Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 มิถุนายน 2546
สตง.ชี้ทุจริตกลายพันธุ์ยิ่งกว่า"THE X-MEN"             
 


   
search resources

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ




"สังศิต" แฉขบวนการคอร์รัปชันรูปแบบใหม่ สั่งบล็อกผันเงินตั้งแต่สำนักงบประมาณ ส่งผลให้พ.ร.บ.ป้องกัน การ "ฮั้ว"ไร้ผล เผยนโยบายปราบอิทธิพลทำให้รัฐไทยตกอยู่ภายใต้องค์กรตำรวจที่ทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด ขณะที่ส.ต.ง. ให้นิยามฉ้อฉลสุดแสบว่าเป็นฝีมือพวก "ดิเอ็กซ์ เมน" ด้าน "วีระ ต่อตระกูล" ชี้มาตรการกฎหมายไม่เพียงพอ ต้องใช้มาตรการ สังคม รับไม่ได้ ไหว้ไม่ลง เป็นตัวขจัด

วานนี้ (1 มิ.ย.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สป.) ได้จัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง"การมีส่วนร่วมของประชาชน กับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ" โดยระหว่างการเปิดการสัมมนา นายสังศิต พิริยะสังสรรค์ รองประธานสภาที่ปรึกษาฯ ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยกำลังถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ และมีการความพยายามควบคุมไม่ให้มีการตรวจสอบจากฝ่ายการเมือง แต่แนวโน้มเริ่มดีขึ้นเห็นได้จากการทำงานของ ป.ป.ช. สิ่งสำคัญคือ องค์กรภาคประชาชนต้องมีบทบาทมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลที่ได้รับจากการลงพื้นที่ และการรับฟังข้อมูลจากตัวแทนองค์กรประชาชนทั่วประเทศ พบว่า ต้นตอสำคัญที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชันมากที่สุด คือพวกนักการเมือง โดยพบว่า ส.ส.ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากการเป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยมีพัฒนาการไต่เต้าตามขั้นตอน เริ่มจากการลงเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นตั้งแต่เทศบาล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสุดท้ายมาเป็นรัฐมนตรี

"ข้อมูลที่ผมได้รับคือปัจจุบันมีการบล็อกเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยเริ่มไปบล็อกกันที่สำนักงบประมาณกันแล้ว ทำให้กฎหมายการป้องกันและปราบปรามการฮั้วใช้ไม่ได้ผล เพราะเรื่องฮั้วเป็นเรื่องปลายทาง ทำอะไม่ได้ในเมื่อไปบล็อกกันไว้แล้วที่สำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดิน และข้อมูลที่ได้รับพบว่า องค์กรหน่วยงานที่คอร์รัปชันมากที่สุด คือ ตำรวจ ที่มีทั้งการรีดไถ การทำผิดและควบคุมธุรกิจผิดกฎหมาย ไม่มีธุรกิจผิดกฎหมายใดที่ทำอยู่โดยไม่มีตำรวจเกี่ยวข้อง ทำให้ปัจจุบันตำรวจ ครอบงำองค์กรทั้งสังคม ตำรวจนั่งอยู่เฉยๆ ก็มีเงินไหลมา พวก ส.ส.และวุฒิสมาชิกยิ่งออกกฎหมายมามาก ก็ทำให้ตำรวจมีหน้าที่มากขึ้น ก็ไปเพิ่มอำนาจให้ตำรวจไม่มีที่สิ้นสุด และยิ่งรัฐบาลมีนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล ตำรวจก็ยิ่งมีอำนาจมากในการพิจารณาว่าใครคือผู้มีอิทธิพล ใครคือผู้ไม่เข้าข่ายผู้มีอิทธิพล ผลที่เกิดขึ้นก็คือรัฐไทยกำลังตกอยู่ภายใต้องค์กรตำรวจ ซึ่งเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยการคอร์รัปชันมากที่สุด"

และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่สำคัญ อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญก็คือ การจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานต่างๆ เพราะเป็นขั้นตอนที่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มาก ใครคุมเงินจัดซื้อจัดจ้างก็เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เยอะ ดังนั้นรัฐบาลต้องเข้าไปควบคุมดูแลการจัดซื้อจัดจ้างด้วยตัวเองเพราะจะทำให้ประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้หลายหมื่นล้านบาทในแต่ ละปี ไม่ใช่การไปจับแต่พวกที่คอรัปชั่นตัวเล็กๆ เรื่องนี้ถือเป็นภารกิจเร่งด่วน ปัจจุบันเรื่องการปราบคอรัปชั่นเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น เห็นได้จากภาคธุรกิจทั้ง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ก็เริ่มตื่นตัวในการต่อต้านคอรัปชั่นมากขึ้น ซึ่งกระแสดังกล่าวจะเริ่มมีมากขึ้น จึงขอประกาศว่าโลกทั้งโลกจะไม่ยอมก้มหัวให้นักการเมืองและข้าราชการที่ฉ้อฉลอีกต่อไป

ด้านนายวินัย กลิ่นสุวรรณ อดีตรองเลขาธิการ ป.ป.ช.ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีสำนักงานป.ป.ช. กล่าวว่า เขาเคยพูดคุยกับผู้ใหญ่ในหน่วยราชการถึงเรื่องทุจริตเรียกรับเงินของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้น น่าตกใจที่มีการตอบกลับมาว่า เป็นเรื่องธรรมดาเพราะข้าราชการเงินเดือนน้อย สะท้อนให้เห็นแม้แต่ในหัวหน้าหน่วยราชการ ก็มองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการจะปราบปรามให้การทุจริตหมดไปนั้นจะหวังพึ่งเพียงป.ป.ช. เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ แต่ทุกส่วนของสังคมต้องช่วยกัน เวลานี้มีเรื่องร้องเรียนทุจริตไปถึง ป.ป.ช. ถึง 5 พันกว่า เรื่อง และยังมีที่ทำผิด พ.ร.บ.ฮั้ว อีก 700 เรื่อง ซึ่งป.ป.ช.พยายามที่จะแก้ไขและป้องกันโดยจะเริ่มรณรงค์ในระดับรากหญ้าก่อน

ขณะที่ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า จากการเข้าไปตรวจสอบของ สตง.พบว่า ปัจจุบันเงินงบประมาณแผ่นดินที่นอกเหนือจากงบประจำที่เป็นเงินเดือนข้าราชการ แล้ว เงินที่อยู่ในรูปของงบพัฒนา งบลงทุน งบจัดซื้อจัดจ้าง มีการทุจริตอย่างมาก และ รูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป เรียกว่าเป็นทุจริตแบบ กลายพันธุ์ ยิ่งกว่า The x-men คือจะไม่ได้มีการทุจริตแบบปัญญาอ่อน เรียกรับเปอร์เซ็นต์เช่นในอดีต แต่จะกลายเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย โดยผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาล ที่ไม่จำเป็นต้องออกมาประกาศทำสงครามต่อสู้กับการทุจริต แต่แค่เพียงทำหน้าที่ในฐานะให้ครบถ้วน ไม่ปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตก็เพียงพอแล้ว เพราะองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบ อย่างสตง. วันนี้เมื่อตรวจพบว่ามีการทุจริตแล้วไปแจ้งความ ดำเนินคดีก็ยังถูกฟ้องกลับ ฐานหมิ่นประมาท

"ดังนั้น การจะให้ผู้ทุจริตเกรงกลัวต่อบาป ต่อกฎหมาย ที่มีอยู่จึงเป็นไปไม่ได้ แต่เวลานี้การต่อสู้การทุจริตของภาคประชาชนก็ยังคงเป็น ลักษณะถูกโดดเดี่ยว ความจริงแล้วควรจะต้องทำเป็นเครือข่าย เพราะไม่เช่นนั้นไม่มีทางที่จะสู้กับการทุจริตที่กลายพันธุ์ เป็นพวก เอ็กซ์เมน เมทริกซ์ ซึ่งมาในคราบของการจับมือระหว่างนักการเมือง นายทุน และข้าราชการได้ และเมื่อมีการจับได้ก็ไปจ้างทนายมือหนึ่งของประเทศมาว่าความให"

นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชน ต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า การต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแม้แต่หมู่ผู้ที่ลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้ก็ยังมีการคอร์รัปชัน เพราะเมื่อถูกคุกคามข่มขู่เข้ามากๆ ก็จะเลือกเอาผลประโยชน์ เอาชีวิตของตัวเองไว้ก่อน อีกครั้งคนที่ต่อสู้ยังเสี่ยงกับคุกตะราง ดังนั้นมาตรการหนึ่งที่ได้ก็คือมาตรการทางสังคม

"อย่างกรณีคุณต่อตระกูล ยมนาค ที่เข้ามาทำเรื่องการคอร์รัปชัน ก็ยังถูกนักการเมืองรีดไถ ซึ่งนักการเมืองเขาจะรีดไถกับทุกคน แต่วันนี้มาตรการทางสังคมหยุดเขาไปแล้ว นักการเมืองคนนี้เจอหน้า สังคมต้องอย่าไปยอมรับอย่าไปรับไหว้ และต้องพยายามขจัดให้ออกไปจากสังคมให้ได"

นายวีระ ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญในขณะนี้ก็ยากจะเป็นที่หวัง อย่าง ป.ป.ช. เขาส่งเรื่องไปให้ ตรวจสอบนับสิบเรื่องมีเพียงเรื่อง เงินกู้ 45 ล้าน ของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชิปัตย์ ที่เป็นผล การดักฟังทางโทรศัพท์ของเขา ที่เอาผิดได้แค่เจ้าหน้าที่องค์กรโทรศัพท์ ซึ่ง ป.ป.ช. ยอมรับว่าที่จัดการกับ ตำรวจ และนักการเมืองไม่ได้เพราะมีการตัดตอนตั้งแต่ในชั้นการทำสำนวนของตำรวจ นอกนั้นลงตะกร้าทั้งหมด และอีกหลายเรื่องส่งไปตั้งแต่ปี 41 ยังไม่เคยเรียกเขาไปสอบเลย

"เรื่องที่ส่งไปยังคณะกรรมการติดตามและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันตามมติคณะรัฐมนตรี (ปท.) หรือส่งไปที่นายกรัฐมนตรี ไม่มีผลสำเร็จ ไม่มีคำตอบเลย ถามว่าแล้วจะหวังอะไรกับองค์กรเหล่านี้ แต่องค์กรภาคประชาชนเราไม่ต้องอาศัยกฎหมาย แต่ใช้มาตรการสังคมซึ่งมันหยุดได้"

ส่วนนายต่อตระกูล ยมนาค ประธานคณะทำงานติดตาม และศึกษาการทุจริต และประพฤติมิชอบ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การต่อสู้ทุจริตคอร์รัปชัน ต้องอาศัยคนเข้ามามีส่วนร่วมมากๆ เวลานี้เราอาจจะรู้สึกประชาธิปไตยดีขึ้น แต่ยืนยันเราจะถูกกดขี่อยู่เพียงแต่ในอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ซึ่งถ้าไม่มีการแก้ไข จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เราจะไม่เหมือนอาร์เจนติน่า ที่คนที่มีความสุข อยู่ชั่วคราวเพราะรัฐบาลเอาเงินมาให้ใช้ การที่ออกมาเปิดโปงเรื่องทุจริตไม่ใช่ เพราะเสียประโยชน์หรืออยากดัง แต่ต้องการให้สังคมตระหนักว่าเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน เป็นเรื่องของทุกคนในสังคม ซึ่งวันนี้ดีใจที่พูดไปแล้วมีประโยชน์เกิดการตื่นตัวขององค์กรต่างๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยคิดเรื่องนี้ วันนี้ก็เริ่มรู้สึกว่าการทุจริต คอร์รัปชันมัน เป็นอันตรายต่อบ้านเมือง

"จากการรับฟังความเห็นประชาชนจากภาคต่างๆ แม้ผู้นำชุมชน ประชาชนจะตื่นตัวในการร่วมคิด ร่วมป้องกัน แต่ที่ยังเหมือนกันคือ ต่างยังกลัวอิทธิพลทั้งนอกรูปแบบและจากรัฐบาล รวมถึง กทม. ก็ยังพูดเรื่องของความไม่ปลอดภัย เพราะผลประโยชน์มันมหาศาล แต่ในช่วงปลายนี้สภาที่ปรึกษาก็จะทำการสรุปแนวทางการป้องกันพร้อมข้อเสนอแนะ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และโดยส่วนตัวเห็นว่า เราจะนำข้อสรุปของ นายไมเคิล อีพอร์ตเตอร์ ที่รัฐบาล จ้างให้วิจัย ซึ่งระบุว่าการทุจริตคอร์รัปชันใน วงราชการเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนา และผลการวิจับของสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหอการค้า ทีให้ข้อมูลว่าการทุจริตทำให้ประเทศสูญเสียผลประโยชน์ถึง 5 แสนล้าน ต่อปี ประกอบกับข้อเสนอของ สภาพัฒน์ที่ระบุว่าต้องให้ประชาชนเจ้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มคิดโครงการจนกระทั่งเสร็จสิ้น และร่วมติดตามตรวจสอบว่าผลการดำเนินโครงการเกิดผลต่อประชาชนจริงหรือไม่ เพราะรัฐบาลจะไม่มีสิทธิ์โต้แย้งในข้อเสนอเหล่านี้เลย เพราะล้วนแต่เป็นข้อเสนอของรัฐบาลเองทั้งสิ้น"

แม้การตื่นตัวต่อการทุจริตคอร์รัปชัน ของประชาชนจะสูงในขณะนี้แต่ในอนาคตพัฒนาการของการคอร์รัปชันก็จะสูงขึ้นและ ซับซ้อนเข้าใจยาก โดยเป็นการคอร์รัปชัน โดยถูกกฎหมาย อย่างเช่นในกิจการโทรคมนาคม หรือกรณีค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีเพราะมีการทุจริตตั้งแต่ขั้นการ ทำสัญญา ดังนั้นไม่ว่าจะต่อสู้เรื่องการจ่ายชดใช้อย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะไม่ต้องจ่าย อย่างน้อย ก็ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้าน

"ผมก็มองว่าการใช้มาตรการทางสังคมลงโทษเป็นเรื่องที่มีผลมากเราต้องแสดงว่ารับ ไม่ได้ ไห้วไม่ลงกับคนที่โกงจะเห็นได้ว่าแม้การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมีรัฐมนตรีจะได้รับการโหวตยกมือให้ผ่าน แต่ประชาชนก็ยังเคลือบแคลงใจ นายกฯเองก็รู้จึงสั่งให้ต้องมาเคลียร์กับสังคม"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us