Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 มกราคม 2551
แบงก์เห็นพ้องกนง.ลดดอกเบี้ย ผวาซับไพรม์ฉุดศก.-เงินนอกทะลักบาทพุ่ง             
 


   
search resources

บรรยง วิเศษมงคลชัย
Interest Rate




นายแบงก์เห็นพ้องกนง.พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม หลังเฟดตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึง 0.75%ในคราวเดียว ระบุควรให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจโตต่ำกว่าเป้ามากกว่ากรณีเงินเฟ้อ ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง ซึ่งหากอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายไทย ก็จะมีแรงกดดันให้บาทแข็งเพิ่มขึ้น

นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (บสก.) กล่าวว่า จากผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งได้มีกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75% จาก 4.25% เหลือ 3.50% ถือว่าเป็นการปรับลดลดที่น้อยกว่าตลาดได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีการปรับลดถึง 1% อย่างไรก็ตามการประชุมในรอบนี้ถือเป็นการประชุมฉุกเฉิน จึงทำให้เชื่อว่าในการประชุมนัดปกติในสัปดาห์หน้าเฟดมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25%

สำหรับผลที่เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้น คือช่วยให้ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ที่ก่อนหน้ามีการปรับลดลงค่อนข้างมากนั้น มีการรีบาวน์กลับขึ้นมาได้บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังอยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการแก้ไขแม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกจุด เพราะจะมีผลในทางจิตวิทยาและได้ผลเร็ว อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการลดภาระดอกเบี้ยจ่าย การผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยรวมถึงมีส่วนในช่วยผู้ที่ซื้อบ้านซึ่งจะทำให้ตลาดโดยรวมดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้นจะไม่จบลงง่าย ๆ และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีการขยายตัวลดลงไปอยู่ที่ 1% อีกทั้งจะส่งผลกระทบไปยังธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯที่อาจขาดทุนหลักแสนล้านบาท รวมถึงบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ อาจถูกลดอันดับของตราสารหนี้ รวมถึงปัญหาอาจจะกระทบไปถึงยุโรป เอเชีย และรัสเซียทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวตามลงไป ซึ่งรวมถึงไทยซึ่งได้มีการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯถึง 20%

"การประชุมรอบนี้เป็นการประชุมฉุกเฉินซึ่งการที่เฟดปรับลง 0.75% คงเพราะยังไม่กล้าที่จะปรับลดในจำนวนที่มากครั้งเดียว แต่ลองใส่ไปก่อนว่าจะมีผลออกมาเป็นอย่างไร แต่หากปัญหายังไม่หยุดหรือยังไม่ได้ผลก็คงจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้า และทั้งปีน่าจะยังคงเป็นทิศทางขาลง " นายบรรยงกล่าว

นายบรรยง กล่าวว่า ในส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกขณะนี้มีความชัดเจนว่าเป็นช่วงขาลง โดยการประชุมในรอบต่อไปของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทางการจะให้ความสำคัญได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากเดิมจะให้ความสำคัญกับเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ และจากภาวะในปัจจุบันทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงจะมีการขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ทางการได้วางไว้ที่ 4.5-5.0% โดยน่าจะมาอยู่ที่ 4.0-4.5%

"การขึ้นดอกเบี้ยไม่เหมาะสมในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอลง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับแบงก์ชาติ ในมุมมองของบสก. มองว่าไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้กู้และเป็นผลร้าย แต่ภาวะเงินเฟ้อกับภาวะเศรษฐกิจก็ต้องชั่งน้ำหนักเอา ซึ่งบสก.มองว่าดอกเบี้ยน่าจะเป็นช่วงขาลงเพราะเศรษฐกิจไทยน่าจะเจอกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงดังนั้นดอกเบี้ยอ้างอิงของไทยก็น่าจะลง" นายบรรยงกล่าว

นายแบงก์คาดกนง.ลดอาร์พีตาม

ขณะที่นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯลงอีก 0.75% อาจจะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาซับไพรม์ได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินงานที่ช้า ขณะที่ปัญหาซับไพรม์ได้ขยายวงกว้างไปมากแล้ว ทำให้เกิดสภาวะสินเชื่อตึงตัวจากความไม่มั่นใจที่จะปล่อยกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ แม้ว่าความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือความต้องการเงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นก็ตาม ดังนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่อาจช่วยลดภาวะสินเชื่อตึงตัวที่เกิดขึ้นได้

"การใช้นโยบายทั้งด้านการเงินและการคลังที่ออกมาในช่วงที่ผ่านมานั้น ถือว่า ไม่พอ แล้วก็ช้าไป อย่างที่กรณีที่ประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐฯได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการคืนเงินภาษีให้กับประชาชนคนละ 800 ดอลลาร์ และ 1,600 ดอลลาร์ต่อคู่สมรสนั้น เงินที่ออกมาก็ยังไม่ใช่ตอนนี้ เป็นปลายเดือนหน้า ก็แทบจะไม่ได้อะไร แล้วตอนนี้ปัญหาหรือผลกระทบจากซับไพรม์ก็ขยายวงกว้างมากไปถึงทั้งในยุโรปและจีนด้วย โดยหลายๆฝ่ายประเมินว่าในขณะนี้ความเสียหายจากซับไพรม์น่าจะถึง 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว และปัญหาคงจะไม่จบในปีนี้ แต่น่าจะเป็นในปี 52"นายบันลือศักดิ์กล่าว

ดังนั้น เชื่อว่าในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ (FOMC)ในปลายเดือนนี้ จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.50% เหลือ 3.00% และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับ 2.00%

สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น แนวโน้มยังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงอีก โดยเฉพาะหากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 3.25% เพราะหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯอาจจะมีเงินไหลเข้าและกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งสภาวะการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ประเด็นค่าเงินบาทถูกนำมาพิจารณาในการปรับลดอกเบี้ยอีกก็ได้

"การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้ลดลงเร็วมาก เมื่อเทียบกับวิกฤตครั้งก่อนที่สหรัฐฯลดดอกเบี้ยจาก 6.5% เหลือ 1% ตั้งแต่ปี 44-46 หรือใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง แต่คราวนี้ลดจาก 5.25% เหลือ 3.50% ในเวลาไม่ถึงปี คือ จากไตรมาส 4 ปีก่อน ถึงเดือนแรกของปีนี้ ดังนั้น ก็อาจจะกระทบต่อการพิจารณาดอกเบี้ยของประเทศต่างๆได้"นายบันลือศักดิ์กล่าว

ด้านนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%ในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ภายหลังเฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.75% แต่ในส่วนของธอส.นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย คงต้องรอดูนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ก่อน

"ต้องติดตามต่อไปว่าคณกรรมการนโยบายการเงินจะประกาศลดดอกเบี้ยกะทันหันก่อนวันประชุม เหมือนกับเฟดหรือไม่" นายขรรค์กล่าว

คาดบาทแข็งแตะ 31.50-32.00

นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) กล่าวว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปีนี้ คาดว่าธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.25% จนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจากนโยบายการเงินของธปท. ยังคงให้ความสำคัญกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จะมาจากต้นทุนด้านราคาน้ำมัน(cost push inflation) แต่เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเช่นกัน ธปท.ก็ยังตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 4% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูงมากนัก

นายธิติกล่าวว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯในขณะนี้ หรือในอนาคตอันใกล้ หากยังไม่ถึงระดับ 1% จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนในโลก เพราะกระแสเงินทุนในตลาดโลกขณะนี้ กำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ไหลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งจะสังเกตได้จาก yield curve ของพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวลดลง

ส่วนเงินบาทมีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และน่าจะแตะระดับ 31.50-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในปีนี้ จากแนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกของไทยอาจจะขยายไม่เท่ากับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง

"ส่วนต่างระหว่างเงินบาทที่ซื้อขายในประเทศ และในตลาดนอกประเทศ ยังคงมีส่วนต่างอยู่นั้น เป็นผลจากมาตรการ 30% ที่ทำให้ไม่เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทในประเทศ จึงมองว่ามาตรการ 30% ยังมีประโยชน์ในการช่วยดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนจนเกินไป"นายธิติกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us