|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2551
|
|
ถ้ามองตลาดเพลงโดยรวมแล้ว บริษัทอาร์เอสอาจจะพอใจในยอดขายและรายได้จากธุรกิจบันเทิงส่วนนี้อยู่ไม่น้อย แต่ว่าในเนื้อหาที่เป็นเพลงที่ดูว่าดีแบบนี้ ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าศิลปินทุกเบอร์ที่ออกผลงานมาจะขายดีทุกชุด แม้จะมีโมเดลธุรกิจสำเร็จรูปรองรับก็ตาม
ปัจจัยที่ทำให้งานเพลงไม่ค่อยมั่นคง ก็คือการขาดแคลนวัตถุดิบ ใหม่ๆ ทั้งในแง่ของเนื้อร้อง ทำนอง และศิลปิน เมื่อรวมกับการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ทำได้ง่ายดาย งานใหม่ๆ ที่น่าสนใจก็เลยน้อยลง
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายของสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์เท่าไรเพราะมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้ามาหลายปีแล้วว่า อาร์เอสจะขยับไปทางไหน แก้เกมด้วยอะไรบ้าง
"เราทำเพื่ออาร์เอส ต้องอยู่ในการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลให้ได้ ด้วยการปรับองค์กร วิธีคิด วัฒนธรรมองค์กร" สุรชัยอธิบายเหตุผล
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เริ่มเห็นผลในปีนี้ เพราะจากนี้ไป อาร์เอสจะก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตและบริหารจัดการคอนเทนต์บันเทิง และกีฬา (Entertainment & Sport Content Provider) อย่างต่อเนื่อง และจะรวมเนื้อหาบันเทิงกับกีฬาเข้าด้วยกันกับสื่อทุกประเภทที่มีอยู่ในมือเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
การเริ่มต้นคิดแบบนี้ ก็น่าจะมาจากแนวคิดสปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง ที่หลายค่ายนำมาใช้กันเช่นเทศกาลฟุตบอลโลก แต่ในฝั่งอาร์เอสเอง มองการเข้ามาของธุรกิจนี้แบบมีโมเดลที่ชัดเจน โดยมองจุดแข็งของตัวเองที่มีอยู่คือเรื่องดนตรีนำเข้ามาผนวกรวมกัน
สุรชัยบอกว่า การเริ่มต้นของกีฬาและบันเทิงของบริษัท คือศึกฟุตบอลยุโรป 2008 กำลังจะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งเทศกาลฟุตบอลยุโรปก็คือ 1 ในเทศกาลฟุตบอลที่ได้รับความสนใจไม่น้อยกว่าฟุตบอลโลก จัด 4 ปีครั้ง โดยจะเหลื่อมกับฟุตบอลโลก 2 ปี
คนไทยให้ความสนใจฟุตบอลยูโรไม่น้อยกว่าฟุตบอลโลกและนับวันจะมากขึ้น เพราะนักเตะส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักของคนไทย
เทศกาลฟุตบอลยูโร 2008 อาร์เอสได้รับสิทธิ์ในการจัดถ่าย ทอดสด สินค้า การทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงการแข่งขัน คือได้มาครบถ้วน และสุรชัยตั้งใจว่าจะทำการตลาดแบบ 360 องศา คือครบ ถ้วนรอบด้าน
สินค้า ศิลปิน รายการต่างๆ ที่มีอยู่ในมือจะนำมาพัฒนาให้สอดรับกับเทศกาลฟุตบอลยูโร
ที่ต้องทำแบบนี้ สุรชัยอาจไม่ได้บอกเหตุผลที่ชัดเจน แต่คาดเดาได้ว่ามาจากต้นทุนของการซื้อสิทธิ์ต่างๆ ราคาสูงมาก แต่เมื่อคิดถึงผลตอบแทนก็ถือว่าคุ้มค่ากับระยะเวลาในการจัดการแข่งขัน
เสียดายอย่างเดียวว่าทีมชาติอังกฤษตกรอบไปเสียก่อน ไม่เช่น นั้นคงคึกคักกว่านี้
ฟุตบอลต่างประเทศอีกรายการหนึ่งที่สุรชัยตั้งความหวังไว้ก็คือ ฟุตบอลโลก ซึ่งนั่นก็คือความหวังของผู้จัดทุกราย เพราะเทศกาล ฟุตบอลโลกคือ การหยุดกิจกรรมอื่นทั้งหมด เพื่อติดตามการแข่งขัน
ถ้าเป็นไปได้ อาร์เอสก็ต้องการจารึกชื่อและผลงานในเทศกาล ฟุตบอลโลกสักครั้งเหมือนกัน
นอกจากฟุตบอลต่างประเทศแล้ว อาร์เอสยังเข้าไปเป็นผู้จัดกีฬาซีเกมส์ปี 2009 ในประเทศลาวด้วย ถือเป็นการออกไปทำตลาดนอกบ้าน โดยเฉพาะในส่วนของกีฬาและบันเทิง เพราะที่ลาวการเสพ สื่อและเพลงใกล้เคียงกับวัยรุ่นไทย การเจาะตลาดเพื่อนบ้านด้วยกีฬา และตามมาด้วยบันเทิง ก็น่าจะได้ผลที่น่าพึงพอใจ
จึงไม่ต้องแปลกใจที่ต่อไปจะเห็นโปงลางสะออน ฟิล์ม บ่าววี ออกมาเตะฟุตบอลในช่วงบอลยุโรป และฟุตบอลโลก
ด้วยความพร้อมในสื่อหลายด้าน ทำให้อาร์เอสมองเห็นช่องทางการจะเข้าไปในโมเดิร์นเทรดต่างๆ ด้วยการทำวิทยุเฉพาะศูนย์ขึ้นมาอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเดิมก็มีหลายรายที่ทำรายการส่งเสริมการขายแบบนี้ในโมเดิร์นเทรด ซึ่งมีทั้งเอกชนเข้ามารับดำเนินการ และของแต่ละศูนย์เอง
สุรชัยบอกว่าธุรกิจบริหารสื่อในโมเดิร์นเทรดเต็มรูปแบบ ขณะนี้ มีเจ้าของสินค้าจำนวนมากสนใจลงโฆษณายาวจนถึงปี 2551 เช่นเครือสหพัฒน์ น้ำผลไม้ทิปโก้ โอวัลติน ซึ่งจุดเริ่มต้นของสื่อประเภทนี้มาจากการวิจัยพบว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าที่ไม่ได้ตั้งใจหากได้รับข่าวสารใหม่ๆ ที่จุดขาย และนี่เป็นที่มาของแนวคิดนี้
แต่จะทำค่ายวิทยุส่งเสริมการขายเพียงอย่างเดียวก็ไม่น่าจะเหมาะสม เมื่อสามารถเข้าไปยึดครองพื้นที่โมเดิร์นเทรดได้ขนาดนี้แล้ว บริเวณหน้าจุดชำระเงินซึ่งเป็นจุดที่ผู้ซื้อทุกคนต้องผ่านและใช้เวลานานพอสมควร อาร์เอสก็กำลังรุกธุรกิจสื่อจอแอลซีดี DDS (Dynamic Digital Signage) ที่จุดชำระเงิน เพื่อทำการโฆษณาสินค้า บริการต่างๆ
ถ้าจะขายของกันแล้วก็ต้องทำให้ครบวงจร
สุรชัยบอกว่า นโยบายปี 2551 จะเน้นหนักที่ธุรกิจ 8 กลุ่มที่แบ่งแยกออกมาอย่างชัดเจน แต่จะมีธุรกิจดาวรุ่งที่จะมาแรงอยู่กลุ่มหนึ่ง แต่โดยภาพรวมทั้งหมด ปีนี้เขาตั้งใจว่าจะเป็นปีที่อาร์เอส เริ่มเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่ปรับเปลี่ยนอะไรไปมากมายตั้งแต่ 3-4 ปีที่แล้วและจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่มีอยู่ในมือมากขึ้น
สำหรับอาร์เอสรายได้ปี 2550 อยู่ที่ 2,500 ล้านบาท สัดส่วน รายได้จากธุรกิจคอนเทนต์ 70% ธุรกิจมีเดีย 30% แต่ในปี 2551 คาดว่าจะมีรายได้ 3,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 21% มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจคอนเทนต์ 75% และธุรกิจมีเดีย 25%
|
|
|
|
|