Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 มกราคม 2551
หวั่นทุนนอกทะลักหลังเฟดหั่น ดบ.             
 


   
search resources

Stock Exchange




ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนรัฐบาลใหม่สกัดเงินนอกหลังเฟดลดดอกเบี้ย จี้แบงก์ชาติสร้างความสมดุลระหว่างตลาดเงิน-ตลาดทุน "ศุภวุฒิ" ฟันธงพิษซับไพรม์ยังไม่จบง่ายๆ เชื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯรูดอีก 2 ปี บวกกับสถาบันการเงินสหรัฐฯ ยังต้องเพิ่มทุนอีกมหาศาล พร้อมคาดการณ์ดอกเบี้ยเฟดสิ้นปีลดเหลือ 1% จี้แบงก์ชาติยกเลิกมาตรการ 30% และปล่อยเงินบาทแข็งตามกลไก ด้าน "ก้องเกียรติ" มั่นใจกนง.หั่นดอกเบี้ยแน่ กระทุ้งรัฐลุยกระตุ้นเศรษฐกิจเรียกความมั่นใจกลับคืนมา

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์จะรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการพึ่งพาสหรัฐฯ ของแต่ละประเทศ โดยประเทศไทยตอนนี้หันไปให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียโดยเฉพาะจีนและอินเดียมากขึ้น จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก

ทั้งนี้ รัฐบาลใหม่จะต้องระวังเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างตลาดเงินและตลาดทุนให้ได้

"ตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดความกังวลจากปัจจัยภายในประเทศลงแล้ว โดยเชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้จะสามารถขยายตัวได้ที่ 4.5-5.0% ขณะที่การส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยนักลงทุนจะต้องปรับตัวรองรับเงินทุนไหลเข้าไว้ด้วย" นางภัทรียา กล่าว

ฟันธงพิษซับไพรม์ไม่จบง่ายๆ

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าฝ่ายวิจัย) บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษในหัวข้อ "จับตาเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตซับไพรม์" ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) และคาดเดาได้ยากว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด เนื่องจากพัฒนาการของตราสารการเงินในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตค่อนข้างมาก

โดยปัญหาที่ประเมินค่าความเสียหายได้ยาก คือ ปัญหาเกี่ยวกับตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีสินทรัพย์อ้างอิง (CDO) ซึ่งเกิดจากการนำสินทรัพย์หลายชนิดมารวมกันเพื่อออกเป็นตราสารประเภทอื่นๆ

ทั้งนี้ ภาพของเศรษฐกิจโลกในอนาคตจะได้เห็นการเกิดการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ประเทศสหรัฐฯ ค่อนข้างมีบทบาทต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ปัจจุบันหลายประเทศในเอเชียจะเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น แต่ปัญหาที่ยังถือว่าเป็นแรงกดดันการเติบโตของประเทศในเอเชีย คือ ปัญหาเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ค่อนข้างทรงตัวอยู่ในระดับสูง

"จากบทวิจัยของเมอร์ลิลินช์พบว่า ในปีที่ผ่านมาราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ลดลงประมาณ 7% และปีนี้อาจจะลดลงอีก 15% ในปีหน้าอีก 10% ทำให้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะคาดเดาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ว่ามากน้อยเพียงใด หรือจบลงเมื่อใด รวมถึงใครจะเข้ามาเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบยังตอบได้ยาก"

นายศุภวุฒิ กล่าวอีกว่า จากค่าเสียหายที่เกิดจากซับไพรม์จนล่าสุดทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งต้องประกาศเพิ่มทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องและสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าจากปัญหาดังกล่าวจะทำให้สถาบันการเงินในสหรัฐฯ ต้องมีการประกาศเพิ่มทุนอีกครั้ง โดยจะต้องจับตาว่าการเพิ่มทุนเงินทุนที่พร้อมจะใส่เข้ามาเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับสถาบันการเงินจะมาจากที่ใด เพราะจะกระทบต่อการเป็นผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงินนั้นๆ

นอกจากนี้ สัญญาณจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเริ่มชี้ไปว่า ภาคธุรกิจอื่นๆ นอกจากสถาบันการเงินเริ่มได้รับผลกระทบต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจรถยนต์การปล่อยกู้เพื่อซื้อรถมีความระมัดระวังมากขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจอื่นๆ เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวเนื่องจากเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มหายไปอย่างชัดเจน

สำหรับมาตรการการบรรเทาปัญหาด้วยการคืนภาษีให้กับประชาชนซึ่งมีมูลค่ามากถึง 1.5 แสนล้านเหรียญดอลลาร์นั้น เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้เพียงครึ่งเดียว เนื่องจากประชาชนขาดความมั่นใจชะลอการใช้จ่าย ทำให้อาจจะนำเงินที่ได้รับคืนไปใช้ไม่ทั้งจำนวน โดยจากมาตรการดังกล่าวทำให้สหรัฐฯขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 2.5 แสนล้านดอลลาร์เป็น 4 แสนล้านดอลลาร์

"ถ้าจะถามว่าปัญหาซับไพรม์จะจบเมื่อไหร่ คงต้องรอดูตัวเลขการยึดบ้านในสหรัฐฯ ว่าจะลดลงเมื่อไหร่ โดยเมื่อเทียบปีต่อปีในช่วงที่ผ่านมาการยึดบ้านเพิ่มขึ้นถึง 75% ขณะเดียวกันคงต้องดูตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ประกอบด้วย"

คาดเฟดลดดอกเบี้ยสิ้นปีเหลือ 1%

นายศุภวุฒิ กล่าวอีกว่า สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ถึง 0.75% และยังมีโอกาสที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในปีนี้เหลือเพียง 1% จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5% โดยคาดว่าในการประชุมของเฟด (29-30 ม.ค.) จะปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ซึ่งจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้กำไรของสถาบันการเงินสูงขึ้น เนื่องจากส่วนต่างระหว่างเงินฝากและเงินกู้สูงขึ้น ขณะที่ทำให้ปัญหาหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลง เพราะภาระในการจ่ายดอกเบี้ยลดลง แต่จะส่งผลทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ หากพิจารณาเปรียบเทียบเศรษฐกิจสหรัฐฯ กับเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย พบว่า ประเทศในเอเชียมีความได้เปรียบค่อนข้างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาขาดดุลงบประมาณมาโดยตลอด ซึ่งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยยังสามารถลดการขาดดุลงบประมาณ คือใช้นโยบายเกินดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้

"มีคำถามเกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพของเงินดอลลาร์ เพราะจากมาตรการต่างๆ ที่ใช้ทำให้ดอลลาร์ด้อยค่าลงไป ทำให้ประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้ รวมถึงคนที่ถือครองเงินดอลลาร์มีความเสี่ยงมากขึ้น"นายศุภวุฒิ กล่าว

นายศุภวุฒิ กล่าวอีกว่า สำหรับภาคเศรษฐกิจไทยปัญหาที่สำคัญคือ ภาคการลงทุนของเอกชนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยปีที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 3-4% จากที่ควรจะเป็นอยู่ที่ไม่ต่ำ 10% ขณะที่มาตรการที่ภาครัฐฯที่ต้องเร่งดำเนินการคือ การให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกลไก เพื่อชะลอการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ โดยหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 10% จะช่วยทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับไม่เกิน 4% ขณะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับสหรัฐฯ

พร้อมกันนี้ ธปท. ควรจะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เพื่อให้เงินทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะเงินที่จะเข้ามาลงทุนโดยตรงสามารถเข้ามาลงทุนได้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวธปท.ควรจะยกเลิกทันทีเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าตามกลไลตลาดและเข้าสู่จุดสมดุล ไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวจนเกิดจากเข้ามาเก็งกำไร โดยปัญหาหลักของการแข็งค่าของเงินบาทมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากจนเกินไปไม่ใช่มาจากการไหลเข้าของเงินทุน เนื่องจากหากดูตัวเลขการไหลเข้าของเงินทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถือว่าน้อยมาก

สำหรับสิ่งที่อยากฝากรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาว่า อยากให้เร่งกระตุ้นการลงทุน โดยอาจจะใช้นโยบายขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เกิน 2.5% ของจีดีพีต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีได้ เนื่องจากฐานะการคลังของไทยยังอยู่ในระดับที่ดี โดยปัจจุบันยังหนี้สาธารณะอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำยังสามารถกู้เงินเพื่อการลงทุนในโครงการใหม่ที่เป็นประโยชน์ได้ถึง 600-700 ล้านเหรียญดอลลาร์

"หน้าตารัฐมนตรีจะเป็นใครผมไม่ค่อยสนใจ แต่จะมองในระดับนโยบายทางเศรษฐกิจมากกว่า และไม่อยากจะแนะนำอะไรมากเพราะรัฐบาลชุดนี้มีแนวที่จะปฎิบัติอยู่แล้ว"

นอกจากนี้ นโยบายในการควบคุมราคาสินค้าควรจะถูกยกเลิกไป เนื่องจากการเข้ามาควบคุมราคาสินค้าทำให้ผู้ประกอบการได้กำไรจากการขายสินค้าลดลงส่งผลต่อการลงทุนเพิ่ม และยังทำให้เกิดการกักตุนสินค้าซึ่งหากปล่อยให้ราคาสินค้าที่เป็นอยู่เป็นไปตามกลไกจะเป็นการขับเคลื่อนการลงทุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เอง

ลุ้นตัวเลข Q1 ฟื้นการลงทุน

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเชีย พลัส หรือ ASP กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของเฟดเพื่อชะลอความเสียหายจากซับไพรม์ ทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยต้องปรับตัวลดลงเช่นกัน ซึ่งหากธปท.ไม่ลดดอกเบี้ยเพื่อป้องกันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เม็ดเงินต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศ และทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

ทั้งนี้ คาดว่าการประชุมเฟดรอบนี้จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% และคาดว่าในกลางปีนี้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯจะอยู่ที่ 2-2.5%

ส่วนการเมืองไทยหลังการจัดตั้งรัฐบาลสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การเร่งการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นตามมา

สำหรับนักวิเคราะห์ต่างๆ มองว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 10-20% ส่วนตัวเชื่อว่าในช่วงครึ่งปีนี้โบรกเกอร์จะมีการทยอยปรับบ้าง โดยตลาดหุ้นไทยปีนี้เชื่อว่ามีความผันผวนสูงตลอดปีนี้ ขณะที่หากรัฐบาลเข้ามาดูแลในเรื่องการลงทุนจะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน โดยในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงนั้นถือว่าเป็นโอกาสที่นักลงทุนควรที่จะเข้าลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีและให้ผลตอบแทนที่สูง

ส่วนเรื่องมาตรการการกันสำรอง 30% นั้น รัฐบาลควรที่จะมีการดำเนินการแก้ไขเพื่อเป็นการเชิญชวนให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน แต่การจะผ่อนผันหรือยกเลิกมาตรการดังกล่าวควรทำในช่วงจังหวะที่เหมาะสม เพราะขณะนี้มีความกังวลหากมีการยกเลิกจะทำให้เม็ดเงินต่างประเทศไหลเข้ามาเก็งกำไรพันธบัตร ดังนั้นส่วนตัวมองว่า ควรจะยกเลิกมาตรการ30% ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยของไทยมีการปรับตัวลดลงจากผลตอบแทนพันธบัตรลดลง

"สำหรับการที่นักลงทุนต่างประเทศมีการขายหุ้นไทยและถือเงินสดนั้นการ จะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเมื่อไรนั้นจะต้องรอให้ตัวเลขต่างๆไตรมาส 1/51 ออกมาก่อนว่าข้อมูลจะออกมาเป็นอย่างไรถึงจะบอกอะไรได้"นายก้องเกียรติ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us