Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2551
บริษัทถ้วยกระดาษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เค.เอ็ม. แพ็กเกจจิ้ง จำกัด

   
search resources

Packaging
เค.เอ็ม. แพ็กเกจจิ้ง, บจก.
พศิน กมลสุวรรณ




จากโรงพิมพ์ฉลากที่มีอายุยาวนานนับสิบปี ประสบการณ์กลายเป็น "มูลค่าเพิ่ม" วันนี้โรงพิมพ์ฉลากไร้ชื่อ เปลี่ยนมาเป็นโรงงานถ้วยกระดาษที่ใหญ่ที่สุดของไทยด้วยความสามารถในการผลิตถ้วยกระดาษ 352 ล้านถ้วยต่อปี

แม้โรงงานของ เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเทพารักษ์ กม.22 สมุทรปราการ จะจำกัดอยู่ที่พื้นที่เพียง 4 ไร่ แถมแบ่งพื้นที่ส่วนด้านหน้าให้เป็นสำนักงาน ขาย แต่เฉพาะปีที่ผ่านมาโรงงานที่เจ้าของถ่อมตนเรียกว่าเป็นโรงงาน "ขนาดย่อม" แห่ง นี้กลับมีกำลังการผลิตเฉพาะถ้วยกระดาษใส่น้ำหวาน กาแฟ และถ้วยไอศกรีมถึง 1 ล้านถ้วยต่อวัน

เมื่อนั่งคำนวณจากจำนวนวันที่เครื่อง จักรเปิดทำงาน หักลบกับวันหยุดทั้ง 13 วันต่อปีแล้ว เท่ากับบริษัทแห่งนี้ส่งกระดาษเข้าเครื่องจักร เพื่อป้อนถ้วยกระดาษให้กับอุตสาห-กรรมอาหารของไทยได้มากถึง 352 ล้านถ้วย ต่อปีเลยทีเดียว

เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่ ก่อนส่งต่อมาถึงมือของรุ่นพ่อ ของพศิน กมลสุวรรณ ผู้บริหารหนุ่มวัย 33 ปี ที่ปัจจุบันรั้งตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลังสืบทอดกิจการของผู้เป็นพ่อและแม่ มาเมื่อหลายปีก่อน และกลายเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการช่วยขยายตลาดถ้วยกระดาษของบริษัทจากเดิมที่เคยผลิตได้เพียงวันละ 5 แสนถ้วยในปีก่อนหน้า หรือเพียง 1 แสนถ้วยก่อนที่เขาจะเข้ามารับช่วงกิจการ

จากเดิมที่เคยเป็นโรงพิมพ์ "นิยมช่าง" รับพิมพ์ฉลากแนะนำการใช้ยาสำหรับแนบไปกับกล่องยา ฉลากสำหรับแปะข้างกล่องยา หรือแม้แต่รับพิมพ์กล่องเสื้อให้กับอุตสาหกรรม การ์เม้นท์

ในเวลาต่อมาประสบการณ์ของการเป็นโรงพิมพ์มายาวนานหลายสิบปี ทำให้รุ่นก่อนหน้าหันมามองหามูลค่าเพิ่มที่เกิดจากกระบวนการหลังการพิมพ์ และหนึ่งในนั้นคือการรับขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ทั้งแบบพลาสติกและกระดาษ

เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง อาจจะต่างจากโรงพิมพ์อื่นๆ ที่รับพิมพ์เอกสาร หรือรับพิมพ์ เข้ารูปเข้าเล่มเป็นหนังสือแล้วจัดส่งขายตามแผงทั่วไปก็ตรงที่ เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง พบว่าบริการจำพวกที่เกิดขึ้นหลังจากการพิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษสารพัดชนิด อาทิ รับขึ้นรูปของกระดาษที่พิมพ์ลายให้เป็นกล่อง หรือเป็นแบบอย่างจำพวกถ้วยกระดาษ เป็นมูลค่าเพิ่มและสร้างความแตกต่างให้โรงพิมพ์ ธรรมดา กลายเป็นที่มาการเปลี่ยนชื่อจากโรงพิมพ์ "นิยมช่าง" เป็น "เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง" ในเวลาต่อมา

แม้จะมีสัดส่วนของงานพิมพ์สำหรับลูกค้าเก่าแก่อยู่บ้างในปัจจุบัน และยังรับขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกอยู่บ้าง แต่เกือบทั้งหมดของผลิตผลที่ได้จากโรงงานกลับเป็นถ้วยกระดาษ

ในช่วงเริ่มต้น เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้งเน้น ผลิตถ้วยกระดาษสำหรับใส่น้ำ ซึ่งไม่ใช่ถ้วยเทียนอย่างที่ก่อนหน้านั้นนิยมนำมาใส่น้ำเย็นหรือน้ำหวานกันอยู่บ้าง หรือถ้วยกระดาษล้วนๆ ที่มักใช้กับเครื่องกดน้ำเย็นอัตโนมัติในสถานที่ต่างๆ เช่นโรงพยาบาลหรือห้างร้านทั่วไป

ลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของสินค้า และเลือกที่จะใช้ถ้วยกระดาษเพื่อลดปัญหาการใช้พลาสติกในการผลิตบรรจุภัณฑ์ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพราะกลัวสิ่งปนเปื้อนที่มาจากพลาสติก เมื่อทราบข่าวว่า เค. เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้งรับผลิตถ้วยกระดาษ ต่างมุ่งหน้ามาที่นี่ ทั้งๆ ที่ในยุคนั้นพลาสติกก็ยังได้รับความนิยมมากกว่า ด้วยเพราะต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า เป็นเหตุผลหลักนั่นเอง

ความสำคัญของถ้วยกระดาษ ยิ่งทวีคูณเมื่อราคาของปิโตรเลียมพุ่งสูงขึ้น ยังผลให้พลาสติกซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตปิโตรเลียม มีต้นทุนที่ขยับใกล้เคียงกับกระดาษ ที่ก่อนหน้านั้นแพงกว่ามาก

พศินบอกว่า เมื่อปิโตรเลียมแพงขึ้น คนก็เริ่มมามองถึงการลดการใช้พลาสติกที่ต้นทุนเริ่มแพงเกือบเท่ากระดาษ อีกทั้งเมื่อมีการรณรงค์เรื่องโลกร้อน ให้คนหันมาลดการใช้พลาสติก และใช้สิ่งที่ทดแทนและสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ได้อีกครั้ง ทำให้ถ้วยกระดาษเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับหลายคนที่จะหันมาเลือกใช้แทนถ้วยพลาสติก

เมื่อสองปีที่แล้วรัฐบาลของไต้หวันได้ออกนโยบายให้ทั้งประเทศหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด

นอกจากนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักข่าวซินหัวและอีกหลายสำนักข่าวทั่วโลกต่างประโคมข่าว โดยอ้างจากแถลงการณ์บนเว็บไซต์ของรัฐบาล จีนว่าทางการจีนประกาศห้ามผลิตและใช้ถุงพลาสติกที่บางกว่า 0.025 มิลลิเมตร และห้ามมิให้ห้างร้านต่างๆ แจกถุงพลาสติกฟรีแก่ลูกค้าพร้อมกับสินค้าที่ลูกค้าซื้อโดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่จะถึงนี้ โดยลูกค้าที่ต้องการจะได้ถุงพลาสติก ยอมควักเงินในกระเป๋าจ่ายค่าถุงพลาสติกเพิ่มนอกเหนือจากค่าสินค้าที่ต้องจ่ายด้วย

โดยรัฐบาลจีนหวังจะลดปัญหาการใช้ถุงพลาสติกของประชากรในประเทศที่ปัจจุบันมีจำนวนมากถึงวันละ 3,000 ล้านใบ และหาทางออกไม่ได้ว่าจะกำจัดถุงพลาสติกให้ถูกต้องโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร ส่วนถุงพลาสติกที่บางกว่า 0.025 มิลลิเมตร จะถูกห้ามผลิตและห้ามใช้โดยสิ้นเชิงอีกด้วย

ทั้งไต้หวันและจีนต่างถูกหยิบยกมาเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและน่าจับตามอง เพราะเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นถึงแนวโน้มสำคัญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างน้อยก็มีโอกาสอีกหลายครั้งที่จะเกิดนโยบายแบบเดียวกันนี้ในหลายๆ ประเทศต่อจากไต้หวันและจีน นั่นหมายถึงบรรจุภัณฑ์แทบทั้งหมดก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นกระดาษและวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

สำหรับเมืองไทยแล้ว แม้จะยังไม่ถึงขั้นได้ออกนโยบายบังคับภาคธุรกิจหรือผู้บริโภคให้เลิกใช้พลาสติกอย่างสิ้นเชิง แต่กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อนไปมากกว่านี้ก็เข้ามาประชิดตัวอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ และนี่เป็นที่มาซึ่งทำให้ถ้วยกระดาษของเขากลายเป็นจุดขายและกลายเป็นความเชี่ยวชาญและ ทำให้ทุกวันนี้บริษัทของเขาถูกเรียกว่า "บริษัท ผลิตถ้วยกระดาษ" ในเวลาต่อมา

นอกเหนือจากเรื่องของสิ่งแวดล้อมแล้ว ระบบการจัดการภายในของหน่วยงาน ที่ต้องการบริการลูกค้าด้วยความรวดเร็ว พื้นที่ ในการให้บริการที่จำกัด และความต้องการลดจำนวนพนักงานในองค์กร ดังนั้นอุตสาห-กรรมบางอย่างเช่นฟาสต์ฟู้ด จึงหันมาเลือกใช้ถ้วยกระดาษแทนการใช้ถ้วยพลาสติก ซึ่งต่างก็ใช้แล้วทิ้งได้ทั้งคู่ แต่คุณภาพของการ นำกลับมาใช้และการเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมนั้นต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเทียบราคาใกล้เคียงกัน ทำให้ถ้วยกระดาษของพศินจึงผลิตออกมาแทบไม่ทัน

ถ้วยกระดาษของ เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง เป็นถ้วยกระดาษที่เป็นกระดาษเคลือบด้วย PE หรือพลาสติกโพลีเอทิลีนในอัตราส่วนที่ไม่เป็นพิษต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ และมีคุณสมบัติที่ช่วยอุ้มน้ำ ไม่รั่วซึม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการผลิตถ้วยด้วยกระดาษ

เพียงแต่ว่าเป็นพีอีที่ได้รับการรับรองแล้วว่าไม่มีผลต่อร่างกายมนุษย์ หรือได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นกระดาษพีอีที่สามารถใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มแล้ว

ทั้งนี้ แต่เดิมถ้วยกระดาษระบุไว้ในหน้าแค็ตตาล็อกของบริษัทมีเพียง 4-5 ขนาดเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดของอุตสาหกรรมถ้วยกระดาษในยุคนั้น เพราะไม่สามารถเลือก ขนาดได้หลากหลายกับสินค้าที่ต้องการ

ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนาทำให้ เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้งสามารถระบุขนาด ของถ้วยให้ลูกค้าเลือกได้มากกว่า 30 ขนาด ไม่นับกับแบบที่หลากหลายแล้วแต่ความต้อง การของลูกค้า

เซเว่น อีเลฟเว่นถือเป็นอุตสาหกรรมแฟรนไชส์เจ้าแรกๆ ที่เลือกใช้ถ้วยกระดาษใส่น้ำเย็นของ เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง ก่อนที่ในเวลาต่อมาบริษัทจะเพิ่มความหลากหลายมาเป็นการผลิต ถ้วยกระดาษสำหรับใส่น้ำร้อน หรือกาแฟร้อน ถ้วยกระดาษใส่น้ำร้อนแบบติดหูเมื่อใช้มือจับป้องกันความร้อน ถ้วยกระดาษใส่น้ำร้อนแบบที่เรียกว่า double wall หรือใส่กระดาษทับเข้าไปอีกชั้น เพื่อให้ลูกค้าใช้มือจับได้ทันทีและป้องกันความร้อนในระดับที่ร่างกายมนุษย์รับได้

นอกจากนี้ยังขยับมาผลิตถ้วยไอศกรีม หรือแม้แต่ถังข้าวโพดคั่วขนาดใหญ่ยักษ์ ซึ่งแทบทั้งหมดผลิตแล้วส่งออกไปยังประเทศ ออสเตรเลีย จีน และตลาดตะวันออกกลางบางประเทศเช่น ดูไบ และทำการผลิตเพื่อป้อนให้กับพารากอนซีนีเพล็กซ์ เดอะมอลล์ และอีจีวีในบางโอกาส

เมื่อพิจารณาแล้วอุตสาหกรรมถ้วยกระดาษของ เค.เอ็ม.แพ็กเก็จจิ้ง นั้นเติบโตสอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ดในประเทศ อย่างที่พศินบอกเอาไว้ว่า ทุกวันนี้เขาอยู่ได้ด้วยอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ด

"เมื่อเขาโต เราก็โต " เขาบอก

ในเร็ววันนี้บริษัทถ้วยกระดาษแห่งนี้ยังเตรียมย้ายโรงงานเพื่อรองรับการผลิตถ้วยกระดาษที่มากขึ้น และรองรับความต้องการของลูกค้าที่เคยใช้พลาสติก แต่เปลี่ยนใจมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษกันมากขึ้นด้วยในเวลาเดียวกัน

โดยลูกค้ารายสำคัญของบริษัทส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ด แฟรนไชส์ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นเครือไมเนอร์กรุ๊ป แบรนด์บัสกิ้น รอบบินส์, แดรี่ ควีนส์, เคเอฟซี, อึ้ม มิลค์, สเวนเซ่นส์, ซิสเลอร์, โอปองแปง, แมคโดนัลด์, เป๊ปซี่, โค้ก, เบอร์เกอร์คิงส์, แบล็คแคนยอน และสินค้าชื่อดังอีกมากมายแม้แต่เจ้าของเองก็ถึงกับเปรยว่า

"หลังๆ นี่ชักมีลูกค้ามากเสียจนแทบจะจำไม่ได้แล้วล่ะ"

ประโยคปิดท้ายไม่เพียงกินใจแต่ยังสื่อความหมายถึงบริษัทผลิตถ้วยกระดาษที่ขนาดไม่เล็กเท่ากับถ้วยกระดาษที่ผลิตได้เป็นอย่างดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us