|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2551
|
|
แม้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะขยันเปิดตัวบริการเสริมแปลกใหม่เพื่อหวังใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง หรือเพื่อใช้เป็นข้ออ้างบอกว่าเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาฐานลูกค้าเอาไว้กับตนเองมากมายแค่ไหน
แต่ท้ายที่สุดแล้ว บริการเสริมดั้งเดิมซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการให้บริการโทรศัพท์มือถืออย่างการส่งข้อความสั้น หรือ sms และการส่งภาพพร้อมเสียง แบบมัลติมีเดียอย่าง mms ซึ่งเป็นบริการเสริมในยุคต่อจาก sms ก็ยังเป็นบริการเสริมดาวเด่นทั้งในหัวใจของลูกค้าและผู้ให้บริการเครือข่ายอยู่เสมอ
เมื่อดูจากสถิติของการส่ง sms และ mms ของค่ายโทรศัพท์มือถือเบอร์ 1 และเบอร์ 2 อย่างเอไอเอสและดีแทค ซึ่งมีฐานลูกค้ารวมกันแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโทรศัพท์มือถือทั้งหมดของประเทศไทยก็พบว่า ตัวเลขการส่ง sms และ mms ของทั้งสองค่ายสะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า บริการทั้งสองที่ว่านี้ยังเป็นดาวเด่นตลอดกาลอยู่เสมอ
เฉพาะในปีที่ผ่านมา มีจำนวนข้อความ sms หมุนเวียนอยู่ในระบบของเอไอเอสไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านข้อความ ขณะที่ mms นั้นมีมากถึง 45 ล้านข้อความภายในปีเดียว โดยในช่วงปกติที่ไม่มีวันสำคัญหรือเป็นงานเทศกาลมีลูกค้าส่ง sms ในระบบอย่างน้อย 8 ล้านคนต่อเดือน และ mms นั้นมีการส่งมากถึง 1 ล้านคนต่อเดือน
ขณะที่เบอร์สองของวงการโทรศัพท์มือถืออย่างดีแทคนั้นก็มีปริมาณของข้อความสั้นและข้อความภาพและเสียงที่มากไม่แพ้กัน เฉพาะปี 2550 ปีเดียว มีลูกค้า 6 ล้านคนทำการส่ง sms ทั้งสิ้น 1,200 ล้านข้อความ หรือเฉลี่ยวันละ 3.5 ล้านข้อความ ส่วน mms มีจำนวน 34 ล้านข้อความตลอดปีที่ผ่านมา หรือเฉลี่ยวันละ 6 หมื่นข้อความ จากลูกค้า 6.5 แสนคน
ตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับการส่งข้อความของคนไทยยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขเฉลี่ยของการส่งข้อความของลูกค้าดีแทคนั้นจะส่ง sms อย่างน้อย 13 ครั้งต่อเดือน และลูกค้าที่ใช้ระบบรายเดือนมักส่งข้อความมากกว่าลูกค้าระบบเติมเงิน โดยลูกค้าระบบรายเดือนนั้นส่งข้อความเพิ่มขึ้นจาก 19 ครั้งต่อเดือนเป็น 26 ครั้งเทียบระหว่างปี 2549 และ 2550
ส่วนเทศกาลที่ผู้คนนิยมยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมากดข้อความกันมากที่สุดก็เห็นจะเป็นช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ โดย 2 วันที่ว่าในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ปริมาณของ sms และ mms ของเอไอเอสนั้นเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาราว 25 เปอร์เซ็นต์ โดย มีจำนวน sms เพียง 2 วันถึง 41 ล้านข้อความ และ mms 7.5 แสนข้อความ ส่วนลูกค้าดีแทคส่ง sms กันรวม 38 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 32 เปอร์เซ็นต์ และ mms รวม 6.8 แสนข้อความ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 36 เปอร์เซ็นต์
นอกเหนือจากวันปีใหม่แล้ว ยังมีวันวาเลนไทน์ คริสต์มาสวันแม่ วันพ่อ แม้แต่วันลอยกระทง คนก็ยังนิยมใช้ข้อความในการส่งข้อความหากันมากกว่าช่วงวันปกติของปี
เมื่อมองในแง่ของรายได้ เมื่อจำนวนการส่งข้อความมีมาก รายได้ของผู้ให้บริการย่อมมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ได้สวนทางกันแต่อย่างใด
แม้ผู้บริหารของทั้งสองค่ายจะพบว่าการขยายตัวของ sms นั้นน้อยลงเทียบกับการขยายตัวของการส่ง mms ที่ผู้คนส่งได้ทั้งภาพและเสียง หรือข้อความไปได้ด้วยในคราวเดียวกัน แต่ในทุกๆ ปี รายได้ของ sms ก็ยังทะลุพันล้านบาท และติดอันดับดาวเด่นของตารางรายได้อยู่เสมอ
เฉพาะค่ายดีแทคค่ายเดียวสามารถทำรายได้จากบริการ sms เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิม 1,158 ล้านในปี 2548 เพิ่มเป็น 1,627 ล้าน ในปี 2549 และแตะระดับที่ 1,916 ล้านในปี 2550 โดยสัดส่วนรายได้ sms เพียงอย่างเดียว เมื่อเทียบกับรายได้รวมของดีแทคนั้นเติบโตจาก 2.9 เปอร์เซ็นต์ เป็น 3.9 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
งานนี้ sms หรือบริการส่งข้อความสั้นจึงไม่ได้เป็นเพียงดาวเด่นที่ไม่เคยจะมีทีท่าว่าจะเป็นดาวดับเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นข้อความสั้นที่ทำเงินได้พันล้านบาทได้ไปอีกนานเลยทีเดียว
|
|
|
|
|