Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 มกราคม 2551
แอสทีน่า ดึงแบรนด์นอก สร้างตลาดไฮเอนด์             
 


   
search resources

Electric
Branding
แอสทีน่า (ประเทศไทย), บจก.




“เราเชื่อว่าเรามีความพร้อมที่จะทำตลาดระดับบน ประกอบช่องทางที่เรามีอยู่ในโมเดิร์นเทรดก็เป็นที่ยอมรับของตลาดตั้งแต่ระดับกลางไปถึงระดับบน” เป็นคำกล่าวของ ประวิทย์ อนันตวราศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอสทีน่า (ประเทศไทย) ที่ถือเป็นการประกาศให้ตลาดรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวต่อจากนี้ไปของแบรนด์แอสทีน่าที่จะขยายตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ปะทะกับแบรนด์เนมชั้นนำในตลาด

นับตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในตลาดเมืองไทย จนถูกตั้งแง่ว่าเป็นสินค้าด้อยคุณภาพที่เน้นแต่การทำสงครามราคา ซึ่งส่งผลให้โลคัลแบรนด์ของไทยโดนหางเลขไปด้วยเพราะโลคัลแบรนด์บางรายดำเนินรอยตามสินค้าจีนด้วยการลดฟังก์ชันการใช้งานเพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้สามารถตัดราคาสู้คู่แข่งในตลาดได้

ทว่ายังมีโลคัลแบรนด์อีกหลายรายที่ต้องการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคตลอดจนความพยายามในการแสวงหาช่องทางการตลาดที่ผู้บริโภคให้การยอมรับ นอกจากนี้โลคัลแบรนด์หลายรายยังพยายามดำเนินกลยุทธ์ตามแบรนด์เนมชั้นนำไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ การใช้อีโมชันนอลมาร์เกตติ้งเพื่อสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ การสร้างอิมเมจชอปเพื่อยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้มีดีไซน์ที่แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

ซึ่งทั้งหมดนี้คือการยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ตัวเองให้เป็นที่ยอมรับในตลาดระดับบนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้แบรนด์เหล่านี้ไม่ต้องต่อสู้กับแบรนด์เล็กๆที่เน้นแต่สงครามราคาเพราะนอกจากจะเหนื่อยแล้ว ยังได้กำไรต่อหน่วยน้อยกว่าการทำตลาดไฮเอนด์ เพียงแต่แบรนด์เหล่านี้จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้บริโภคเห็นถึงความคุ้มค่าที่ต้องจ่ายในราคาที่แพงกว่า

ที่ผ่านมาโลคัลแบรนด์หลายรายมีการปรับกระบวนยุทธ์เพื่อขยับเข้าใกล้แบรนด์เนมให้ผู้บริโภคยอมรับเช่น แบรนด์อะโคเนติค แม้เจ้าของจะเป็นชาวต่างชาติแต่แบรนด์ถูกสร้างขึ้นที่เมืองไทย โดยมีการขยายโชว์รูม อะโคเนติคในศูนย์การค้าชั้นนำซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างการรับรู้ไปสู่ผู้บริโภคแล้วยังเป็นที่ที่นำนวัตกรรมใหม่ๆมาโชว์ให้ผู้บริโภคเห็นถึงความล้ำหน้าของแบรนด์ การนำสินค้าไฮเทคมาจำหน่ายเช่นแอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดีที่มีฟังก์ชั่นในการต่อเชื่อมกับมีเดียต่างๆ และจบด้วยการสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านภาพยนตร์โฆษณาที่สะดุดสายตาผู้บริโภค รวมถึงการทำกิจกรรมการตลาด การโรดโชว์เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับสินค้า อีกทั้งยังเป็นการล้างแบรนด์ลอยัลตี้ที่คู่แข่งปลูกฝังให้กับลูกค้าเพราะ อะโคเนติค มองว่าผู้บริโภคยุคปัจจุบันไม่ยึดติดแบรนด์ และไม่ได้มีแบรนด์ลอยัลตี้มากนัก หากมีสินค้าดีๆที่สอดคล้องกับไลฟ์ไสตล์และมีความคุ้มค่าคุ้มราคาไปเสนอแล้ว ผู้บริโภคก็พร้อมที่จะลองสิ่งใหม่

นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ลีโอน่าที่พัฒนาบูธของตัวเองเพื่อโปรโมตเครื่องเล่น MP3 ภายใต้แบรนด์ Dmove ขณะที่แบรนด์อื่นๆอย่างไดสตาร์หันมาทำตลาดสินค้าไฮเอนด์อย่างแอลซีดีทีวีมากขึ้น รวมถึงแบรนด์ มิตรตรอน ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนกับแอลจี ก็หันมาทำตลาดแอลซีดีทีวีเพื่อยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับได้เร็วขึ้นและเป็นการทำตลาดที่มีมาร์จิ้นสูงซึ่งคุ้มค่ากว่าการทำตลาดแมสที่ต้องตัดราคากับคู่แข่งจนไม่เหลือกำไร

หากสังเกตให้ดีจะเห็นได้ว่าแบรนด์เหล่านี้เน้นตลาดหมวดภาพและเสียงเนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ๆหมุนเวียนเข้ามาตลอดเวลา ในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนไม่ค่อยมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามามากนัก

แอสทีน่าเป็นอีกหนึ่งโลคัลแบรนด์ของไทยที่เน้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนซึ่งที่ผ่านมามีการทำตลาด 2 แบรนด์คือแอสทีน่า และเอ็มไพร์ โดยทั้ง 2 แบรนด์มีความแตกต่างกันตรงที่ แอสทีน่าจะเน้นสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนหลัก อย่างเครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องครัวบิลต์อิน โดยเจาะตลาดระดับ B-B+ ส่วนแบรนด์เอ็มไพร์ทำสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนชิ้นเล็กอย่างเตาอบ เครื่องดูดควัน เตาฝัง และซิ้ง โดยจับตลาดระดับ B ลงมา

อย่างไรก็ดีในการขยับไปสู่ตลาดบน แอสทีน่าเลือกที่จะนำแบรนด์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดเนื่องจากสามารถสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคไทยได้ง่ายกว่าการใช้แบรนด์แอสทีน่า อีกทั้งความเป็นแบรนด์นอกจะช่วยทำให้สินค้าสามารถขายได้มาร์จิ้นที่สูงกว่าการใช้แบรนด์แอสทีน่า

ซอยเซกเมนต์ เจาะตลาดเครื่องซักผ้า

บริษัทวิจัยตลาด จีเอฟเค ได้แบ่งเซกเมนต์ตลดาเครื่องซักผ้าออกเป็น 3 ระดับคือ เครื่องซักผ้า 2 ถังซึ่งจับตลาดระดับล่าง มีราคาถูก แต่การใช้งานไม่สะดวก ตลาดเครื่องซักผ้า 1 ถัง มีราคาแพงขึ้นมาแต่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่า และตลาดเครื่องซักฝาหน้ามีราคาแพงที่สุดแต่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ดีกว่า 2 ประเภทแรก โดยการสำรวจสัดส่วนตลาดเครื่องซักผ้าในเชิงปริมาณพบว่าเครื่องซักผ้า 2 ถังเป็นตลาดขนาดใหญ่มีปริมาณการขายสูงสุดคิดเป็นสัดส่วน 57% ตามด้วยเครื่องซักผ้า 1 ถัง มีสัดส่วน 39% และที่เหลือ 4% เป็นเครื่องซักฝาหน้า

อย่างไรก็ดีหากคิดในเชิงมูลค่าแล้วจะพบว่าตลาดเครื่องซักผ้าถังเดี่ยวมีสัดส่วนสูงสุดคือ 51% ในขณะที่เครื่องซักผ้า 2 ถังมีสัดส่วนรายได้เพียง 38% ที่เหลือ 21% เป็นสัดส่วนของเครื่องซักฝาหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดระดับไฮเอนด์มีประสิทธิภาพในการสร้างรายได้มากกว่า ในขณะที่ตลาดระดับล่างอย่างเครื่องซักผ้า 2 ถังแม้จะมีจำนวนขายสูงแต่รายได้กลับเข้ามาน้อยเพราะต้องตัดราคาสู้กับคู่แข่ง ดังนั้นเครื่องซักผ้าแบรนด์เนมหลายๆค่ายจึงพยายามหันมาโฟกัสตลาดระดับกลางถึงไฮเอนด์มากขึ้น

ไททัน ถือเป็นแบรนด์แรกที่ แอสทีน่านำเข้ามาทำตลาดเพื่อขยายฐานลูกค้าระดับพรีเมียม ทั้งนี้เนื่องจากสัดส่วนยอดขายของบริษัทมากกว่าครึ่งมาจากเครื่องซักผ้า ดังนั้นแอสทีน่าจึงเลือกที่จะทำตลาดพรีเมี่ยมโดยเริ่มจากตลาดเครื่องซักผ้าด้วยการนำเครื่องซักผ้าแบรนด์อังกฤษเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย

ไททันเป็นเครื่องซักฝาหน้าที่มีความแตกต่างจากเครื่องซักฝาหน้าโดยทั่วไปตรงที่สามารถถอดถังซักออกมาทำความสะอาดได้ นอกจากนี้ยังมีตัวถังให้ผู้บริโภคถึง 3 ใบ สามารถแบ่งแยกตามการใช้งานได้ โดยรุ่นความจุ 10.5 กิโลกรัม มีราคาประมาณ 49,900 บาท ซึ่งแพงกว่าเครื่องซักฝาหน้าทั่วไป ที่มีราคาเฉลี่ย 2-3 หมื่นบาท โดยค่ายเกาหลีทั้งซัมซุงและแอลจีต่างชูจุดขายเรื่องซิลเวอร์นาโนที่ทำให้ตัวถังสะอาดกว่าเครื่องซักปกติ

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาค่ายเกาหลีได้เพิ่มฟังก์ชั่นในการซักแห้งแบบเป่าลมร้อนและปล่อยไอร้อนเพื่อขจัดกลิ่นสำหรับผ้าที่ไม่ได้สกปรกมากนักโดยมีราคาเฉลี่ยที่ 4-6 หมื่นบาท ซึ่งในรุ่น 69,900 บาท จะมีฟังก์ชั่นในการอบผ้า 7 กิโลกรัม และซักผ้า 12 กิโลกรัม ซึงไททันเสียเปรียบในเรื่องการอบผ้าจึงต้องชูจุดขายอื่นทดแทน เช่น ราคาที่ถูกกว่ารุ่นดังกล่าว 20,000 บาท ถังเอียง 20 องศาทำให้ใส่ผ้าหรือถอดถังออกมาทำความสะอาดได้ง่าย รวมถึงประหยัดไฟและประหยัดน้ำกว่าเครื่องซักทั่วไป

ส่วนแคมเปญการตลาดจะเน้นการให้ความรู้และการสร้างประสบการณ์กับกลุ่มเป้าหมายผ่านจุดขายตามห้าง 30 แห่ง จากที่มีทั้งหมด 300 แห่งในโมเดิร์นเทรด พร้อมกับการทำโปรโมชั่นด้วยส่วนลดสูงสุด 5,000 บาทเมื่อลูกค้านำเครื่องเก่ามาแลกซื้อเครื่องซักผ้าไททัน คล้ายๆกับแคมเปญ “ทดลองใช้ 30 วัน ไม่พอใจคืนเงิน” ของแอลจี เมื่อครั้งที่ลอนช์เครื่องซักฝาหน้า เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคทดลองใช้ โดยเชื่อว่าเมื่อผู้บริโภคได้ใช้ของที่ดีกว่าก็จะไม่กลับไปใช้สินค้าแบบเก่า

นอกจากแอสทีน่าจะนำแบรนด์ไททันมาต่อยอดเซกเมนต์ระดับบนแล้ว ยังขยายเซกเมนต์ระดับล่างที่ต่ำกว่ารุ่น 2 ถังโดยใช้แบรนด์แอสทีน่าทำตลาดภายใต้รุ่น Eco Wash ที่มีราคาอยู่ที่ระดับ 3,000 บาท สำหรับงานซักหรือปั่นหมาดเพียงอย่างเดียว โดยช่วงแรกจะนำเครื่องซักผ้าอย่างเดียวเข้ามาทำตลาดก่อนที่ความจุ 6-7 กิโลกรัม โดยมีขนาดกระทัดรัดคือ 50x50x90 เซนติเมตร สามารถวางในห้องน้ำได้เหมาะกับหอพัก อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดฯซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองรุ่นใหม่

สำหรับเครื่องซักผ้าแบบ 2 ถัง ปัจจุบันมีราคาเฉลี่ยในตลาดอยู่ที่ 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดความจุในการซัก และรุ่นถังเดี่ยวฝาบนมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000-20,000 บาท ส่วนเครื่องซักถังเดี่ยวฝาหน้ามีราคาเฉลี่ยที่ 20,000-30,000 บาท

การลอนช์แบรนด์ไททัน และเครื่องซักผ้าแอสทีน่ารุ่นอีโควอช จะทำให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกเซกเมนต์ ปูพรมตั้งแต่ผู้ที่ซื้อเครื่องซักผ้าครั้งแรก โดยบริษัทจะเน้นการบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้าและเป็นการสร้างแบรนด์ลอยัลตี้เพื่อให้ลูกค้าเก่าที่จะเปลี่ยนเครื่องซักรุ่นใหม่ยังคงใช้แบรนด์แอสทีน่าหรือแบรนด์ไททัน

ไททันเป็นเพียงจิ๊กซอว์ตัวแรกของการทำตลาดไฮเอนด์ เพราะแอสทีน่ายังคงมองหาแบรนด์ใหม่จากต่างประเทศที่เหมาะสมกับตลาดสินค้าแต่ละชนิดเพื่อการขยายตลาดไฮเอนด์ ล่าสุดกำลังเจรจาเพื่อนำเข้าแบรนด๋ตู้เย็นระดับพรีเมียมซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ก่อนฤดูร้อนจะมาถึงนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us