Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 มกราคม 2551
คลังชงขาดดุล 5 ปีกระตุ้น ศก. สภาพัฒน์ชู'ลงทุน-บริโภค'             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Economics




กระทรวงการคลังจัดทำร่างหนี้สาธารณะต่อจีดีพีและภาระหนี้ต่องบประมาณปี 51-55 เตรียมเสนอรัฐบาลชุดใหม่ประกอบการตัดสินใจทำกรอบงบประมาณปี 52 โดยเสนอให้พิจารณา 2 รูปแบบทั้งขาดดุลตามความจำเป็นและให้เต็มเพดาน 2.5% ของจีดีพี โดยออกพันธบัตรระยะยาวเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ด้านสภาพัฒน์เตรียมชงยุทธศาสตร์ส่งเสริมลงทุนและเน้นภาคบริโภคให้รัฐบาลใหม่ เตือนอย่าทำนโยบายเศรษฐกิจบิดเบือนกลไกตลาดโลก

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้จัดทำประมาณการหนี้สาธารณะต่อจีดีพี และภาระหนี้ต่องบประมาณในปีงบประมาณ 2551-2555 เพื่อนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อใช้ในการประการตัดสินใจในการจัดทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมในปี 2551 และการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณปี 2552 ที่จะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ตามปฏิทินของปีงบประมาณ รวมถึงประกอบแผนทางการเงินในการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลด้วย

ประมาณการดังกล่าวจะอยู่บนสมมติฐานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี 2550 เท่ากับ 8.386 ล้านล้านบาท เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวในปี 2551-2555 เท่ากับ 4.5% ขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 3.5% ประมาณการงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551-2555 มีการเจริญเติบโตเท่ากับ 6% หนี้ในประเทศของรัฐบาลที่ครบกำหนดจะต่ออายุทั้งหมด ยกเว้นหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่คาดว่าจะมีกำไรนำส่งจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประมาณ 10,000 ล้านบาทภายในปี 2555 และการก่อหนี้ใหม่ในประเทศของรัฐวิสาหกิจเพื่อการลงทุนในโครงการเพิ่มขึ้น ในปี 2551-255 ในอัตรา 10%

แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะทำงานได้ลองนำสมมติฐานดังกล่าวมาใส่ในแบบจำลองพบว่า รัฐบาลยังสามารถที่จะดำเนินนโยบายขาดดุลได้ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551-2555 ซึ่งสามารถดำเนินการได้ใน 2 รูปแบบ โดยรูปแบบแรก จะมีความอนุรักษ์นิยม ด้วยวิธีการขาดดุลงบประมารตามความจำเป็น เริ่มต้นจากปี 2551 ขาดดุลงบประมาณ 165,000 ล้านบาท ปี 2552 ขาดดุลงบประมาณลดลงเป็น 152,500 ล้านบาท ปี 2553 ขาดดุลงบประมาณ 137,000 ล้านบาท ปี 2554 ขาดดุลงบประมาณ 119,900 ล้านบาท และในปี 2555 ขาดดุล 99,200 ล้านบาท

สำหรับวิธีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลตามแนวทางนี้จะเสนอให้รัฐบาลใช้วิธีการออกเป็นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปีในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งหากมีการขาดดุลในอัตราดังกล่าวแล้วจะทำให้ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศ อยู่ที่ระดับไม่เกิน 40% ต่อจีดีพี และภาระหนี้ต่องบประมาณ จะอยู่ที่ระดับ 10-13% เท่านั้น

ในขณะที่รูปแบบที่สอง จะเป็นการเพิ่มวงเงินการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีให้มีสัดส่วนเต็มเพดาน คือ ประมาณ 2.5% ของจีดีพี ในทุกปีตั้งแต่ปี 2551-2555 ซึ่งกรณีนี้จะใช้สำหรับสถานการณ์ที่เศรษฐกิจของประเทศต้องการการใช้นโยบายการคลังกระตุ้นอย่างรุนแรง มีการเร่งรัดลงทุนขนาดใหญ่เต็มพิกัด พบว่า สัดส่วนการขาดดุลงบประมาณในแต่ปีจะเพิ่มในสัดส่วนดังนี้

ในปี 2551 ขาดดุล 226,430 ล้านบาท ปี 2552 ขาดดุล 244,545 ล้านบาท ปี 2553 ขาดดุล 264,108 ล้านบาท ปี 2554 ขาดดุล 285,237 ล้านบาท และปี 2555 ขาดดุล 308,056 ล้านบาท ซึ่งวิธีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลสามารดำเนินการได้โดย ออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี ในสัดส่วน 80% ออกพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี ในสัดส่วน 5% และตราสารหนี้อื่น ของรัฐ เช่นตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง ในสัดส่วน 15%

แหล่งข่าวกล่าวว่า กระทรวงการคลังได้มีการเตรียมการข้อมูลในสมมติฐานต่างๆ ไว้ทั้งหมด เพื่อให้รัฐบาลใหม่ที่ต้องการข้อมูล มาใช้ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้รับทราบถึงแนวทางที่เป็นไปได้ และปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดต่าง ๆ ซึ่งก็แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะเลือกพิจารณา โดยแนวทางแรกนั้นอาจจะมีผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลังน้อยกว่า แต่หากมองในแง่เม็ดเงินที่อัดฉีดเข้าไปในเศรษฐกิจก็จะไม่มากนัก แต่สำหรับแนวทางที่สองเป็นแนวทางที่ศึกษาแบบกรณีสูงสุด หรือเต็มเพดานการกู้เงินแล้ว โดยหากเกินกว่าระดับดังกล่าวก็ถือว่าอันตราย ดังนั้นรัฐบาลคงต้องชั่งน้ำหนักว่าจะเลือกแนวทางใด

สภาพัฒน์คึกชงยุทธศาสตร์บริโภค

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ในปี 2551 สศช. ได้เสนอยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมลงทุนและภาคบริโภคเพื่อเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งต่างกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ภาคส่งออกเป็นแกนหลักในการผลักดัน ดังนั้นเชื่อว่าโครงการลงทุนลงทุนขนาดใหญ่จากภาครัฐและเอกชนจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการจ้างงานแก่ภาคประชาชนได้

ทั้งนี้ ปี 2551 ปัญหาความผันผวนเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย ดังนั้นรัฐบาลไม่ควรใช้นโยบายเศรษฐกิจบิดเบือนกลไกตลาดโลกในการบริหารงานมากนัก เพื่อช่วยเหลือช่วยเดือดร้อนภาคธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง เนื่องจากจะเกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยถึงขั้นวิกฤตในระยะยาวได้ เพราะกองทุนระดับโลก หรือผู้ที่มีเงินมหาศาลจะถือโอกาสในการเก็งกำไร

“ปัญหาของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้เกิดผลกระทบชัดเจนต่อตลาดหุ้นไทย เพราะอ่อนไหวได้ง่าย แต่เรื่องนี้คงกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมของไทยไม่มาก เพราะไทยมีขนาดเศรษฐกิจค่อนข้างเล็ก ส่วนมาตรการบิดเบือนตลาดเงิน ตลาดทุน และสินค้าทำได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ควรมากเกินไป เพราะนักลงทุนจะรู้ จนเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีเงินมหาศาลเก็งกำไรได้ง่าย โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ปัจจุบันทำได้รวดเร็ว” นายอำพนกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us