Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2532
เมื่อซีพีคืนสังเวียน 'ฟาสต์ฟู้ด' ทุน-ซีพี มืออาชีพ-วีระพงษ์             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เชสเตอร์ ฟู้ด, บจก.
วีระพงษ์ สังคปรีชา
Food and Beverage
Franchises




ครั้งหนึ่งช่วงราวปี 2525-2527 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์หรือที่รู้จักในนามว่า "ซีพี" เริ่มก้าวกระโดดสู่วงการคอนซูเมอร์โปรดักท์ ซีพีตั้งบริษัทลูกขึ้น 2 เจ้าคือ บริษัทสหเจริญซัพพลาย และบริษัทซีพีคอนซูมเมอร์โปรดักท์

สหเจริญซัพพลายดูแลสินค้าที่พอจะมีชื่ออยู่บ้าง เช่น วีทาโก้และกระดาษชำระซันนี่ ส่วนซีพีคอนซูมเมอร์โปรดักท์มียาสีฟันดาร์กี้ที่ทำรายได้อย่างมาก

แล้วก็เป็นที่รู้กันว่า ซีพีมอบหมายให้ ธนดี โสภณศิริ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรมมาเป็นผู้ดูแลด้านคอนซูเมอร์โปรดักท์โดยตรง

ครั้งกระนั้นบารมีของธนดีถึงขั้นได้เป็นนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยอยู่หลายปี

เป็นที่รู้กันว่าซีพีจับอะไรแล้วเป็นเงินเป็นทองไปหมด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร และการเกษตรที่ซีพีเล่นแล้วต้องเล่นครบวงจร เรียกว่ารวยไม่ขาดตอน

แต่ตลาดคอนวูเมอร์โปรดักท์กลับกลายเป็นบทเรียนที่ซีพีต้องหันไปทบทวนอยู่หลายตลบ เพราะบริษัทในเครือทั้งสองแห่งไม่ยักกะโต กลับฝ่อเอาเสียดื้อๆ

บริษัทสหเจริญซัพพลายปิดตัวเองลงช่วงต้นปี 2529 ด้วยสาเหตุ ผลประกอบการไม่ตรงตามเป้าและความยุ่งยากในการบริหารสองบริษัทที่จัดจำหน่ายสินค้าคล้ายกัน สินค้าอย่างวีทาโก้ และกระดาษซันนี่ก็ต้องให้คนอื่นเขาไปทำแทน คนอื่นที่ว่านี้มีกลุ่มสหพัฒนฯรวมอยู่ด้วย

ส่วนซีพีคอนซูมเมอร์โปรดักท์ แม้จะรอดสันดอนมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็เหนื่อยเต็มที แถมสินค้าสุดรักสุดหวงที่ทำเงินให้มากที่สุดก็ปลิวไปหายไปเมื่อกลางปี 2531 คือ ยาสีฟันดาร์กี้ หายไปพร้อมกับเกรียง กฤตบุญยายน ผู้จัดการของบริษัทที่แยกไปทำตลาดให้กับดาร์กี้เสียงเองด้วย ทุกวันนี้ซีพีคอนซูมเมอร์โปรดักท์ก็หันไปขายพวกกะปิ น้ำปลาไปโน่น

ส่วนธนดี โสภณศิริ ทุกวันนี้หันไปเป็นกรรมการผู้จัดการที่บริษัทพัฒนสิน ลิชซิ่ง หนึ่งในเครือข่ายของซีพีกรุ๊พเอง

แหล่งข่าวบางคนที่ติดตามซีพีใกล้ชิดให้ความเห็นว่า การฝ่อของบริษัทในเครือทั้งสองแห่ง เกิดจากคราวเคราะห์ของซีพีที่เพิ่งเริ่มหันมาจับคอนซูเมอร์โปรดักท์ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศก็ดิ่งลงเหวพอดิบพอดี อะไรๆ ช่วงนั้นมันก็ดูขมุกขมัวไปหมด สินค้าก็ขายไม่ค่อยดี

แต่ลำพังเรื่องแค่นี้คงไม่ใช่ปัจจัยหลัก ที่จริงอยู่ที่ว่า ความไม่ชำนาญของซีพีเองเสียมากกว่า แม้ซีพีจะได้ธนดีมาเป็นแม่ทัพ แต่ซีพีก็ไม่มีกลยุทธ์การตลาดใดๆ ที่แกร่งพอที่จะต่อกรกับเจ้าพ่อ เจ้าแม่ เจ้าถิ่น อย่างสหพัฒนฯ ลีเวอร์ คอลเกต ที่ฝังรากอันแข็งแรงอยู่ในตลาดด้านนี้มาเป็นสิบๆ ปี

ขณะที่ซีพีเติบโตอย่างหนักแน่น มีโครงการลงทุนระดับร้อยล้าน พันล้านในต่างประเทศไม่ขาดระยะ ที่แม้แต่ "เจียรวนนท์" เองก็คงนับไม่ถ้วย แต่ซีพีคอนซูมเมอร์โปรดักท์ก็ยังไม่สามารถลงรากปักฐานที่มั่นคงได้ ซีพีเพิ่งได้ประวิทย์ ไวรุ่งเรืองกิจ มาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในอนาคต

บทเรียนสำหรับซีพีในครั้งนั้นคือ การตระหนักว่า ตนเองมิใช่ผู้เก่งกาจไปเสียทุกเรื่อง โดยเฉพาะธุรกิจแบบเทรดดิ้งเฟิร์มประเภทซื้อมาขายไป ขายสินค้าคอนซูมเมอรืสารพัดชนิด ตั้งแต่ยาสีฟันยันกระดาษชำระ แต่อาณาจักรที่แท้จริงของซีพีคือ การเป็นฐานการผลิตด้านอาหารขนาดใหญ่ต่างหาก

ด้วยความที่นับวันตลาดในประเทศจะใหญ่โตมโหฬาร และความต้องการของผู้บริโภคจะเพิ่มพูนมากขึ้นทุกที ตลาดในประเทศมิใช่สิ่งที่ละเลยได้สำหรับซีพี ซีพีต้องกลับมาแต่คราวนี้ซีพีมาในมาดใหม่

มากใหม่ของซีพีก็คือ ประการแรก ซีพีอาศัยความได้เปรียบในฐานะที่เป็นฐานการผลิตอาหาร สินค้าที่ซีพีนำกลับมาลุยตลาดอีกครั้งจึงไม่พ้นผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร โดยเฉพาะไก่ย่างห้าดาวและทีวีดินเนอร์ประการที่สอง มิติของซีพีคือ ความเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลเป็นธุรกิจข้ามชาติ ความกว้างไกลของซีพีในด้านนี้คือ การประสานร่วมมือบริษัทต่างชาติดึงความชำนาญและเก่งกาจเฉพาะด้านของผู้อื่น มาบวกกับความเฉลียวฉลาด ความเอาจริงเอาจังและเงินทุนของซีพี

การตลาดที่ซีพีเผยโฉมให้ปรากฏตลอดช่วงปีสองปีมานี้คือ การร่วมลงทุนกับเอสเอวี โฮลดิ้ง แห่งเนเธอร์แลนด์และโฮมส์กรีน อินเวสเม้นท์แห่งไต้หวันสร้าง "สยามแมคโคร" ผู้ดำเนินกิจการค้าส่งขนาดใหญ่ แล้วก็มาจับมือกับบริษัท เซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่นเปิด "7-ELEVEN" ธุรกิจคอนเวอร์เนียนสโตร์ เตรียมร่วมกับแซบุทำกิจการซุปเปอร์สโตร์ และร่วมลงทุน เคเอฟซี แห่งสหรัฐฯ ดำเนินกิจการไก่ทอดเคนตั๊กกี้ที่เซ็นทรัลเคยซื้อแฟรนไชส์เปิดสาขาไปแล้ว 4 สาขา สาขาต่อจากนี้ไปเป็นของซีพีและเคเอฟซี

แม้แต่ไก่ย่างเชสเตอร์ที่ซีพีเป็นเจ้าของอย่างโดดเด่นก็ยังไม่วายกระตือรือร้นที่จะเป็นแฟรนไชส์ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล

วีระพงษ์ สังคปรีชา เป็นมืออาชีพจากไก่ทอดเคนตั๊กกี้ บริหารร้านแห่งนี้มาแต่ต้นจนกระทั่งย้ายตัวเองมานั่นที่ซีพี ดำเนินการวางแผนเปิดร้าน "เชสเตอร์กริลด์ชิกเก้น" ที่มาบุญครองและโรบินสัน รัชดาภิเษก เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

เชสเตอร์เป็นฟาสต์ฟูดประเภทไก่ย่างที่ย่อมต้องหรูหรากว่าไก่ย่างห้าดาวแน่นอน สองสาขาที่เปิดไปแล้ว ซีพีลงทุนในแง่สถานที่ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นแฟรนไชส์อินเตอร์เนชั่นแนลให้ได้สูตรปรุงไก่ย่างของเชสเตอร์ จึงเป็นสูตรที่ดั้นด้นคิดค้นมาจากกริฟฟิธแลบบีคาคอรี่ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟาสต์ฟูดระดับโลกมานาน

วีระพงษ์กล่าวว่า มันเป็น "BIG QUESTION" มานานแล้วสำหรับผู้ใหญ่ในซีพีที่ทำธุรกิจเรื่องอาหารมานาน แต่กลับกลายเป็นว่าผลิตแล้วป้อนให้คนอื่นขาย ทำไมซีพีไม่มาขายเสียเองเล่า?

และเมื่อซีพีลงมาขายเองจริงๆ มันก็ต้องใหญ่โตตามฟอร์มซีพีคือ ขายได้ทั่วโลก

เชสเตอร์มีเป้าที่จะขายแฟรนไชส์ไปในจุดที่สำคัญทั่วประเทศ และในต่างประเทศซึ่งซีพีมีกิจการลงทุนอยู่ ซึ่งบริษัทในเครือต่างประเทศอาจจะเป็นผู้ดำเนินการเองหรือจัดหาผู้สนใจมาลงทุนก็ตามแต่ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งเกื้อหนุนกันเพราะกิจการซีพีในต่างประเทศก็ไม่พ้นกิจการไก่หรืออาหารอื่นๆ

เวลานี้เชสเตอร์มีอยู่แล้วสองสาขา สาขาถัดไปจะเปิดที่เดอะมอลล์ ซีพีทาวเวอร์ และที่พัทยา ทั้งสามสาขาจะเป็นการลงทุนเองทั้งหมด ส่วนการขายแฟรนไชส์ วีระพงษ์กล่าวว่ามีผู้มาติดต่อบ้างแล้ว โดยเฉพาะในต่างจังหวัด แต่ผู้มาติดต่อยังลังเลอยู่พอสมควร

วีระพงษ์กล่าวว่า การลงทุนแฟรนไชส์ในบ้านเรายังขาดความเข้าใจตรงจุดที่ว่า การซื้อแฟรนไชส์คือ การซื้อความสำเร็จนั่นเอง เพราะคนที่ได้ลงทุนกิจการนี้ได้ประสบความสำเร็จมาแล้ว และมีสูตรมีกระบวนการการจัดการ การบริหารไว้ให้เสร็จสรรพ เราเพียงแต่ซื้อมาเท่านั้น แต่บ้านเรามักชอบหลีกเลี่ยง ชอบข้อยกเว้น และบางทีขาดการควบคุมคุณภาพเพราะลังเล ไม่เด็ดขาด

จุดที่สำคัญเวลานี้คือ การเริ่มต้นของเชสเตอร์กับวีระพงษ์ที่จะต้องเริ่มต้นให้ได้สวยพอที่จะทำให้ผุ้ซื้อแฟรนไชส์เชื่อมั่นได้ว่า ซื้อแฟรนไชส์เชสเตอร์ไปเท่ากับซื้อสูตรแห่งความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ติดไปด้วย

"การวางแผน การบริหาร การขยายสาขาอยู่ที่ผม ซึ่งทางผู้ใหญ่ก็เข้าใจดีและที่สำคัญท่านซัพพอร์ตเชสเตอร์เต็มที่" วีระพงษ์กล่าวอย่างเชื่อมั่น

หลายคนให้ความเห็นว่าเป็นเพราะซีพีลงมาเล่นกับผลิตภัณฑ์ที่ตนเองถนัดและเป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว การลงมาลุยตลาดด้วยตัวเองจึงเต็มไปด้วยความมั่นใจที่มากพอสำหรับวีระพงษ์ที่จะเห็นความสำเร็จของเชสเตอร์ในวันข้างหน้า

"กิจการแฟรนไชส์จะเติบใหญ่ได้ ผู้ลงทุนต้องใจกว้างและใจถึง ความยิ่งใหญ่ของซีพีเป็นคำตอบอยู่แล้ว" วีระพงษ์สรุป

สำหรับซีพีเอง สยามแมคโคร แซบุ 7-ELEVEN คือ สิ่งที่ตามมาภายในไม่เกินปีนี้ หลายคนสรุปให้เรียบร้อยว่า เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างซีพีโดดมาเล่นอย่างเอาจริงเอาจัง ใจถึงบวก "มืออาชีพ" ตลาดคอนซูเมอร์เมืองไทยคงได้ดุเดือดกว่านี้อีกหลายเท่าทีเดียว!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us