Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 มกราคม 2551
ทัวร์นอกปีชวด ฝืด!...เร่งปรับทัพหนีตาย             
 


   
search resources

Tourism
เอนก ศรีชีวะชาติ




ปี 51 ทัวร์ต่างประเทศ(เอาต์บาวน์)เริ่มระส่ำอีกครั้ง เพราะปัจจัยรอบด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ส่งผลให้ต้องปรับตัวจากท่องเที่ยวระยะไกลหันมาใช้ทางเลือกตัวใหม่ด้วยการท่องเที่ยวต่างประเทศราคาถูกซึ่งจะใช้ 4 ประเทศหลักๆ อาทิ “จีน-เวียดนาม-พม่า-มาเก๊า” เข้ามาอยู่ในแพคเกจแทนที่จะเที่ยวในแถบยุโรปหรือประเทศที่อยู่ในระยะไกลเหมือนแต่ก่อน เพื่อคุมเข้มต้นทุนเลือกซื้อที่ไม่เกินทริปละ 15,000 บาท/คน

สอดคล้องกับที่บริษัทนำเที่ยวสบช่องเปิดมหกรรมขายทัวร์ด้วยการขับรถเที่ยวรอบอาเซียนหรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน เชื่อได้ว่าปี 51 จะมีกำลังการซื้อโตขึ้นถึงร้อยละ 40 และสามารถลดค่าใช้เกือบหมื่นบาท/ทริป ขณะเดียวกันโลว์คอสแอร์ไลน์เริ่มฉวยโอกาสขึ้นค่าตั๋วทุกเทศกาลทันทีเช่นกันหลังประเมินกำลังซื้อที่คึกคักด้วยรูปแบบการจัดแพคเกจใหม่ๆออกมา

แนวโน้มคนไทยท่องเที่ยวต่างประเทศ (outbound) เอนก ศรีชีวะชาติ นายกสมาคมไทย บริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) ยอมรับว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการในครั้งนี้จะส่งผลดีขึ้นโดยมีปัจจัยหลักการตัดสินใจเลือกซื้อแพ็กเกจจากต้นทุนค่าใช้จ่าย ซึ่งพบว่า ราคาแพ็กเกจ จะประมาณ 15,000 บาท/คน ขณะที่เส้นทางเป้าหมายยังได้รับความนิยมในตลาด ปัจจุบัน มี 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม พม่า รวมทั้ง มาเก๊า หลังเปิดบริการโครงการรีสอร์ตหลายแห่งคนไทยนิยมแห่ไป ท่องเที่ยวจำนวนเพิ่มขึ้นทุกเดือน

และในช่วงฤดูร้อนเมษายนปี 2551 ซึ่งแต่เดิมเป็นช่องทางของการขายแพ็กเกจท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและ กลุ่มที่มีกำลังซื้อเอาต์บาวนด์นิยมซื้อแพ็กเกจทัวร์ญี่ปุ่น เพราะค่าเงินเยนอ่อนลงส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทยมีศักยภาพของการใช้จ่ายได้มูลค่ามากขึ้น รวมทั้งเป็นประเทศที่เด็กให้ความสนใจสูง ขณะที่เส้นทางที่คนไทยนิยมลดลงคือ ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ เนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง มีเงื่อนไขการเดินทางมากกว่า อาทิขั้นตอนการขออนุมัติวีซ่าที่ต้องใช้ระยะเวลานาน

เมื่อสถานการณ์ท่องเที่ยวเป็นแบบนี้ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจนำเที่ยวประเมินว่ากำลังซื้อคนไทยจะพบว่าต้นทุนกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดกับผู้ซื้อที่จะเลือกเดินทางท่องเที่ยว ดังนั้นบริษัททัวร์ต้องปรับวิธีการขายลดการเดินทางโดยเครื่องบินให้น้อยลงและหันไปเพิ่มการเดินทางด้วยรถยนต์มากขึ้น หากมาคำนวณต้นทุนแล้วจะส่งผลทำให้ต้นทุนต่ำลงถึง 80% ที่สำคัญสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ครอบคลุมเส้นทางทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยไปจนถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน

สอดคล้องกับจำนวนตัวเลขของกลุ่มเดินทางโดยรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศที่มีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30-40 โดยได้รับการสนับสนุนจากกำลังซื้อกลุ่มระดับกลาง ซึ่งต้องการท่องเที่ยวแบบคุ้มค่าเงิน ถึงแม้ค่าน้ำมันสูงขึ้นแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบกับการเดินทางโดยเครื่องบิน ขณะเดียวกันการสร้างพันธมิตรที่บริษัททัวร์ต้องสนใจมากขึ้นคือ กลุ่มของ บริษัท ห้างร้าน และ หน่วยงานรัฐ ที่เดินทางประชุมสัมมนาหรือท่องเที่ยวฟรีประจำปี (meeting-incentive) จะมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเช่นกันกว่า 40% กำลังซื้อกลุ่มนี้สามารถเดินทางได้ตลอดปีแบบไม่มีเงื่อนไข

จุดอ่อนของโปรแกรมท่องเที่ยวทางรถยนต์คือใช้เวลาเดินทางที่มากกว่าเครื่องบินถึง 2 วัน ดังนั้นการปรับตัวของผู้ประกอบการจึงต้องทดแทน ความคุ้มค่าโดยการนำเสนอจุดขายด้วยการแวะเยี่ยมชมประเทศต่างๆที่เดินทางผ่าน อาทิเส้นทาง กรุงเทพฯ-กุ้ยหลิน 9 วัน ในราคาประมาณ 12,000-13,000 บาท/ทริป ระหว่างเดินทางจะได้เที่ยวชมทั่วประเทศ สปป.ลาว ถ้าหากเดินทางด้วยเครื่องบิน ใช้เวลา 7 วัน ราคาแพงกว่าราว 7,000-8,000 บาท จะประมาณ 22,000 บาท/ทริป เปรียบเทียบกับการเที่ยวในประเทศแถบอาเซียนด้วยอย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม 7 วัน/ทริป มีค่าใช้จ่ายเท่ากันที่ 8,000-9,000 บาท/ทริป

เมื่อผู้ประกอบธุรกิจทัวร์เอาต์บาวนด์ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ด้านการวางแผนเสนอขายแพ็กเกจช่วงเทศกาลต่างๆ เน้นการเดินทางโดยรถยนต์กันมากขึ้น ส่งผลให้สายการบินหลายแห่งทยอยขึ้นราคาตั๋ว ทำให้ผู้บริโภควางแผนการท่องเที่ยวให้เกิดความคุ้มค่ามากขึ้น

ขณะเดียวกันช่วงเทศกาลท่องเที่ยว โลว์คอสต์แอร์ไลน์ทั่วประเทศอาจจะถือโอกาสขึ้นราคาตั๋วเฉพาะกิจสูงกว่าปกติเกือบ 1 เท่า เช่น เที่ยวบิน ไป-กลับ กรุงเทพฯไป เวียดนาม ช่วงเทศกาลราคารวมอาจสูงขึ้นถึงหลัก 10,000 บาท ปกติขาย 5,000 บาท ขณะที่ค่าครองชีพต่างๆ เช่น ที่พัก อาหาร ที่พักก็ราคาสูงขึ้น ทำให้คนที่สนใจช่วงเทศกาลเปลี่ยนไปเดินทางโดยรถยนต์และเที่ยวในประเทศ หรือชะลอการเดินทางรอไปเที่ยวนอกเทศกาลแทน

แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมนักท่องเที่ยวจะเริ่มคึกคักขึ้นอีกครั้งก็ตาม แต่หลังจากพ้นฤดูร้อนในช่วงเมษายนไปแล้วอาจเป็นดัชนีชี้วัดได้ถึงความชัดเจนว่าทิศทางท่องเที่ยวต่างแดนจะเป็นอย่างไร รวมทั้ง สถานที่ท่องเที่ยวรอบกรุงเทพฯจะกลับมาได้รับความนิยมโดยเฉพาะภาคตะวันออก ระยอง พัทยา หัวหิน ชะอำ ตราด จันทบุรี ได้อีกหรือไม่ เพราะยังมีปัจจัยลบเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทุกด้านปรับราคาสูงขึ้น อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร เริ่มทยอยประกาศขึ้นราคาแล้วในบางส่วนเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us