ภาพรวม
ฮัทชิสัน วัมเปา (Hutchison Whampoa) เติบโตจากการเป็นบริษัทการค้าเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ของฮ่องกง ปัจจุบันเป็นกลุ่มธุรกิจ ที่มีกิจการธุรกิจทุกประเภทในฮ่องกง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่าเรือ
และ ชิปปิ้ง การแปรรูป และจัดจำหน่ายอาหาร ธุรกิจค้าปลีก โรงงานผลิตสินค้า
และ ธุรกิจโทรคมนาคม (โทรศัพท์ โทรศัพท์ไร้สาย และบริการวิทยุติดตามตัว)
อีกทั้งยังเป็นเจ้าของโรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในฮ่องกง ไม่นับรวมธุรกิจเรียลเอสเตทในบาฮามาส์
จีน ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร
นอกจากนั้น ฮัทชิสัน วัมเปา ยังถือหุ้นในกิจการทางด้านพลังงาน (การสำรวจน้ำมัน
และก๊าซธรรมชาติ และการผลิตกระแสไฟฟ้า) แ ละบริการการเงินของสหรัฐฯ นับพันแห่ง
การที่ฮ่องกงกลับคืนเป็นของจีนยังส่งผลดีกับฮัทชิสัน วัมเปาด้วย เนื่องจากลี
กา-ชิง ประธานกรรมการของกลุ่ม ได้สร้าง สายสัมพันธ์ทางธุรกิจไว้ในจีนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
โดยที่ "เฉิงคง โฮล ดิงส์" (Cheung Kong Holdings) ของลีนั้น ถือหุ้นในกิจการฮัทชิสัน
วัมเปาถึง 49.9% และในทางกลับกัน ฮัทชิสัน วัมเปา ก็ถือหุ้นราว 85% ในกิจการ
"เฉิงคง อินฟราสตรักเจอร์" ซึ่งมีกิ จการเกี่ยวกับ การขนส่ง พลังงาน และธุรกิจวัสดุก่อสร้างในเอเชีย
ธุรกิจส่วน ที่เก่าแก่ และโดดเด่นที่สุดของฮัทชิสัน วัมเปา ก็คือ ธุรกิจชิปปิ้ง
โดยนอกจากจะถือหุ้นส่วนใหญ่ใน "ฮ่องกง อินเตอร์เนชันแนล เทอร์มินัลส์" (Hongkong
International Terminals) ซึ่งบริหารเส้นทางท่าเรือ คอนเทนเนอร์ ที่ผ่านฮ่องกง
(นับเป็นท่าเรือ ที่มีการจราจรคับคั่งที่สุดรองจากสิงคโปร์) แล้ว ฮัทชิสัน
วัมเปา ยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในกิจการสถานีขนส่ง สินค้า ชุมทางในจีนตอนใต้
โดยถือหุ้น 40% ใน "เซี่ยงไฮ้ คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล พอร์ต" นอกจากนั้น
ฮัทชิสัน วัมเปา มีธุรกิจ ที่เกี่ยวกับการอำนวย ความสะดวกด้านการขนส่ง ในบริเวณปากแม่น้ำเพิร์ล
อีกทั้งเป็นเจ้าของท่า เรือสำคัญอีกสามแห่งทางฝั่งตะวันออกของอังกฤษ ได้แก่
ท่าเรือเธมส์พอร์ต (Thamesport) ฮาร์วิช อินเตอร์เนชันแนล (Harwich International)
และเฟลิกซ์สโตว์ (Felixstowe ) ซึ่งเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร
บริษัทมีมุมมอง ที่กว้างไกล จึงลงทุนเป็นจำนวนมาก ในโครงการด้านโทรคมนาคมในฮ่องกง
และซื้อหุ้นบริษัททางด้านการสื่อสาร และเทคโนโลยี ในเอเชีย และยุโรป ความเป็นมา
อู่ต่อเรือฮ่องกง แอนด์ วัมเปา (Hongkong and Whampoa Dock) เป็นกิจการจดทะเบียน
แห่งแรกในฮ่องกง บริษัทก่อตั้งเมื่อปี 1861 โดยเข้าซื้อ อู่ต่อเรือเก่า แห่งหนึ่งในวัมเปา
(ใกล้กับกวางตุ้งในจีน) หลังจาก ที่เจ้าของเดิมคือ จอห์น คูเปอร์ (John Cooper)
ถูกลักพาตัว และหายสาบสูญไปใน ช่วงสงครามฝิ่นครั้ง ที่สอง (ค.ศ. 1856-60)
และต่อมาในปี 1865 ก็ได้ซื้ออู่ต่อเรือในฮ่องกงเพิ่มอีกหลายแห่ง
กิจการ "ฮัทชิสัน อินเตอร์เนชันแนล" (Hutchison International) ก่อตั้ง
โดยจอห์น ฮัทชิสัน (John Hutchison) เมื่อปี 1880 และกลายมาเป็น ผู้ส่งออก
และค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของฮ่องกง ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 ก็ได้เข้าซื้อกิจการอู่ต่อเรือ
"ฮ่องกง แอนด์ วัมเปา" และกิจการ "เอ.เอส.วัตสัน" (A.S. Watson) ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต
และจำหน่ายยา และเครื่องดื่ม การซื้อกิจการมีนัยแสดงถึงเครือข่ายธุรกิจอันสลับซับซ้อน
ที่ ต่อมาล่มสลายไปในช่วงกลางทศวรรษ 1970
ธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ได้เข้ามาช่วยซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของกิจการ "ฮัทชิสัน
อินเตอร์เนชันแนล" ไว้ และยังนำผู้เชี่ยวชาญด้านการพลิกฟื้นกิจการอย่างบิล
วิลลี (Bill Wyllie) จากออสเตรเลีย เข้ามาดำเนินการลดค่าใช้จ่าย วิลลี ขายกิจการ
103 แห่งไปในปี 1977 และเปลี่ยนชื่อเป็นฮัทชิสัน วัมเปาในเวลาต่อมา
ใน ค.ศ.1979 ธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ขายหุ้น 23% ในฮัทชิสันให้ กับเฉิงคง
โฮลดิ้งส์ ส่งผลให้ ลี กาชิงกลายมาเป็นชาวจีนคนแรก ที่บริหารกิจการบริษัทการค้า
สไตล์ อังกฤษ ลี กาชิงเป็นผู้ก่อตั้งกิจการเฉิงคง เขาเริ่มต้นชีวิตการทำงานตั้งแต่อายุ
14 ปี ด้วยการเป็นพ่อค้าเร่ขายดอกไม้พลาสติก
หลังจาก ที่วิลลีลาออกจากบริษัทไปใน ค.ศ.1981 ในช่วงทศวรรษ 1980 ฮัทชิสัน
ก็ปรับปรุงพื้นที่บริเวณอู่ต่อเรือครั้งใหญ่ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป ็นอ
สังหาริมทรัพย์ราคาแพง กิจการ "อินเตอร์เนชันแนล เทอร์มินัล" ก็เติบโตไปพร้อมกับการขนส่ง
คอนเทนเนอร์ของฮ่องกง และ กลายเป็นผู้ดำเนินการด้านคอนเทนเนอร์เอกชน รายใหญ่ที่สุดในโลก
ช่วงเวลาเดียวกันนั้ นเอง บริษัทได้ แตกแขนงกิจการออกไปสู่ธุรกิจด้านพลังงาน
(ซื้อหุ้นในกิจการด้านไฟฟ้า "ฮ่องกง อิเล็กทริค" และ ฮัสกี ออยล์ (Husky
Oil) แห่งแคนาดา รวมทั้งยังเริ่มเข้าสู่ธุรกิจด้านโลหะ และเหมืองแร่ บริษัท
ยังสนใจธุรกิจด้านโทรคมนาคม ซื้อกิจการเพจจิ้งในออสเตรเลีย และกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่แห่งสหราช
อาณาจักรในปี 1989
ปีถัดมา บริษัทได้เปิดตัวกิจการดาวเทียมเอเชียแซท I (AsiaSat I) เป็น การตอบโต้กับ
เคเบิล แอนด์ไวร์เลส (Cable & Wireless) และไชนา อิน เตอร์เนชันแนล ทรัสต์
แอนด์ อินเวสต์เมนท์ (China International Trust & Investment) หลังจากนั้น
ก็มีการซื้อกิจการเพิ่มขึ้น รวมทั้งการซื้อกิจการธุรกิจโทรศัพท์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม
"ยูโรเปียนโมบาย" (Europeanmobile) ใน ค.ศ. 1996 บริษัทปรับโครงสร้างกิจการด้านโทรคมนาคมฮ่องกงโดยใช้ชื่อกิจการว่า
"ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชันส์" (Hutchison Telecomm unications) และเริ่มดำเนินการธุรกิจโทรศัพท์ไร้สายในยุโรป
ใน ชื่อ "โอเรนจ์" (Orange) ซึ่งเป็นบริษัท มหาชน แห่งใหม่ ต่อมาในปี 1998
ฮัทชิสัน เทเลคอมมิว นิเคชันส์ เดินหน้าเข้าสู่สหรัฐฯ ด้วยการเข้าซื้อ หุ้นถึง
20% ในธุรกิจโทรศัพท์พีซี เอสระบบดิจิตอลของ "เวสเทิร์น ไวร์เลส" (Western
Wireless) ที่ชื่อ "วอยส์ สตรีม" (VoiceStream)
ปีที่แล้ว ฮัทชิสัน และเคเบิลแอนด์ไวเลสขายหุ้นกิจการเอเชียแซทเป็นมูล ค่าราว
331 ล้านดอลลาร์ และยังแลกหุ้นกิจการโอเรนจ์กับแมนเนสมานน์ ส่งผลให้บริษัทเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของกลุ่มธุรกิจเยอรมนี
นอกจากนั้น ฮัทชิสัน วัมเปา และโกลบอล ครอสซิง ยังก่อตั้งกิจการร่วมทุนมูลค่า
1,200 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างเครือข่าย ไฟเบอร์ ออปติกในจีน