|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กองทุนฟื้นฟูฯ เผยจะเข้าไปซื้อหุ้นที่เหลือของบีทีคนละครึ่งกับกลุ่มทีพีจีและพันธมิตรหรือประมาณฝ่ายละ 950 ล้านบาท ระบุหลังเพิ่มทุนเสร็จสิ้นกองทุนจะถือหุ้นของบีทีในสัดส่วน 42% จากเดิม 33% ทำให้ฐานะเงินกองทุนบีทีแข็งแกร่งขึ้น โดย BIS เพิ่มเป็น 10.3% จากเดิม 8.6%
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯได้อนุมัติให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือจากการขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) หรือบีทีจำนวน 1,400 ล้านหุ้น คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,900 ล้านบาท ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องใช้เงินเพิ่มทุนครั้งนี้ประมาณ 950 ล้านบาท หลังจากที่คณะกรรมการธนาคารไทยธนาคารจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (PP) คือ กองทุนฟื้นฟูฯกับกลุ่มทีพีจีและพันธมิตร
“ไทยธนาคารได้มีการพูดคุยกับกองทุนฟื้นฟูฯมาเป็นปี จึงไม่มีผลต่องบประมาณของกองทุนฟื้นฟูฯในการใส่เงินเพิ่มทุนในครั้งนี้ และหลังจากเพิ่มทุนเสร็จสิ้นจะทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูในไทยธนาคารในสัดส่วน 42% จากเดิมที่ 33% ซึ่งเท่ากับสัดส่วนถือหุ้นของทางกลุ่ม TPG Newbridge ถือเป็นการรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในไทยธนาคารและคาดว่าเงินเพิ่มทุนล็อตใหม่นี้น่าจะสามารถดำเนินการได้เสร็จช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้”
ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ ได้ใส่เงินเพิ่มทุนให้แก่แบงก์ไทยธนาคาร 2 ครั้งที่ผ่านมาแล้วมูลค่าทั้งสิ้น 2,800 ล้านบาท และหลังการเพิ่มทุนครั้งนี้แล้วเสร็จจะทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS)ของไทยธนาคารอยู่ที่ 10.3% จากเดิมอยู่ที่ 8.6% ถือว่าเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารในขณะนี้ พร้อมทั้งสามารถรองรับการตั้งสำรองตราสารหนี้ต่างประเทศประเภท CDO และกันสำรองหนี้ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS39 ธนาคารได้กันสำรองไว้ครบแล้ว ถือเป็นการรองรับความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศประเภท CDO ของธนาคารไทยธนาคารนั้น เมื่อเดือนธ.ค.50 ที่ผ่านมา ไทยธนาคารได้มีการตีราคาตามมูลค่าตลาด (Mark to Market) ไปแล้ว 46%ของการลงทุนใน CDO ทั้งหมด ซึ่งแม้จะเหลือประมาณ 60% ที่ยังไม่ได้สำรอง แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบ เพราะการลงทุนดังกล่าวยังคงสร้างรายได้ให้กับธนาคาร และมีการกันเงินสำรองเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว
“ไทยธนาคารได้มีการกันสำรองไปหมดแล้วในอะไรที่ยังไม่มีอะไรสูญเสีย เพราะตราสารหนี้ CDO อายุ 7-10 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เรทติ่งยังดีอยู่และมีชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งยังมีการตีราคาตามวิธี Mark to Market แต่ที่ต้องกันสำรองไว้เกิดจากคนตกใจว่าจะเกิดปัญหาสภาพคล่องในการขาย แต่ตอนนี้ขอย้ำว่าไทยธนาคารยังไม่ขาย CDO ที่ถืออยู่ และมีรายได้กลับคืนมาตลอด”
ส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องมีการหารือร่วมกันกับผู้บริหารธนาคารอีกครั้ง ซึ่งธนาคารเองจะมุ่งเน้นที่จะขยายธุรกิจไปยังรายย่อยและธุรกิจเอสเอ็มอีมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะมีมากขึ้น สำหรับกลยุทธ์การดำเนินงานในอนาคตและความสามารถในการทำกำไรเป็นเรื่องของผู้บริหารธนาคารที่จะต้องเตรียมแผนงานและรายงานให้กองทุนฟื้นฟูฯ รับทราบ เช่น เรื่องของการบริหารความเสี่ยง การอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดีแล้ว แต่ทางกองทุนฟื้นฟูฯ มีความเห็นว่าน่าจะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้
|
|
|
|
|