Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 มกราคม 2551
หนี้เน่า"ทหารไทย"เพิ่มสูงสุด จับตาแนวโน้มปีนี้ยังขยับขึ้น             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย

   
search resources

ธนาคารทหารไทย
Banking and Finance




เผยเอ็นพีแอลก่อนหักสำรองแบงก์พาณิชย์ปี 50 ยังปรับตัวเพิ่ม แม้จะมีธนาคารบางแห่งที่ตัดขายไปบ้างแล้ว โดย"ทหารไทย"มียอดเพิ่มสูงสุดกว่า 16,000 ล้าน ตามด้วย "กรุงไทย"กว่า 6,000 ล้านบาท ขณะที่"กรุงเทพ-กสิกรไทย-ไทยพาณิชย์"ปรับตัวลดลง นักวิเคราะห์ระบุปีนี้แนวโน้มยังมีโอกาสปรับขึ้น จากสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่ชัดเจน

จากการสำรวจยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ก่อนหักสำรองของธนาคารพาณิชย์ภายหลังการประกาศผลการดำเนินงานปี 2550 ที่ผ่านนั้น โดยภาพรวมยังคงปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า จำนวนหนี้เอ็นพีแอลก่อนหักสำรอง(gross)ของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในปี 2550 ที่ผ่านมา มีอัตราการเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ไม่มากนัก คือทั้งระบบมีการเพิ่มขึ้น 11,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 3%เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2549 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แม้ว่าธนาคารพาณิชย์บางแห่งจะมีการตัดขายเอ็นพีแอลออกไปบางส่วน แต่โดยภาพรวมแล้วก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่

ทั้งนี้ เอ็นพีแอลก่อนหักสำรองของธนาคารทหารไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ระดับ 16,000 ล้านบาท รองลงมาธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้น 6,392 ล้านบาท และนครหลวงไทยกว่า 5,000 ล้านบาท

สำหรับในปีนี้นั้น เรื่องเอ็นพีแอลยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองอยู่ เนื่องสัญญาณบ่งชี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงไม่มีความชัดเจน ทั้งในส่วนของเศรษฐกิจในประเทศ และเศรษฐกิจต่างประเทศที่ชะลอตัวก็อาจจะส่งผลกระทบมาถึงเศรษฐกิจไทยด้วย ดังนั้น โดยเทรนด์แล้วหนี้เอ็นพีแอลในปีนี้จึงน่าจะยังคงเพิ่มอยู่ แต่ก็คงจะไม่มากนัก เนื่องจากคงจะมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีแผนที่จะตัดขายออกไป ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการลดเอ็นพีแอลที่ได้ผลอย่างรวดเร็ว

"เป้าหมายการลดเอ็นพีแอลที่แบงก์ชาติมองไว้ที่ 2%นั้น หากเป็น ตัว Gross NPL แล้วคงเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเป็น Net NPL อาจจะมีความเป็นไปได้ แต่ก็คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่จะเอื้ออำนวยหรือไม่ด้วย"นักวิเคราะห์กล่าว

ส่วนผลการดำเนินงานของปีธนาคารพาณิชย์ในปีนี้นั้น น่าจะดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลักๆ คือการสำรองหนี้ลดลง โดยเฉพาะในส่วนของ IAS 39 นั้น เชื่อว่าทุกธนาคารคงจะมีการสำรองครบถ้วนแล้ว และในปีนี้ส่วนของค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆที่มีอยู่ในปีที่แล้วก็คงจะลดน้อยลง ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีกำไรที่สูงขึ้น เนื่องจากในปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินสำรองเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ เชื่อว่าในปีนี้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่มีผลขาดทุนอยู่ในปีก่อนอย่าง ธนาคารทหารไทย นครหลวงไทย หรือไทยธนาคาร ก็อาจจะพลิกฟื้นมากำไรได้ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ก็ยังคงมีความแข็งแกร่งแม้อัตราการเติบโตของกำไรอาจจะไม่สูงเท่าปีก่อน โดยคาดว่าธนาคารไทยพาณิชย์จะมีอัตราการเติบโตของกำไรที่ 13% ธนาคารกรุงเทพ 10% ธนาคารกสิกรไทย 6% และธนาคารกรุงไทย 116%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)สุทธิของธนาคารพาณิชย์จำนวน 7 แห่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพมีหนี้เอ็นพีแอลจำนวน 34,390 ล้านบาท หรือเท่ากับ 3.47%ของสินเชื่อรวม ลดลง 7,356 ล้านบาทหรือคิดเป็น 17.62% จากสิ้นปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 41,746 ล้านบาทหรือเท่ากับ 4.55%ของสินเชื่อรวม ธนาคารกรุงไทยมียอดเอ็นพีแอลรวม 67,492 ล้านบาท หรือเท่ากับ 6.89%ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 8,451 ล้านบาท หรือคิดเป็น 14.31% จากสิ้นปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 59,041 ล้านบาทหรือเท่ากับ 6.26%ของสินเชื่อรวม

ธนาคารไทยพาณิชย์มีเอ็นพีแอล 22,401 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.79%ของสินเชื่อรวม ลดลง 279 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.23% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 22,680 ล้านบาท หรือเท่ากับ 3.4%ของสินเชื่อรวม และธนาคารกสิกรไทยมีเอ็นพีแอล 15,776 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.05%ของสินเชื่อรวม ลดลง 5,110 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24.46%เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 20,886 ล้านบาท หรือเท่ากับ 3.17%ของสินเชื่อรวม

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง 3 แห่งได้แก่ ธนาคารทหารไทยมีเอ็นพีแอล 36,231 ล้านบาท หรือเท่ากับ 8.21%ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 2,952 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.87% จากสิ้นปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 33,279 ล้านบาท หรือเท่ากับ 6.33%ของสินเชื่อรวม ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีเอ็นพีแอล 30,095 ล้านบาท หรือเท่ากับ 7.07%ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 6,717 ล้านบาท หรือคิดเป็น 28.73% จากสิ้นปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 23,378 ล้านบาท หรือเท่ากับ 5.34%ของสินเชื่อรวม และธนาคารนครหลวงไทยมีเอ็นพีแอล 7,963 ล้านบาท หรือเท่ากับ 3.09%ของสินเชื่อรวม ลดลง 795 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9.07%จากสิ้นปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 8,758 ล้านบาทหรือเท่ากับ 3.60%ของสินเชื่อรวม

ทั้งนี้ หากรวมหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 7 แห่ง ณ สิ้นปี 2550 มียอดทั้งสิ้น 214,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,580 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.18%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us