Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539
วิจิตร สุพินิจ             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข เพิ่มพล โพธิ์เพิ่มเหม
 

   
related stories

เอกกมล คีรีวัฒน์กับยุคมืดของแบงก์ชาติ
ข้อมูลบุคคล เอกกมล คีรีวัฒน์
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ข้อมูลบุคคล สุรเกียรติ์ เสถียรไทย

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
วิจิตร สุพินิจ




ผู้ว่าวิจิตรกำลังเผชิญแรงกดดันอย่างหนัก ในสายตาคนภายนอก เขาและแบงก์ชาติกำลังประสบกับ "วิกฤตศรัทธา" ขณะที่จากคนภายในเองก็อยู่ในภาวะระแวงอันเนื่องมาจากการที่ผู้ว่าวิจิตรดึงการเมืองเข้ามามีบทบาทในแบงก์ชาติมากเกินไป

อย่างไรก็ตามด้วยบุคลิกภาพอันสุขุมลุ่มลึกผสานกับท่าทีนุ่มนวลน้อมตัวเข้าหาทุกรัฐมนตรีคลัง ตามจารีตประเพณีที่วิจิตรต้องทำ เป็นสิ่งที่วิจิตรเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ 50 ปีของแบงก์ชาติว่า นี่คือยุทธวิธีหนึ่งของการรักษาระยะความสัมพันธ์กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรูปของการทำงานร่วมกันในฐานะเท่าเทียมมิให้อีกฝ่ายหนึ่งครอบงำได้ในระบบการเมืองที่เปิด และสามารถรักษาจุดยืนด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจและเก้าอี้ตำแหน่งของตนเองได้ในระยะยาว

"หน้าที่ของเราต้องทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล ซึ่งผมก็ทำมาโดยตลอด ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล ผมก็จะนัดพบรัฐมนตรีคลังเป็นงานแรก เป็นธรรมเนียมที่ว่ารัฐมนตรีคลังมาใหม่เราก็จะนัดไปทันที จะเห็นว่าเวลาที่รัฐมนตรีคลังนัดหน่วยงานของกระทรวงการคลังคุยกันจะไม่มีแบงก์ชาติเราจะแยกต่างหาก คุยกันสองต่อสองสำหรับทุกรัฐมนตรีคลัง ผมไปด้วยตัวเองตลอด พอวันที่ท่านรับตำแหน่งวันแรกผมก็นัดเลย ไปพบและนำเรื่องไปเล่าให้ฟังว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เรื่องต่างๆไปถึงไหนบ้างเพื่อให้ท่านทราบ"

วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเล่าให้ "ผู้จัดการรายวัน" ฟังเมื่อ 5 ก.พ.2538 ถึงเบื้องหลังบทบาทของแบงก์ชาติที่สามารถผลักดันนโยบายการเงินได้ราบรื่น ตั้งแต่

เป็นผู้ว่าการแบงก์ชาติในเดือน พฤศจิกายน 2533 ในทุกสถานการณ์การเมืองที่วิจิตรสามารถเอาตัวรอดผ่านมาแล้วใน 7 รัฐบาลและ 6 รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังนับตั้งแต่ดร.วีรพงษ์ รามางกูร สุธี สิงห์ เสน่ห์ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ และล่าสุด ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย

วิจิตรเรียนรู้ว่า ยิ่งความไม่แน่ใจว่าช่วงเวลาในตำแหน่งของนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั้นเท่าใด ก็ยิ่งพบความจริงว่าแบงก์ชาติกลับจะถูกนักการเมืองล่วงละเมิดนโยบายอนุรักษ์นิยมทางการเงินมากขึ้นเท่านั้น โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐบาลให้มากขึ้น เพื่อขยายฐานเลือกตั้งของตนเอง โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่โยงใยสัมพันธ์กับธุรกิจบริษัทที่กำลังขยายตัว ก็จะมีผลให้แบงก์ชาติถูกบีบคั้นจากกระทรวงการคลังมากขึ้นด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในรัฐบาลบรรหาร 1 ที่ขอเพิ่มงบประมาณอีก 1 หมื่นล้านบาทหลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งได้ไม่นานนักงานนี้แบงก์ชาติเฉยไม่ค้ดค้านแม้จะมีเสียงวิพากษ์ว่าจะทำให้เงินเฟ้อมากขึ้น

บทบาทของผู้ว่าวิจิตรโดดเด่นมากในสมัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง"สุรเกียรต์ เสถียรไทย"

คนในวงการการเงินการคลังวิเคราะห์ให้ฟังว่า การที่ผู้ว่าวิจิตรค่อนข้างจะโดดเด่นมากนั้นมาจากปัจจัย 3 ประการ

หนึ่ง- ความ "อ่อนหัด" ของรัฐมนตรีคลังคนใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องการเงินการคลัง

สอง- โดยบทบาทและหน้าที่ของผู้ว่าแบงก์ชาติ วิจิตรมีหน้าที่เสนอนโยบายและความเห็นด้านการเงิน และรัฐมนตรีอยู่ในฐานะ"จำเป็นที่จะต้องเลือก"นโยบายการเงินมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งเรื่องเงินเฟ้อที่ใช้เรื่องดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหลักในการแก้ไขปัญหา การควบคุมสินเชื่อเป็นต้น

หลายคนวิจารณ์ว่า เขาคือ "ผู้อยู่เบื้องหลัง" รัฐมนตรีคลังอย่างแท้จริงขณะที่บางคนให้ความชอบธรรมว่า เพราะผู้ว่าวิจิตรเป็นข้าราชการ เมื่อรัฐมนตรีคลังใช้ให้ทำอะไรก็ต้องทำ รวมไปถึงเรื่องการเสนอนโยบายต่างๆ ซึ่งแน่นอนที่แบงก์ชาติจะต้องเสนอนโยบายด้านการเงิน

บทบาทของผู้ว่าวิจิตรจึงโดดเด่นและกลายเป็น "ผู้อยู่เบื้องหลัง" อย่างช่วยไม่ได้

สาม- แม้ว่าโดยบุคลิกแล้ว ผู้ว่าวิจิตรจะมีลักษณะสุขุม นุ่มลึกและไม่ค่อยพูดมากแต่ในวงการยอมรับว่า เขาเป็นผู้ว่าที่เชื่อมั่นและภูมิใจใน "ความเป็นสถาบัน" มากๆ

ในยามวิกฤต เขาประกาศว่า แบงก์ชาติคือสถาบันที่มั่นคง และช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศพ้นความลำบากมาได้ซึ่งจากสถานการณ์หลายๆ ครั้งแบงก์ชาติก็ทำหน้าที่เช่นนั้นจริงๆ ขณะที่ผู้ว่าวิจิตรอาจจะมองว่า (และอาจเป็นเช่นนั้นจริงๆ)สถาบันอื่นๆ อ่อนล้าเกินกว่าที่จะช่วยพยุงได้

กล่าวกันว่านักการเมืองค่อนข้างพอใจบทบาทของผู้ว่าวิจิตรที่ไม่แข็งกร้าวเกินไป และเป็นผู้ที่เข้าใจสถานการณ์การเมืองดีกรณีดัชนีเงินเฟ้อ ซึ่งสับสนกันอย่างมากว่าเป็นเท่าไรกันแน่ แบงก์ชาติได้เสนอตัวเลขที่ค่อนข้างน่าพอใจต่อสถานการณ์ ขณะที่สถาบันการเงินอื่นโจมตีว่า หากเงินเฟ้อจะเป็นตัวเลขที่เลวร้ายก็น่าจะยอมรับความเป็นจริงออกมา

อย่างไรก็ตาม การอยู่เบื้องหลังของผู้ว่าวิจิตรบางครั้งก็ "ล้ำเส้น" เกินไป ดังเช่นกรณีกองทุนจำนำหุ้น 3 หมื่นล้านบาทเพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งประสบความล้มเหลว และผู้ว่าวิจิตรก็เสนอ

"กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน"ซึ่งต่อมาก็พบว่าหากนำมาใช้จะผิดกฏหมาย ผู้ว่าวิจิตรก็เสนอให้ธนาคารกรุงไทยและออมสินมาช่วยอีก จนกลายเป็นความไม่พอใจและไม่เข้าใจในบทบาทของผู้ว่าการแบงก์ชาติ

ยิ่งกรณี "ปลดเอกกมล" ความหวาดระแวงและไม่เข้าใจในตัวผู้ว่าวิจิตรยิ่งมีมากขึ้นเป็นลำดับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us