Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539
ธวัช อังสุวรังษี ผู้ชนะที่น่าหมั่นไส้แห่งปี             
 


   
search resources

กองทุนรวมบัวหลวง, บล.
ธวัช อังสุวรังษี
Funds




เพียงชื่อธวัช อังสุวรังษีก็ทำให้หลายคนในสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมหนาว เพราะผู้บริหารหนุ่มสมองร้อนอย่างธวัชเชื่อมั่นในตัวเองสูงจนคนหมั่นไส้ และกล้าทำสิ่งที่แตกต่างกว่าจนคนลือทั้งยุทธจักร เช่น เป็นคนแรกที่จัดตั้ง"กองทุนเปิด"บัวหลวง โดยปรัชญาบริหารแบบคนรุ่นใหม่ที่ชอบการแข่งขันแบบแฟร์เกม เร้าใจด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เช่น จุดขายหน่วยกองทุนผ่านเอทีเอ็มคนแรกและคนเดียวซึ่งธวัชภูมิใจที่ทุกวันนี้ยังไม่มีคู่แข่งขันรายใดจะไล่ตามทัน

"กองทุนเปิดบัวแก้ว" เป็นความแปลกแยกที่แตกต่าง ณ จุดเริ่มต้นขณะที่บลจ.คู่แข่ง 7 รายล้วนแล้วแต่ทำกองทุนปิดแต่ในที่สุดกองทุนเปิดเป็นที่นิยม เพราะซื้อง่ายขายคล่องและให้กำไรจากส่วนต่างของราคา ขณะที่กองทุนปิดต้องครบตามกำหนด 3-5 ปี แล้วรอรับเงินปันผล นอกจากนี้บลจ.บัวหลวงไม่เก็บค่าธรรมเนียมขาย ขณะที่คู่แข่งหักค่าธรรมเนียมขาย ยิ่งกองทุนปิด ลูกค้าจะต้องถูกหัก 0.3% ทีเดียว ในที่สุดคู่แข่งทุกคนก็ต้องกลายพันธุ์ผสมหรือเปลี่ยนทิศทางตลาดหรือเปลี่ยนทิศสู่กองทุนเปิดกันเป็นแถว ถึงเวลานี้ธวัชก็ยิ้มในฐานะแชมป์บริหารกองทุนรวมแห่งปี

10 กองทุนรวมที่บลจ.บัวหลวงตั้งระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2536 สองกองทุนที่ให้ผลตอบแทนรวมเพิ่มขึ้น ได้แก่กองทุนเปิดบัวแก้วให้มากที่สุดถึง 29% และบัวขวัญให้ 20.74% ขณะที่กองทุนปิดของคู่แข่งต่างมีผลตอบแทนขาดทุนกำไรขาดทุนมากหรือน้อยทั้งนี้เพราะกองทุนต่างๆ ติดหุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หนัก ขณะที่บางกองทุนถือหุ้นทีพีไอโพลีนซึ่งราคาปรับตัวลงมากก็ทำให้พอร์ตบางกองทุนขาดทุนหนัก

ใช่ว่าธวัชจะไม่มีกองทุนขาดทุนกองทุนที่ขาดทุนมากที่สุดในกลุ่มกองทุนรวมของทุกแห่งที่จัดตั้งระหว่าง สิงหาคม-ธันวาคม 2537 ก็คือกองทุนบัวหลวงธนคมนั่นเอง ขาดทุน ประมาณ 11.21% ขณะที่กองทุนบัวหลวงโครงสร้างขาดทุน 4.83% เหตุผลขาดทุนย่อมอ้างภาวะตกต่ำของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลง 12% แต่งานนี้ลูกค้าที่ถือหน่วยลงทุนก็กล้ำกลืนรอจังหวะ

พยัคฆ์หนุ่มลำพองอย่างธวัชที่มีความรู้ระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยม CALTECH (CALIFORNIA INSTITUTE OF TECHNOLOGY) แต่มาประสบความสำเร็จในฐานะ THE BEST FUND MANAGER OF THE YEAR มืออาชีพที่บริหารกองทุนรวมบัวหลวงมูลค่าสองหมื่นล้านบาท รักการอ่านหนังสือมากที่สุด ชอบเล่นกอล์ฟ สะสมภาพเขียนและมีจิตวิญญาณของนักวิชาการอยู่สูงในมาดผู้บริหารกองทุนผู้ปราดเปรื่องที่พูดเร็วและคิดเร็ว

"ผมไม่ใช่นักธุรกิจแต่คล้ายๆ นักวิชาการมากกว่า ผมอยากให้เข้าใจว่า ผมไม่มีแรงทะเยอทะยานอยากจะไปบริหารสมาคม แต่ผมก็ไม่ต้องการให้เขาเอาสมาคมมาปิดปากผม ไม่ว่าจะเรื่องประเมินผลหรือการให้ข่าวที่ต้องผ่านสมาคมอย่างเดียว หรือการตัดสินใจแบบพวกมากลากไปไม่เข้ามาตรฐานโลกก็ไม่ใช่สิ่งถูกต้อง ระยะหลังๆ นี้ผมเบื่อความไม่จริงใจ" นี่คือความอึดอัดใจของธวัช

ถึงกระนั้น สามปีที่บริหารกองทุนรวมบัวหลวงธวัชสร้างผลงานชิ้นโบวแดงที่เข้าตากรรมการ โดยเฉพาะบิ๊กบอส "โทนี่" ชาติศิริ โสภณพนิชที่สนับสนุนดาวรุ่งมาแรงคนนี้เต็มที่ โทนี่เคยบอกว่า "เรื่องอายุมากหรือน้อย ผมไม่มอง แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม การตัดสินใจ ประสบการณ์ความรอบคอบ เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญกว่า"

ธวัชจึงเป็น "มนุษย์ทองคำ" รุ่นใหม่ที่มีค่าท่ามกลางคนรุ่นเก่าผู้สร้างฐานธุรกิจ แต่ความเด่นบางทีก็เป็นภัยหากไม่รู้จักรักษาระยะใกล้ไกลกับอำนาจ ธวัชจึงเก็บตัวเงียบๆแบบโลว์โปร์ไฟล์ เว้นแต่ถูกรุกรานจึงตอบโต้แบบป้องกันตัวเองที่วัดกันด้วยกึ๋น

ความที่ธวัชเป็น"คนหัวแข็ง"ซึ่งเป็นฉายาที่คนในสมาคม บลจ.ตั้งให้ เพราะเหตุไม่ซูฮกนายกสมาคม ก็ทำให้เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างก็เบื่อเอือมระอาด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายธวัชก็ยืนยันอย่างเชื่อมั่นในตัวเองว่า ที่ผ่านมาพิสูจน์ว่าตนเองเดินมาถูกทางและกวาดหน้าบ้านตนเองสะอาด

"ผมเป็นคนอย่างนี้มานานแล้วสมัยเรียนมศ.2 ที่สวนกุหลาบ ผมอ่านแคลคลูลัสและชอบนั่งทำ โจทย์ฟิสิกส์ อาจารย์เห็นเข้าก็หมั่นไส้เพราะผมไม่ซูฮก จับผิดผมในห้องบ้าง พอเขาตั้งคำถามยากๆ ผมก็ตอบได้เลยผมทอปวิชาคณิตศาสตร์ ในรุ่นผมไม่มีใครกินผม ผมสอบเทียบเอนทรานซ์เข้าหมอได้ตอนมศ.4 และจบมศ.5 ได้ที่ 1 ของประเทศไทย แต่ผมไม่เรียนหมอแม้จะสอบเข้าได้ เพราะมันง่ายที่จะเดินตามคนอื่น แต่ผมชอบทำสิ่งที่แตกต่างแม้จะยากลำบากกว่าแต่ให้ผลเกินคุ้มแบบ EXTRA RETURN ในบั้นปลาย เหมือนทำกองทุนเปิด เราคิดไปอีกด้านหนึ่ง" ธวัชเล่าให้ฟังถึงอุปนิสัยขบถที่เชื่อมั่นตัวเอง

ตั้งแต่ยังแค่ตัวเล็กๆ ในฐานะMANAGEMENT TRAINEE ของปูนซิเมนต์ไทย ธวัชกล้าแย้งกับชุมพลในเรื่องสร้างระบบขนหินสู่โรงงานท่าหลวง แต่ธวัชอยู่ที่นี่ได้เพียงสิบอาทิตย์ก็ลาออก ทั้งๆ ที่พารณจะเตรียมส่งเขาไปเรียนฮาร์วาร์ด แต่ธวัชปฏิเสธ

หัวเลี้ยวหัวต่อชีวิตตรงนี้พิสูจน์ว่าเขาตัดสินใจถูกธวัชเข้าสู่แบงก์กรุงเทพ ที่ซึ่งเป็นดินแดนอุดมด้วย เงินๆ ทองๆ และตัวเลขก่อนธวัชมาบริหารอกงทุนรวม เขาเคยเป็น AVP ของฝ่ายธนบดีธนกิจ ซึ่งประสบการณ์ช่วงนี้เองที่เป็นคำตอบว่าทำไมธวัชไม่สนใจตื่นเต้นกับไพรเวตฟันต์ เพราะว่าประสบการณ์ตอนทำไพรเวตแบงกิ้งบอกเขาว่าไม่คุ้ม แต่เขาเตรียมลุยไปข้างหน้ากับงานที่รออนุมัติจากก.ล.ต.คือ SECTORAL FUND ที่เจาะเฉพาะกลุ่ม และ ALLOCATION FUND ที่ย้ายการลงทุนได้

แต่จุดอ่อนของคนที่คิดว่าตัวเองเก่งมักจะไม่อดทนขี้เบื่อและคิดว่าคนอื่นไม่เข้าท่าเลอะเทอะ ธวัชก็หนีไม่พ้นธรรมชาติข้อนี้ เพียงแต่ถ้าหากใครสักคนจะสามารถทำให้เขายอมรับนับถือได้ คนๆ นั้นก็น่าจะเป็นคนในตระกูลโสภณพนิช ดร.ประสาน ไตรรัตน์วรกุลและอีกคนคือบันเทิงตันติวิท ประธานกรรมการ บงล.ธนชาติ คนที่ธวัชพูดได้เต็มปาก เต็มคำว่า "VERY SMART GUY"

เหนือคนยังมีคน วันนี้ธวัชเป็นแชมป์บริหารกองทุนรวม แต่วันหน้าการแข่งขันที่มีผู้เล่นมากขึ้นอีก 6 บลจ.ใหม่ เพิ่มจากปัจจุบันที่มีอยู่ 8 บริษัทที่แตกตัวออกกองทุนปัจจุบันทั้งสิ้น 125 กองทุน ใครคือผู้ช่วงชิงเค้กส่วนแบ่งตลาดมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทนี้ !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us