Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 มกราคม 2551
รายย่อยIRPCโวยบอร์ดเล่นปาหี่พร้อมใจลาออกอ้างสปิริตหนีการซักฟอก             
 


   
search resources

Cement
ไออาร์พีซี, บมจ.




ผู้ถือหุ้นรายย่อย "ไออาร์พีซี" โวย บอร์ดแสดงละครปาหี่ประกาศลาออกทั้ง 16 คน หลบหนีการซักฟอกกรณีความขัดแย้งและการฟ้องร้องกับผู้ถือหุ้นบางราย ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ด้าน "บิ๊กหมง" อ้างเพื่อแสดงความโปร่งใส-จริงใจและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นวิพากษ์การบริหารได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ "ปิติ" เผยแผนปีนี้เดินหน้าลงทุนเพิ่มอีกหมื่นล้าน แม้กำไรสุทธิจะลดลงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและค่าการกลั่นที่ต่ำลง

วานนี้ (22 ม.ค.) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 ที่จังหวัดระยอง โดยมีวาระสำคัญ 2 วาระ คือ วาระที่ 3 การพิจารณารับทราบกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา และให้คณะกรรมการชี้แจงเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทบางราย รวมถึงบรรดาคดีความที่มีการฟ้องร้องบริษัทและผู้บริหาร และวาระที่ 4 การพิจารณาเรื่องกรรมการและอำนาจกรรมการ

โดยช่วงการเริ่มต้นพิจารณาในวาระที่ 3 ตัวแทนที่ปรึกษากฎหมายบริษัทได้ชี้แจงว่า บริษัทมีความขัดแย้งกับผู้ถือหุ้นบางราย ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารไออาร์พีซี (ชื่อเดิมบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ) มี 2 คดีใหญ่ คือคดีสยามรัฐ ที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ได้ยื่นฟ้องกรรมการบริษัท และบริษัทสยามรัฐ ได้ลงบทความเกี่ยวกับสัญญาตั๋วใช้เงินมูลค่า 8 พันล้านบาท ที่นายประชัยได้นำเงินจากทีพีไอไปปล่อยกู้ให้กับ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท พรชัยวิสาหกิจ จำกัด บริษัท ทีพีไอโฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท ทีพีไอ อีโออีจี จำกัด โดยผู้บริหารชุดปัจจุบันได้ฟ้องเรียกหนี้คืน แต่ได้รับการปฏิเสธ ดังนั้นไออาร์พีซีจึงได้ยื่นฟ้องล้มละลายกับทั้ง 3 บริษัท

ต่อมานายประชัย ได้ตั้งบริษัท เลี่ยวไพรัตน์วิสาหกิจ จำกัด ยื่นขอฟื้นฟูกิจการบริษัททั้ง 3 แห่งต่อศาลล้มละลายกลาง ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งศาลได้อนุมัติตามแผนฟื้นฟูฯ ส่งผลให้คดีฟ้องล้มละลายไม่สามารถดำเนินการต่อได้ แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เห็นชอบให้บริษัท แอดวานซ์แพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้บริหารแผนตามที่ไออาร์พีซีเสนอ เนื่องจากไม่อนุมัติให้เจ้าหนี้ คือ เลี่ยวไพรัตน์วิสหกิจ มีสิทธิออกเสียงในการตั้งผู้บริหารแผน เพราะเห็นว่าไม่ใช่เจ้าหนี้ที่แท้จริง

ขณะที่บริษัทได้ยื่นคำร้องเพิกถอนมูลหนี้ 1.2 หมื่นล้านของบริษัทเลี่ยวไพรัตน์วิสาหกิจ ขณะเดียวกันนายประชัยได้ยื่นฟ้องกรรมการบริษัทเรียกค่าเสียหายต่อศาลแพ่งอีกประมาณ 1 แสนล้านบาท

ส่วนคดีที่ 2 คดีเช่าอาคารทีพีไอ ทาวเวอร์ 90 ปี โดยบริษัทเห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากล ที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินถึง 900 ล้านบาท จึงทำหนังสือขอยกเลิกการเช่าและขอเงินค่าเช่าคืน แต่ได้รับการปฏิเสธ จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาล แต่ศาลได้ยกคำร้อง ดังนั้นจึงได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว ขณะที่นายประชัย ได้ยี่นฟ้องคณะกรรมการไออาร์พีซีทั้งหมดในข้อหาผิดพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

ด้านพลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ประธานในที่ประชุม ได้กล่าวว่า คณะกรรมการได้ดำเนินการทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ซึ่งคดีความดังกล่าวคู่กรณีที่มีข้อพิพาทไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นไออาร์พีซีแล้ว แต่เนื่องจากมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นแสนล้าน ทำให้ผู้ถือหุ้นบางรายมีความกังวลจึงได้ทำหนังสือให้เรียกประชุมวิสามัญครั้งนี้ เพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับคดีความต่างๆ ซึ่งในวาระพิจารณาเรื่องกรรมการและอำนาจกรรม จะเปิดให้ผู้ถือหุ้นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคณะกรรมการอย่างเต็มที่ เพื่อแสดงความโปร่งใสและจริง

หลังจากนั้น พลเอกมงคล ในฐานะประธานกรรมการได้ประกาศลาออกพร้อมกรรมการทั้งหมด 16 คน โดยให้มีผลทันทีในเวลาประมาณ 15.20 น. และคณะกรรมการทั้งหมดจึงได้เดินออกจากห้องประชุม ท่ามกลางความสับสนของผู้ถือหุ้น โดยระหว่างนั้นได้มีผู้ถือหุ้นบางรายกล่าวด้วยได้อาการไม่พอใจว่า "การแสดงลาออกครั้งนี้เป็นการแสดงละครหลอกผู้ถือหุ้นหรือปาหี่ เพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องมีการเลือกคณะกรรมการชุดเดิมกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง"

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกฎหมายของไออาร์พีซี ได้เสนอให้ที่ประชุมตั้งประธานที่ประชุมชั่วคราว เพื่อพิจารณาวาระที่เหลือต่อไป ดังนั้นที่ประชุมได้ตั้งนายสุรพล เอกโยคยา อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นไออาร์พีซี 32,000 หุ้นเข้ามาทำหน้าที่แทน

ในระหว่างนั้นตัวแทนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ได้ชี้แจงว่า เมื่อคณะกรรมการลาออกทั้งคณะแล้ว ควรให้ยกเลิกการประชุม และให้คณะกรรมการชุดเดิมรักษาการไปก่อนจนกว่าจะมีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แทน ขณะที่ฝ่ายกฎหมายยืนยันว่าการลาออกของคณะกรรมการมีผลโดยสมบูรณ์แล้ว และนายสุรพล ในฐานะประธานที่ประชุมต้องการให้ดำเนินการประชุมในวาระต่อไป

โดยมีผู้ถือหุ้นได้เสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดเดิมกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ เนื่องจากเห็นว่าคณะกรรมการไม่มีความผิดอะไร และสามารถบริหารบริษัทได้ดีจนสามารถจ่ายปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยมีคะแนนเสียงเห็นชอบ 94.50% จากจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 931 ราย ขณะที่ผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็น 28 ราย คิดเป็น 2.04% และงดออกเสียง 67 ราย คิดเป็น 1.30% และบัตรเสีย 7 ราย คิดเป็น 2.08%

"บริษัทได้มีการเตรียมการไว้เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยเองกลับถูกมัดมือชกให้ยอมสภาพดังกล่าว" ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ตั้งข้อสังเกต

ด้านตัวแทนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวนี้ไม่น่าเกิดขึ้นกับไออาร์พีซี การลาออกทั้งคณะเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ และทำลายภาพลักษณ์บริษัท

ด้านนายปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไออาร์พีซี กล่าวว่า การประกาศลาออกของกรรมการทั้งคณะไม่มีการจัดฉากแต่อย่างใด แต่ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มที่ และไม่ต้องห่วงหน้าแตก ถ้าผู้ถือหุ้นเสนอให้ปลดบอร์ดทั้งคณะในระหว่างการประชุม แต่เมื่อพิจารณาแล้วการเดินออกจากห้องประชุม (วอร์กเอาท์) ในระหว่างการประชุมน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 51 นี้ บริษัทคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 4-5% แต่จากค่าการกลั่นน่าจะปรับตัวลดลง 4-5% และกำลังการกลั่นน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 1.8-1.9 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้กำไรปีนี้น่าจะลดลง แต่กำไรก่อนหักดอกเบี้ยค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) จะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว

โดยสาเหตุที่กำไรลดลงเกิดจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการลดลง ซึ่งบริษัทจะปรับเพิ่มสัดส่วนการส่งออกมากขึ้นจากเดิมสัดส่วนใช้ในประเทศอยู่ที่ 50% แต่ปีนี้คาดว่าจะลดเหลือแค่ 35% ที่เหลือส่งออกทั้งหมด ขณะที่ตลาดต่างประเทศเองก็ประสบปัญหาเรื่องซับไพรม์ด้วยเช่นกัน ราคาสินค้าส่งออกต่ำกว่าราคาขายในประเทศ 4-7%

ด้านแผนการลงทุนปีนี้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง 200 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้คาดอีก 2 เดือนจะได้ผู้รับเหมาก่อสร้าง โครงการท่อก๊าซ ขณะเดียวปตท.ยื่นขออนุมัติผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งหากปตท.ไม่สามารถดำเนินการได้ บริษัทจะดำเนนิการทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 พันล้านบาท และโครงการจะแล้วเสร็จปลายปี 2552 และโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพกำลังการผลิต ขณะนี้อยู่ระหว่างการเลือกเทคโนโลยี คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 4 ปีข้างหน้า

สำหรับแหล่งเงินทุนจะมาจากกระแสเงินสด ณ สิ้นปี 50 มีอยู่ 1.4 -.1.5 หมื่นล้านบาท ทำให้เชื่อว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ไออาร์พีซีไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม เนื่องจากบริษัทในแต่ละปีมี EBITDA อยู่ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันภาระหนี้ระยะยาว 550 ล้านเหรียญสหรัฐ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us