Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 กุมภาพันธ์ 2551
เงินนอกดันหุ้นพุ่ง20จุด             
 


   
search resources

Stock Exchange




นักลงทุนต่างชาติ-กองทุนแห่ซื้อหุ้นไทยรับเฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% บวกกับการเมืองเริ่มมีความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ดันดัชนีพุ่ง 20 จุด ด้านสมาคมนักวิเคราะห์ เผยผลสำรวจปรับลดดัชนีปีนี้เหลือ 958 จุด จากเดิม 1,030 จุด-ลดเป้าจีดีพีเหลือ 4.8% พร้อมชี้อีพีเอสหุ้นกลุ่มพลังงานปีนี้โตสูงสุด 171% เชียร์ซื้อหุ้น แบงก์ พลังงาน อสังหาริมทรัพย์

บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยวานนี้ (31 ม.ค.) ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งวัน แม้จะมีแรงเทขายทำกำไรออกมาเล็กน้อยจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดดอกเบี้ย 0.50% รวมถึงปัจจัยด้านการเมืองภายในประเทศเริ่มมีความจัดเจน จากการจัดตั้งรัฐบาลและรายชื่อคณะรัฐมนตรีเริ่มมีความพร้อมแล้ว

โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดระหว่างวันที่ 787.74 จุด ต่ำสุดที่ 760.75 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 784.23 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 20.75 จุด หรือ 2.72% มูลค่าการซื้อขาย 33,868.05 ล้านบาท มีนักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 3,776.85 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 189.66 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 3,966.51 ล้านบาท

นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBKH กล่าวว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ การปรับลดดอกเบี้ยเฟด 0.5% และการเมืองในประเทศที่มีความชัดเจนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 787.74 จุด

หลังจากนั้นได้มีแรงเทขายทำกำไรออกมาเป็นระยะๆ จากที่ตลาดหุ้นในแถบภูมิภาคมีการปรับตัวลดลง รวมถึงการที่ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าของอเมริกาปรับตัวลดลง และหลังจากนี้จะไม่มีข่าวดีเข้ามากระตุ้นจะทำให้ตลาดหุ้นอเมริกาและตลาดหุ้นในภูมิภาครวมถึงตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับฐาน เพราะกว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีการดำเนินงานนโยบายต่างๆ ต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ หากมีการจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในวันนี้ (1 ก.พ.) จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทย ทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่จะมีแรงเทขายทำกำไรออกมา หากยังไม่สามารถจัดตั้งได้ก็จะเป็นไปตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังจะได้รับแรงกดดันจากการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไฟรม์)

ทั้งนี้ บริษัทประเมินแนวรับที่ระดับ 770-775 จุด แนวต้านที่ระดับ 790-795 จุด ซึ่งแนะนำให้มีการขายทำกำไรเมื่อราคาหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นและซื้อลงทุนหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีในช่วงตลาดหุ้นปรับตัวลดลง

เฟดลดดบ.ดันตลาดหุ้นระยะสั้น

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า การที่เฟดลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นเพียง 2 วัน จากนั้นจะต้องติดตามในเรื่องปัญหาซับไพรม์ที่ทางการสหรัฐฯ จะมีมาตรการรับมืออย่างไร รวมทั้งในช่วง 1-2 วันนี้ จะต้องมีการติดตามในเรื่องรายชื่อคณะรัฐมนตรี และรวมนโยบายการด้านเศรษฐกิจที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดทุนด้วย

ทั้งนี้ คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีกในครั้งถัดไป ไม่ใช่การลดในการประชุมในครั้งนี้ เพราะมั่นใจว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเหลือ 2.50% โดยคาดว่าธปท.จะลดดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งหากไทยไม่ปรับลดดอกเบี้ยจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนซึ่งมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยมีการแข็งค่าขึ้น

นักวิเคราะห์หดเป้าSETปีนี้เหลือ958จุด

นายสมบัติ กล่าวว่า จากผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2551 จากนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 21 แห่ง พบว่า นักวิเคราะห์ได้ปรับลดการคาดการณ์ดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้เฉลี่ยเหลือ 958 จุด จากเดิมเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ 1,030 จุด และมีผู้มองว่าดัชนีสูงสุดจะอยู่ที่ 1,200 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 699จุด

ทั้งนี้ คาดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้อยู่ที่ 4.8% ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนอยู่ที่ 4.9% อัตราการเติบโตกำไรต่อหุ้น (EPS) เฉลี่ยอยู่ที่ 18.9% สูงขึ้นจากเดิมที่ 18.4% โดยกลุ่มธนาคารยังคงมีอัตราการเติบโตสูงสุด เฉลี่ย 171.0% อันดับสองคือ อสังหาริมทรัพย์ เฉลี่ย 15.1% และอันดับสามกลุ่มปิโตรเคมี เฉลี่ย 13.7%ขณะที่มอง อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรัฐ ณ สิ้นปีเฉลี่ยอยู่ที่ 32.2 บาท และอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ในปลายปี 2551 อยู่ที่ 3.1%

สำหรับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยในปีนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 76% เชื่อว่าปัญหาซับไพรม์จะส่งผลกระทบระดับปานกลาง และ 19% เชื่อว่ากระทบรุนแรงมาก ส่วนที่เหลืออีก 5% เชื่อว่าจะกระทบรุนแรงน้อย

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัญหาซับไพรม์ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับไทย แต่มีผลให้เงินทุนไหลออกจากแรงเทขายหุ้นของต่างชาติ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวบางส่วนน่าจะสะท้อนและรับรู้ในตลาดหุ้นแล้ว และเชื่อว่าสหรัฐฯ จะมีมาตรการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังเห็นว่า การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ มีสัดส่วนที่ลดลง จึงคาดว่าผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงไม่น่าจะมากนัก แต่อาจทำให้การส่งออกเติบโตช้าลงได้ในช่วงต้น

นายสมบัติ กล่าวว่า มาตรการสำคัญที่นักวิเคราะห์เสนอแนะให้รัฐบาลใหม่ ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม อันดับแรก 62 %การผลักดันและเร่งรัดการลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐเช่นโครงการขนาดใหญ่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และขนส่งมวลชน อันดับที่สอง 48% มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและนักลงทุน เช่น ผลักดันมาตรการทางด้านลดภาษีบริษัทจดทะเบียนและส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้น อันดับที่สาม 19% ให้มีมาตรการสร้างเสถียรภาพให้ค่าเงินบาท และลดการแทรกแซงค่าเงิน

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ยังเสนอแนะให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนให้เข้มแข็ง โดยควรมีมาตรการจูงใจให้บริษัท ขนาดใหญ่ พื้นฐานดี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี เป็นต้น ซึ่งมีผู้ตอบ 29% ซึ่งอีก24 %ยังเสนอแนะให้มีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% และรัฐบาลควรส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อขยายฐานนักลงทุนให้ครอบคลุมถึงกลุ่มใหม่ เช่น ผู้มีเงินออม บริษัทประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผู้ตอบ 19%

สำหรับที่หุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำลงทุนคือ ธนาคาร พลังงาน และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เชื่อว่ากลุ่มธนาคารจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ช่วยให้ผลประกอบการเติบโตสูงขึ้น และจากการตั้งสำรองที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ พลังงาน จะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ช่วยให้ผลประกอบการแข็งแกร่ง และกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ จะได้รับผลดีจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ เช่น BANPU, BAY, KBANK, PTT, SCB เป็นต้น ซึ่งนักลงทุนควรระมัดระวังในการลงทุนเนื่องจากตลาดมีความผันผวนสูง โดยสำหรับการลงทุนระยะยาว ให้ทยอยสะสมหุ้นเมื่ออ่อนตัวลง เน้นลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรที่ดี มีเงินปันผลสูง และมีปัจจัยพื้นฐานดี นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก อาจลงทุนระยะสั้นได้ แต่ไม่ควรมากกว่าครึ่งหนึ่งของพอร์ต และต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us