุกค่ายเร่งเดินหน้าเต็มตัวหลังภาษีลดเหลือ 17% หวังสร้างยอดผลิตทะลุ1.8 ล้านคัน ยกระดับเป็น “ดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย” เผยอีก 4 ยักษ์ใหญ่รอ BOI อนุมัติลงทุนอีโคคาร์อีกกว่า 20,000 หมื่นล้าน ขณะที่หุ้นนิคมฯดีดรับการขยายตัว ทั้งHEMRAJ , ROJANA , AMATA ขายที่ดินได้อย่างต่อเนื่อง

ท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานอย่างต่อเนื่องทั่วโลกและดูเหมือนจะไม่มีทางที่ราคาน้ำมันที่ขายในบ้านเราจะต่ำไปกว่านี้อีกแล้ว ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในประเทศเริ่มเดินหน้าโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรือที่เรียกกว่า อีโอคาร์ ( ECO CAR) เพื่อตอบโจทก์วิกฤติปัญหาราคาน้ำมัน อีกทั้งด้วยราคาที่ต่ำกว่ารถกระบะ หรือ รถเก๋งทั่วไปทำให้ลูกค้าหน้าใหม่ที่รายได้น้อย แต่ต้องการมีรถยนต์ไว้ใช้ ต่างจับจองเป็นเจ้าของกัน ซึ่งในปี2552 อีโคคาร์จึงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สนนราคาที่ไม่ถึง 500,000 บาทในอนาคตอันใกล้นี้

สะพัด 5 หมื่นล.ลงทุนอีโคคาร์

สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่ายต่างให้ความสนใจที่จะลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ ดูได้จากตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
(คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ที่มีเม็ดเงินเกือบ 5หมื่นล้านบาท ซึ่งในปี 2550 ที่ผ่านมามีบริษัทรถยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนผลิตโครงการอีโคคาร์ไปทั้งหมด 7 ยี่ห้อแต่มีเพียง 3 ยี่ห้อได้แก่ บริษัทฮอนด้า ออโต้มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ผลิตรายแรกโดยมีเงินลงทุนรวม 6,700 ล้านบาทกำลังการผลิต 120,000 คันต่อปี, บริษัท ซูซูกิมอเตอร์ คอร์ปเปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มูลค่าการลงทุน 9,500 ล้านบาท และบริษัท สยามนิสสัน ออโต้โมบิล มูลค่าการลงทุน 5,500 ล้านบาท รวมแล้วบีโอไออนุมัติโครงการอีโคคาร์ไปแล้ว 3 ราย ส่วนอีก 4 ยี่ห้อจะมีการลงทุนประมาณ 25,000 ล้านบาท คือ โตโยต้า โฟล์คสวาเกน ทาทา และมิตซูบิชิ กำลังอยู่ระหว่างการรอพิจารณาของบอร์ด BOI ซึ่งยังไม่มีกำหนดพิจารณาของที่ประชุมบอร์ด BOI ว่าจะเป็นวันไหน

ดังนั้นการลงทุนของบริษัทต่าง ๆในการผลิตรถยนต์ อีโคคาร์ ทั้ง 7 ค่ายจะประมาณ 50,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีจากที่คณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบอัตราภาษีสรรพสามิตของอีโคคาร์ให้อยู่ที่ระดับ 17% ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไปโดยในระหว่างนี้ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปก่อนหน้านี้ก็เริ่มสร้างโรงงานและปรับปรุงไลน์การผลิตเพื่อรอวันที่ 1 ต.ค. 2552 เพราะจะได้รับลดภาษีสรรพสามิตเหลือ 17% จากนั้นเชื่อว่าปลายปี 2552 หรือต้นปี 2553 ผู้ลิตแต่ละค่ายจะได้นำรถยนต์อีโคคาร์ของตนออกวางขายในท้องตลาดอย่างแน่นอน

ส่วนกรณีรถยนต์อีโคคาร์จากบริษัท ทาทา มอเตอร์ (ประเทศไทย) หากนำเข้ามาขายในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้า 80% และเสียภาษีสรรพสามิตอีก 30% ซึ่งก็ยังอยู่ในราคาเดียวกันกับราคาอีโคคาร์ที่จะผลิตเพื่อขายในประเทศเพราะยังไม่ได้รับสิทธิพิเศษ FTA ไทย-อินเดียที่อยู่ระหว่างการเจรจา แต่หากFTA ทั้ง 2 ประเทศบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีร่วมกันจะทำให้ภาษีนำเข้าเหลือ 5% ซึ่งตรงนี้ค่ายรถยนต์จากค่ายทาทาค่อนข้างจะได้เปรียบพอสมควร เพราะราคารถยนต์ทาทา จะตกประมาณ 2-3 แสนบาท แต่เป็นรถยนต์ขนาด700 ซีซี ขณะที่อีโคคาร์ ที่ผลิตในเมืองไทยขนาด 1,300 ซีซี จะประมาณ 350,000-450,000บาท

ปี’52 ขึ้นแท่น “ดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย”

ขณะที่เป้าหมายต่อไปคือการส่งออกเพราะทุกค่ายต่างมีลูกค้าในกลุ่มแต่ละประเทศต่างๆกันทำให้เชื่อได้ว่าการส่งออกรถยนต์อีโคคาร์ไปจำหน่ายทั่วโลกจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพราะหากตลาดทั่วโลกตอบรับรถยนต์ประหยัดพลังงานจะทำให้ไทยผลิตรถได้ถึง 1.8 ล้านคันภายในปี 2552 ซึ่งจะทำให้ไทยเป็น“ ดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย ” อย่างแน่นอน

สำหรับมาตรฐานของรถยนต์อีโคคาร์ตามที่ BOI กำหนดคือต้องมีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1300 ลูกบาศก์เซนติเมตร(ซีซี) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1400 ซีซี สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลโดยไม่จำกัดกำลังเครื่องยนต์ ขณะที่อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต้องไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือ 20 กิโลเมตรต่อลิตร มาตรฐานมลพิษอยู่ในระดับ EURO 4 ตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศกำหนด และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ปล่อยจากท่อไอเสียไม่เกิน 120 กรัมต่อกิโลเมตรและกำลังการผลิตปีละ 1 แสนคันในปีที่ 5 หรือปีพ.ศ.2557

“ราคาที่วางขายจะอยู่ที่ 350,000- 450,000 บาทเหมือนกันทุกค่ายเพราะการแข่งขันค่อนข้างสูง แต่การออกแบบรูปลักษณ์ทั้งภายในและภายนอกจะแต่งต่างกันออกไปตามเอกลักษณ์แต่ละค่าย ซึ่งราคาที่ไม่สูงมากจะทำให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถมีรถยนต์เป็นของตัวเอง และยังประยัดพลังงาน จึงทำให้มั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จ” โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบุ

หุ้นนิคมฯสดใสขานรับอีโคคาร์

ด้านนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า การลงทุนในอุตสาหกรรมอีโคคาร์ ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมมีการเติบโตที่ดีในปี 2551 เพราะ โครงการอีโคคาร์ได้ทำให้ยอดขายที่ดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้น 3 ตัวหลักๆได้แก่ HEMRAJ , ROJANA , AMATA หุ้นตัวแรกที่น่าสนใจคือ HEMRAJ มีความน่าสนใจและโดดเด่นที่สุดเพราะส่วนใหญ่จะสามารถขายที่ดินจำนวนล็อตใหญ่ได้ ล่าสุดสามารถขายที่ดินให้กับบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอชั่น จำกัดเพื่อเป็นฐานการผลิตรถยนต์อีโคคาร์จึงทำให้หุ้นมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยคาดว่าในปีนี้บริษัทจะสามารถขายที่ดินได้กว่า 1,200 ไร่

ส่วนหุ้น ROJANA ถือว่ามีจุดแข็งในเรื่องของลูกค้ากลุ่ม HONDA เช่นกันซึ่งที่ผ่านมาเดินหน้าขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับโครงการอีโคคาร์ ทำให้มีการซื้อที่ดินกับทางบริษัทอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีความได้เปรียบในด้านรายได้จากการขายสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า และน้ำ ทำให้บริษัทมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งได้มีการประเมินยอดขายที่ดินในปี 2551 ของ ROJANA ไว้ที่ระดับ 605 ไร่ โดยที่ผ่านมาROJANA ได้เซ็นสัญญากับทางกลุ่ม HONDA ในการซื้อขายที่ดินแล้วประมาณ 110 ไร่ มูลค่าประมาณ 330 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ดังกล่าวภายในไตรมาส 1/2551 นี้ ขณะเดียวกันยังมีการเจรจากับลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่องรวมถึงการขยายตัวในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะอีโคคาร์จะทำให้อุตสาหกรรมนิคมจะเติบโตอย่างเด่นชัด

ขณะที่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม AMATA ปัจจุบันก็มีลูกค้าที่อยู่ระหว่างการเจรจาและคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาขายที่ดินล๊อตใหม่ได้ในไตรมาส 1/2551 ซึ่งคาดว่าทั้งปีบริษัทจะสามารถขายที่ดินได้กว่า 1,300 ไร่ในระยะเวลา 3 ปี

หวั่นนักการเมืองเรียกรับสินบน

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวจากบริษัทรถยนต์รายหนึ่งแสดงความเป็นห่วงว่านโยบายด้านอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเดิมกำหนดไว้ดีอยู่แล้ว รัฐบาลชุดสมัคร สุนทรเวช เมื่อเข้ามาบริหารก็ไม่ควรเปลี่ยน โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ซึ่งเป็นนโยบายที่ดี มีผู้ประกอบการหลายรายยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่ปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่จะทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง

“เป็นห่วงว่านักการเมืองที่กำลังจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอาจจะมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องจากการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนได้เพราะทั้ง 4 โครงการรวมกันมีมูลค่าลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท” แหล่งข่าวระบุ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us